ปัญหาการนอนดูเหมือนจะเป็นปัญหาระดับโลกที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เราอาจจะคุ้นเคยกันมาบ้างกับคำว่า “Insomnia” หรือโรคนอนไม่หลับ แต่วันนี้ Clubsister จะพาทุกคนไปทำความรู้จัก โรคนอนไม่หลับมรณะ น่ากลัวระดับพระกาฬที่จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้เร็วที่สุดภายใน 6 เดือน หรือที่เรียกกันว่า ” โรคนอนไม่หลับมรณะ (FFI) ” วันนี้เราจะพาทุกคนนมารู้จักกับโรคนี้กันค่ะ ว่าโรคนี้คืออะไร อันตรายแค่ไหน ความแตกต่างระหว่างโรคนอนไม่หลับ กับ โรคนอนไม่หลับมรณะ คืออะไร
โรคนอนไม่หลับมรณะ หรือ Fatal Familial Insomnia ถือเป็นโรคหายากที่เคยระบาดในประเทศอังกฤษแต่ยังไม่เคยพบในประเทศไทย ผู้ป่วยจะมีอาการนอนไม่หลับจนเกิดความกังวลจากนั้นอาการจะมีความรุนแรงขึ้นจนเสียชีวิตในที่สุดถึงแม้จะมีการวิจัยโรคนี้อยู่เรื่อยๆ แต่ยังไม่พบยาหรือวิธีการที่จะรักษาโรคนี้ได้ มีบันทึกผู้ป่วยคนแรกในประเทศอิตาลีใน ค.ศ. 1765
“โรคนอนไม่หลับมรณะ” พามาทำความรู้จัก โรคนี้คืออะไร อันตรายแค่ไหน
รูป “โรคนอนไม่หลับ” (smileshopint.com)
โรคนอนไม่หลับมรณะ หรือ FFI (Fatal Familial Insomnia) คืออะไร ?
เป็นโรคกรรมพันธุ์ที่เกิดอยู่ในวงศ์ครอบครัวประมาณ 40 สายเลือดจากการสำรวจทั่วโลกครั้งล่าสุด ทั่วโลกมีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อยู่ประมาณ 100 คน หากพ่อหรือแม่มียีนของโรคนี้อยู่ ลูกมีโอกาสรับเชื้อมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ความร้ายแรงของโรคนี้สามารถคร่าชีวิตผู้ป่วยได้ไวที่สุดภายใน 6 เดือน ถึง 1 ปี โดยส่วนมากโรคมักจะออกอาการเต็มที่ในช่วงวัยห้าสิบต้นๆ ลักษณะอาการของผู้ป่วยคือร่างกายตื่นตัวในช่วงกลางคืนตลอดเวลา และต่อให้ง่วงแค่ไหนพอถึงเวลาที่ต้องการจะหลับจริง ๆ ร่างกายคุณจะไม่หลับ อาการของโรคจะแบ่งเป็น 4 ระยะ
- ระยะที่ 1 อาการนอนไม่หลับจะเริ่มเกิดขึ้นถี่ๆ จนผู้ป่วยรับรู้ได้ถึงความผิดปกติ ระยะนี้จะเป็นในช่วงประมาณ 4 เดือน โดยช่วงปลายของระยะแรกผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการหวาดวิตกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายตัวเอง
- ขั้นที่ 2 ผู้ป่วยจะเริ่มเห็นภาพหลอนจากการนอนไม่หลับติดต่อกันหลายเดือน ทำให้อาการหวาดวิตกรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เริ่มนำไปสู่อาการหวาดกลัว และอาการผิดปกติทางจิต
- ระดับที่ 3 ผู้ป่วยจะเริ่มสูญเสียการควบคุมตัวเอง เช่น เสียการทรงตัว ประสาทสัมผัสทำงานผิดปกติ โดยอาจจะไม่สามารถแยกแยะวัตถุได้จากการสัมผัส สูญเสียความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อ น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ระบบอวัยวะภายในทำงานได้ไม่ปกติ
- อาการขั้นที่ 4 ผู้ป่วยจะเริ่มเผชิญกับกลุ่มอาการสมองเสื่อม (Dementia) ชัดๆ คือจะเริ่มจำอะไรไม่ได้ โดยเฉพาะความจำระยะสั้น ใช้ความคิดไม่ได้ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ยากลำบาก อาการสมองเสื่อมจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงขั้นลืมวิถีชีวิตประจำวันอย่างการอาบน้ำ กินข้าว พูดคุย ฯลฯ ในอาการที่รุนแรงที่สุดคือผู้ป่วยจะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆ ภายในระยะเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี ผู้ป่วยจะเข้าสู่ภาวะโคม่าและเสียชีวิตในที่สุด
ตลอดทั้ง 4 ระยะ บุคลิกของผู้ป่วยจะเปลี่ยนไปในทุกระยะ ความร้ายแรงของอาการที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียวิถีชีวิตประจำ ทั้งการงาน ความสัมพันธ์ รวมถึงการควบคุมร่างกายและความคิด
รูป นอนไม่หลับ อาจเสี่ยงเป็นโรคนอนไม่หลับ (medicallinelab.co.th)
สาเหตุการเกิดโรค FFI
สาเหตุของโรคนี้คือ การกลายพันธุ์ของโปรตีน จากโปรตีนปกติไปเป็น พรีออน (Prion) โปรตีนกลายพันธุ์นี้เพิ่งถูกค้นพบเมื่อประมาณสามสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ โรคนอนไม่หลับมรณะนี้จึงเป็นโรคใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบอย่างเป็นทางการไม่นานนี้ “พรีออน” จะสะสมและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในสมองของผู้ป่วย และในปริมาณที่มากพอมันจะเข้าไปทำลายการทำงานของสมองส่วน “ไฮโปธารามัส” ซึ่งควบคุมการนอนหลับ
- โปรตีนพรีออนมีลักษณะเป็นโปรตีนขนาดเล็กมีเอกลักษณ์ที่สามารถทนทานต่อปัจจัยด้านอุณหภูมิทั้งความร้อน ความเย็น รวมไปถึงอากาศแห้ง
- โปรตีนชนิดนี้เป็นตัวก่อโรคโดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรค FFI และสามารถติดต่อกันได้ในสิ่งมีชีวิต และยังไม่มีตัวยาหรือวัคซีนชนิดไหนที่สามารถกำจัดหรือรักษาโปรตีนกลายพันธุ์ชนิดนี้ได้
โปรตีนกลายพันธุ์พวกนั้นจะจับกันเป็นร่างแหทำให้เนื้อสมองถูกทำลาย อาการจะคล้ายกับโรคสมองอื่นๆ คือปวดหัว ควบคุมระบบร่างกายไม่ได้ ความจำเสื่อม แต่จะแสดงอาการช้าเพราะใช้เวลาฟักตัวนาน แต่หากอาการปรากฏแล้วร่างกายผู้ป่วยจะทรุดลงเร็วมาก อาจจะเป็นโรคพันธุกรรมที่ดูไกลตัว แต่ความจริงแล้ว “พรีออน” หรือโปรตีนกลายพันธุ์มันอยู่ใน “โรควัวบ้า” ครับ หลอนมากสำหรับผู้ที่ชอบกินเนื้อวัว โรควัวบ้าเป็นโรคของวัวตามชื่อมันนั่นแหละ แต่หากคนที่กินเนื้อหรือน้ำนมของวัวที่มีเชื้อ คนจะติดโรคมาได้เช่นกัน อาการของโรคส่งผลต่อสมองโดยตรง
ปกติเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่เข้ารหัสโปรตีน PrP โรคนี้มีอยู่สองแบบ คือ โรคนอนไม่หลับมรณะในวงศ์ตระกูล (fatal familial insomnia, FFI) ซึ่งมีการถ่ายทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่น และโรคนอนไม่หลับมรณะแบบเกิดห่าง ๆ (sporadic fatal insomnia, sFI) ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ที่ไม่ได้มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม การวินิจฉัยมาจากอาการ และสนับสนุนด้วยการศึกษาการหลับ เพ็ตสแกน และการตรวจพันธุกรรมถ้าคนในครอบครัวผู้ป่วยมีประวัติโรคนี้ โรคนี้ยืนยันการวินิจฉัยได้แต่วิธีการชันสูตรพลิกศพสมองหลังเสียชีวิตแล้วเท่านั้น เช่นเดียวกับโรคพรีออนแบบอื่น แต่ ณ ปัจจุบันโรคนอนไม่หลับมรณะนี้ก็ยังไม่มีทางรักษาที่ทราบ และผู้ป่วยจะมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่ประสาทหลอน อาการเพ้อ และสภาพสับสนคล้ายภาวะสมองเสื่อม จนเสียชีวิตในที่สุด อายุอยู่รอดเฉลี่ยหลังเริ่มมีอาการคือ 18 เดือน
โรคนี้เคยระบาดรุนแรงในอังกฤษและประเทศใกล้เคียงเมื่อ ปี 1986 ถึงจะไกลประเทศไทยแต่ก็ต้องระวัง เพราะเราไม่รู้เลยว่าโรควัวบ้านี้จะระบาดขึ้นมาอีกเมื่อไร ผู้บริโภคเองควรเลือกซื้อเนื้อวัวที่ไว้ใจได้ จากฟาร์มที่ได้รับมาตรฐาน เพราะจากนอนไม่หลับมาจนถึงวัวบ้าได้ เป็นโรคที่เกิดจากโปรตีนกลายพันธุ์ตัวเดียวกัน นั่นหมายความว่าต่อให้เราไม่มียีนของโรคนอนไม่หลับมรณะอยู่เลย แต่มนุษย์ทุกคนมีโอกาสรับ พรีออน หรือโปรตีนกลายพันธุ์มาจากเชื้อวัวบ้าได้เหมือนกัน ใครที่เริ่มมีอาการนอนไม่หลับต้องรีบปรึกษาหมอเพื่อหาสาเหตุ อาการนอนไม่หลับยังทำให้ป่วยได้อีกหลายอย่างเลยนะคะ
โรคนอนไม่หลับมรณะ (FFI) VS โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) ต่างกันอย่างไร ?
โรค FFI จะมีอาการที่รุนแรงขึ้นจนกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิต ด้วยความที่โรค FFI เป็นโรคที่หายากอย่างมาก การทดสอบและวิจัยเพื่อหาวิธีการรักษาจึงทำได้อย่างยากลำบากด้วยเช่นกัน สำหรับผู้ป่วยจึงทำได้เพียงรักษาตามอาการจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อบรรเทาอาการลงเท่านั้น อย่างไรก็ตามนักวิจัยยังคงพยายามหาตัวยาหรือวิธีการรักษาต่อไป แต่โรคนอนไม่หลับทั่วไปสามารถรักษาได้ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการนอน จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการพักผ่อน และการรักษาด้วยยาภายใต้การดูแลของแพทย์
เราเคยเห็นหนังเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับโรคนอนไม่หลับมรณะ ยกตัวอย่าง เช่น หนังเรื่อง Awoken (2019)
เรื่องย่อ “นักศึกษาแพทย์สาว คาร์ลา (ซารา เวสต์) พยายามรักษา เบลค (เบนสัน แจ็ค แอนโทนี) น้องชายของเธอจากอาการนอนไม่หลับที่เรียกว่า “โรคนอนหลับมรณะ” (Fatal Familial Insomnia) ซึ่งจะนอนไม่หลับจนกว่าจะเสียชีวิต” เผื่อใครสนใจว่าลักษณะของโรคนี้เป็นแบบไหน สามารถตามไปดูได้ค่ะ 🤭
แต่ทุกคนไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดกับเราได้ง่าย ๆ นะคะ จากคนทั้งหมดทั่วโลกมีผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคนี้ประมาณ 100 คนเท่านั้น และการรับโปรตีนพรีออนมา ก็ไม่ได้ทำให้ติดโรคนี้ได้ง่ายขนาดนั้น ความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวบุคคลต่างหากที่ทำให้เกิดโรค FFI
เป็นไงบ้างคะ กับ โรคนอนไม่หลับมรณะ (FFI)ที่เราพามารู้จัก หากทุกคนรับประทานสุขอนามัย สะอาด และปลอดภัย หมั่นดูแลสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ WorkLife balance ทุกคนต้องแข็งแรงแน่ค่ะ หวังว่าทุกคนจะชอบนะคะ ไว้เจอกันบทความหน้าค่ะ ❤️
Source Credit:
Stay connected