รักแรกพบมีจริงไหม เคยสงสัยกันรึเปล่า… เหตุการณ์แบบที่ คน 2 คนเจอกัน เป็นครั้งแรก แต่ก็รู้สึกสปาร์ค หรือ รู้สึกดึงดูด กับอีกคนมาก ๆ  ในทันที ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เคยรู้จักกันด้วยซ้ำ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นจริงหรอ? และ ใช่ความรักจริง ๆ ไหม ก็ต้องมาดูกัน

รักแรกพบมีจริงไหม ? มาดู 5 เรื่องจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับ รักแรกพบ กันเถอะ!


จากการศึกษาหนึ่ง ในปี 2017 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์  “รักแรกพบ” ในประเทศ Netherland ที่ได้สำรวจใน ผู้ชาย และ ผู้หญิง จำนวนราว ๆ 400 คน

โดยจะเป็นการสำรวจว่า แต่ละคน เคยมีประสบการณ์ รักแรกพบ หรือไม่ และ ให้ลงคะแนนความดูดี ความมีเสน่ห์ ต่อบุคคลที่ได้เจอ และสุดท้าย คือ ให้คะแนนความรู้สึกปราถนา (ความดึงดูดทางเพศ) ต่อคนนั้น ๆ

เก็บข้อมูลแบบ 3 สถานการณ์ คือแบบออนไลน์ , ใน Lab (โชว์รูปภาพ) และ เจอกันจริง ๆ ผลการศึกษาออกมาอย่างน่าสนใจ ดังนี้

 

1. รักแรกพบ แท้ที่จริงแล้ว อาจเป็นแค่ ความทรงจำที่บิดเบือน

เนื่องจาก ในการศึกษา ได้เปิดเผยว่า คู่รักที่คบกันมานานแล้ว มีแนวโน้มที่จะคิดว่า ความรักของพวกเขาเป็นความรักแบบ รักแรกพบ

ซึ่งที่จริงแล้ว พวกเขาอาจจะไม่ได้รู้สึกแบบนั้นจริง ๆ ตั้งแต่แรกก็ได้ เพียงแต่ ความรู้สึก “รัก” ที่เกิดขึ้น ในปัจจุบัน หรือ การได้สะสมความรักผูกพันกัน เป็นระยะเวลา ยาวนาน อาจส่งผลต่อ ความทรงจำ ในวันที่พวกเขาพบกันวันแรก (ซึ่งผ่านมานานแล้ว และ อาจลืมรายละเอียดไปบ้าง) ทำให้เกิดความอำเอียง และ เชื่อว่าพวกเขา มีความรู้สึกแบบนี้ให้กัน ตั้งแต่แรก


2. เรามักจะตกหลุมรัก กับคนที่หน้าตาดี หรือ ดูดี

ความรู้สึกแบบ รักแรกพบ มักจะเกิดกับคนที่ ลักษณะภายนอก ดูดี โดยการศึกษาที่พบว่า คนที่ได้คะแนน “ความน่าดึงดูด” หรือ “attractiveness” มากกว่า ก็มีแนวโน้มที่คนอื่น จะมีความรู้สึก แบบ “รักแรกพบ” ด้วย มากกว่า ถึง 9 เท่า

 


3. รักแรกพบ เกิดขึ้นกับ ผู้ชาย มากกว่า ผู้หญิง

จากผลการศึกษา พบว่า ผู้ชาย มีแนวโน้มที่จะมีประสบการณ์รักแรกพบ มากกว่า ผู้หญิง แม้ยังไม่รู้เหตุผลที่แน่ชัด แต่อาจเป็นเพราะ เพศหญิง จะมีความ ช่างเลือกมากกว่า ในการพิจารณาว่า ใคร จะเป็นคนที่เข้ามาเดทด้วย

 


4. ไม่บ่อยนัก ที่คน 2 คน จะรู้สึกตกหลุมรักกันทันที ทั้ง 2 ฝ่าย

ความรักแรกพบ มักจะเกิดขึ้นจาก ฝ่ายเดียว มากกว่า เกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเขาได้คบกันจริง ๆ ความรู้สึกที่แรงกล้า ของฝ่ายที่เริ่มชอบก่อน ก็สามารถส่งผลกับความคิดของอีกฝ่ายได้เหมือนกัน ว่า “หรือจริง ๆ แล้ว มันมีซัมติง ตั้งแต่แรกเริ่ม กันนะ?”

 


5. รักแรกพบ แท้ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ ‘ความรัก’

เพราะ องค์ประกอบของ ความรัก ตาม “ทฤษฎี จิตวิทยา” มี 3 อย่าง คือ ความใกล้ชิด สนิทสนม (intimacy) , ความผูกพัน มีเป้าหมายร่วมกัน (commitment) และ ความปราถนา ลุ่มหลง (passion) ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ ไม่ได้มีมากขนาดนั้น ณ วินาทีแรก ที่เจอ ถ้าเปรียบเทียบกับ คู่ที่ตกลงคบกันเป็นจริงเป็นจังแล้ว แน่นอนว่าก็ต้องมีมากกว่า

 


(หากสนใจ อยากอ่านเกี่ยวกับ ทฤษฎีความรัก เพิ่มเติม สามารถกดอ่าน ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้เลย!)
รักของเราเป็นแบบไหน เข้าใจความรักให้มากขึ้น ด้วยทฤษฎีจิต วิทยาความรัก


 

อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์แบบ “รักแรกพบ” ก็ถือเป็นการเปิดโอกาส ให้กับ องค์ประกอบความรัก ทั้ง 3 อย่าง ได้เติบโต ได้มากกว่า การไม่มีความรู้สึกแบบ “รักแรกพบ” เลย

โดยสรุปก็คือ ความรู้สึก “รักแรกพบ” ไม่ใช่ ความรัก หรือ ความรู้สึกปราถนา ลุ่มหลง ที่รุนแรง แต่เป็น “แรงดึงดูด” ที่นำไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์ได้ นั่นเอง

 

 

 

content and picture credits. psychology today , refinery 29 , the scottish sun , instagram : @tenlee_1001 , Tumblr , homojuku.tumblr

Comments

comments