สวัสดีเพื่อน ๆ ชาว Clubsister ที่น่ารักทุกคนนะคะ น่ารักแบบนี้ ต้องเอาเรื่องรัก ๆ มาฝากสักหน่อย…. ใช่แล้วค่า วันนี้ เราชวนเพื่อน ๆ มาทำความเข้าใจ คำว่ารัก ผ่านทฤษฎีจิตวิทยาความรักกัน เราจะได้รู้ ว่า รักของเราเป็นแบบไหน ที่มาของความรู้สึก และ รูปแบบ ของความสัมพันธ์ของเรา ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ถ้าพร้อมแล้ว มาเริ่มกันเลย

 

รักของเราเป็นแบบไหน เข้าใจความรักให้มากขึ้น ด้วยทฤษฎีจิตวิทยาความรัก

 

ความรัก มาจากไหน เกิดขึ้นได้ยังไง

 

เคยสงสัยกันบ้างใหม ว่าเหตุใด เราถึงรู้สึกรักเขาได้มากขนาดนี้ ความคลั่งรักเบอร์นี้ มันเกิดจากอะไร บางคนที่คบกับแฟนมานาน ๆ เคยคิดไหมว่า ทำไม เราถึงไม่รู้สึกตื่นเต้น ใจเต้นตึกตัก แบบเมื่อตอนที่จีบกันแรก ๆ เลย นี่หมายความว่า เราไม่รักเขาแล้วรึเปล่า!? นี่คบกันมันแค่ความผูกพันเฉย ๆ ใช่มั้ย!?

รักของเราเป็นแบบไหน 

ความรู้สึกรัก มันเป็นอารมณ์ แบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่อารมณ์พื้นฐาน แต่เกิดจาก การผสมสผานกันของอารมณ์ ความรู้สึก อื่น ๆ อีกที

แล้ว อารมณ์พื้นฐาน คืออะไรล่ะ เคยดู หนังการ์ตูนเรื่อง inside out ใช่มั้ย ในเรื่องจะมี ตัวละคร 5 ตัว คือ Joy, Sad, Anger, Fear และ Disgust

 

รักของเราเป็นแบบไหน

 

แต่ในทฤษฎีของนักจิตวิทยาที่ชื่อว่า Robert Plutchik มันมีมากกว่านั้น เขาสร้าง วงล้อแห่งอารมณ์ (The Wheel of Emotions) ขึ้นมา และอธิบายว่า คนเรามีอารมณ์พื้นฐานทั้งหมด 4 อารมณ์ แต่ละอารมณ์ ก็มีจะคู่ตรงข้ามของมันด้วย ซึ่งคือ

  1. ความรื่นเริง (Joy) – ความเศร้า (Sadness)
  2. ความโกรธ (Anger) – ความกลัว (Fear)
  3. ความไว้วางใจ (Trust) – ความรังเกียจ (Disgust)
  4. ความประหลาดใจ (Surprise) – ความคาดหวัง (Anticipation)

มาถึงตรงนี้อาจจะงง ว่ามันเกี่ยวกับความรักยังไง แต่ถ้าเราดูภาพประกอบด้านล่าง จะเห็นว่า แต่ละอารมณ์ที่เราพูดถึง จะมีระดับความเข้มข้น ของตัวมันเอง และ มีอารมณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างอารมณ์ต่าง ๆ และ หนึ่งในนั้นคือ อารมณ์รัก นั่นเอง!!

รักของเราเป็นแบบไหน

อย่างที่เห็น ก็คือ ความรู้สึกรัก มันเกิดขึ้นจาก ความรู้สึกไว้ใจ (Trust) รวมกับ ความรู้สึก รื่นเริง (Joy) นั้นเอง เมื่อเรารักใครสักคน นั่นหมายความว่า เรารู้สึก มีความสุข รื่นเริง และ มีความยอมรับ ไว้ใจ ในตัวของเขานั้นเอง ลองสังเกตตัวเองดูนะคะ ว่าจริงไหม

 

รักของเราเป็นแบบไหน เข้าใจความรักให้มากขึ้น ด้วยทฤษฎีจิตวิทยาความรัก

 

บางคนอาจจะเถียงในใจว่า ก็ไม่จริงซะทั้งหมดนะ งั้นลองมาดูอีกทฤษฎีกันดีกว่า นั่นคือ ทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก ของ Robert J. Sternberg เราว่าทฤษฎีของคุณคนนี้ มีความละเอียดขึ้นหน่อย เพราะเขาพูดถึง องค์ประกอบของความรัก และ รูปแบบความรักแบบต่าง ๆ ด้วย

 

ทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก (Triangular Theory)

 

รักของเราเป็นแบบไหน

Sternberg ได้อธิบายไว้ว่า องค์ประกอบความรัก ประกอบด้วย 3 อย่างดังนี้ คือ Intimacy : ความสนิทสนม ใกล้ชิด รู้สึกเชื่อมโยงระหว่างกัน , Commitment : ความผูกพัน การอุทิศตัวให้แก่กัน มีเป้าหมายในชีวิตร่วมกัน เช่น การแต่งงาน และสุดท้าย Passion : อารมณ์รัก ลุ่มหลง ความปราถนาในกันและกัน ซึ่งจะมีองค์ประกอบเหล่านี้ครบ 3 อย่าง หรือมี แค่ 2 ใน 3 อย่างก็ได้ ตรงนี้เอง จะนำไปสู่รูปแบบความรักที่แตกต่างกัน 7 แบบ

 

เรามาดูความรักรูปแบบต่าง ๆ กันเลย

 

1. รักสมบูรณ์แบบ / Consummate Love เป็น ความรักในอุดมคติ มีองค์ประกอบครบ ทั้ง 3 อย่าง คือทั้งสนิทสนมใกล้ชิดกัน มีเป้าหมายในชีวิตร่วมกัน และ มีความปราถนาในตัวกันและกัน คู่รัก ที่มีความรักประเภทนี้ จะมีความรักหวานชื่น หรือ มีเพศสัมพันธ์ที่ดี ตลอดหลายปี และคิดภาพไม่ออกเลยว่า ถ้าไม่มีอีกคนจะเป็นยังไง พวกเขาคงไม่มีความสุข ถ้าขาดอีกคนไป และ อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันไปอย่างยาวนาน

 

 

2. รักเพ้อฝัน / Romantic love เกิดจากการมี passion และ intimacy คนที่มีความรักแบบนี้ พวกเขาจะพูดคุยรู้จักกันอย่างลึกซึ่ง มีแรงดึงดูด สเน่หา ซึ่งกันและกัน ลองสังเกตดูก็ได้ ถ้าเรากำลังจีบกับใคร ใหม่ ๆ แล้วยังไม่ตกลงปลงใจ จะอยู่ใสถานะที่ผูกมัด อย่างเป็นแฟนกัน เรามักจะอยากคุยกับเขาทั้งวันทั้งคืน ดึงดูด และสนใจในตัวเขามาก ๆ อะไรแบบนี้

 

รักของเราเป็นแบบไหน

 

3. รักฉันท์มิตรภาพ / Companionate Love เกิดจาก intimacy และ commitment คือ มีความสนมสนม และ มีความผูกพันร่วมกัน ความสัมพันธ์รูปแบบนี้ มักจะพบในคู่แต่งงานที่หมด passion ในกันและกันไปแล้ว คือ พวกเขาไม่ได้มีแรงปราถนาทางเพศต่อกันอีกต่อไป หรือ มีแต่น้อย และอยู่กันเหมือนเพื่อนเสียมากกว่า เป็นความสัมพันธ์ของที่แน่นแฟ้นต่อกัน นอกจากนี้ ความรักแบบ Companionate Love ก็เจอในเพื่อนสนิท และสมาชิกในครอบครัวเหมือนกันนะ

4. รักลวงตา / Fatuous Love ประกอบด้วย passion และ commitment เป็นความรักประเภทที่กระโจนเข้าหากัน ด้วยความสเน่หา และตกลงผูกพันกันทางกายอะไรแบบนั้น โดยที่ไม่ได้มีความใกล้ชิด สนิทสนมกันมาก่อน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยมั่นคงยั่งยืนเท่าไหร่นัก

 

รักของเราเป็นแบบไหน

 

แล้วถ้ามี Intimacy , Passion , Commitment อย่างใดอย่างหนึ่งล่ะ จะเป็นยังไง

รักของเราเป็นแบบไหน

 

5. รักแบบเพื่อน / liking , friendship มีความสนิท ใกล้ชิด หรือก็คือ มีเพียง Intimacy เท่านั่น อันนี้ก็คือเพื่อนแบบ เพื่อนนนน!! เพื่อนจริง ๆ เพื่อนตาย ไม่คิดอะไรมากกว่านั้น

6. รักแบบลุ่มหลง / Infatuated loved มีเพียง passion ต่อกัน รู้สึกลุ่มหลงสเนห่า มีความเพ้อฝัน อยากอยู่ด้วย อยากใกล้ชิด หรือแม้กระทั้งอยากมีเพศสัมพันธ์ ส่วนมากจะเป็น รักแรกพบ เพราะยังไม่ได้มีความสนิทสนมกัน และ ไม่มีความผูกพันด้วย

7. รักว่างเปล่า / Empty love บางครั้งความรักที่เคยแข็งแรง สมบูรณ์แบบ ก็พังลงได้ ความเสน่หา ลุ่มหลง และ ความสนิท ใกล้ชิดก็หายไป เหลือแต่เรื่องที่เคยสัญญากันไว้ หรือมีความเกี่ยวดองกัน อารมณ์ประมาณว่า คู่แต่งงาน ที่ไม่ได้รักกันแล้ว แต่อยู่กันเพราะลูก อะไรแบบนั้น แต่บางครั้ง รักว่างเปล่า ก็เกิดขึ้นก่อน และพัฒนาความรู้สึกด้านอื่นขึ้นมาได้เหมือนกันนะ (กรณีคลุมถุงชนสมัยก่อนไง)

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คิดว่าความสัมพันธ์ที่เรามี เป็นความรักแบบไหนกันบ้างน้า เข้าใจตัวเองกันมากขึ้นแล้วหรือยัง บางทีการรู้เรื่องนี้ ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินใจนะ ว่ารักครั้งนี้ ควรไปต่อ หรือ พอแล้วดี!!

 

 

cr. pinterest

 

Comments

comments