สวัสดีค่ะ เพื่อน ๆ ชาว คลับซิส ที่น่ารัก ทุก ๆ คน เนื่องจากว่า เราเป็นคนที่ เคยมีปัญหาเกี่ยวกับ การจัดระเบียบชีวิตของตัวเองมาก ๆ เลยค่ะ ไม่ว่าจะพยายามยังไง ก็ยังรู้สึกว่าตัวเอง เป็นคนขี้หลงขี้ลืม มีความงง ๆ กับชีวิต มีเป้าหมายเป็นร้อยอย่าง แต่กลับทำจริงได้แค่ 0.1 เปอร์เซ็นเท่านั้น (ตามแบบฉบับ ENFP ทั่วไปเลยล่ะ) คาดว่าหลาย ๆ คน ก็คงมีปัญหาแบบนี้เหมือนกัน วันนี้ เราจึงอยากแนะนำ วิธีการเขียน Bullet Journal ให้กับทุกคน สิ่งนี้เนี่ย มันเป็นวิธีที่ช่วยเราไว้ได้มาก ๆ เลยล่ะ

(ENFP ที่เราพูดถึงคืออะไร ถ้าอยากรู้ลองไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่)

เราเป็นคนแบบไหนกันนะ? ชวนมา ” เรียนรู้นิสัยคน กับ 16 Personalities ” กัน – Part 1
เราเป็นคนแบบไหนกันนะ? ชวนมา ” เรียนรู้นิสัยคน กับ 16 Personalities ” กัน – Part 2
เราเป็นคนแบบไหนกันนะ? ชวนมา ” เรียนรู้นิสัยคน กับ 16 Personalities ” กัน – Part 3

 

วางแผนชีวิตด้วย วิธีการเขียน Bullet Journal ขั้นกว่าในการพิชิตเป้าหมาย

 

บางคนอาจจะสงสัยว่า มันคืออะไร เหมือน หรือ ต่าง จากการทำแพลนเนอร์ บางคน อาจจะเคยได้ยินมาบ้าง แต่ยังไม่เริ่มเขียน หรือ ไม่รู้ว่าจะเขียนยังไง วันนี้ มาร่วมหาคำตอบ กันได้เลยค่ะ

ก่อนอื่น ต้องขอท้าวความ ถึงความเป็นมาของ เจ้า Bullet Journal หรือ ที่เรียกสั้น ๆ กันว่า ‘ บูโจ ‘ ( BuJo ) ก่อนแล้วกันค่ะ ระบบการจดบันทึก ประเภทนี้ ถูกคิดค้นขึ้นมาโดย Ryder Carroll เขาเป็น ดิจิตอล โปรดักส์ ดีไซน์เนอร์ ที่ถูกวินิจฉัย ว่าเป็นโรคสมาธิสั้น ตั้งแต่เด็ก เขาพยายาม คิดหาระบบที่จะช่วยในการ จัดระเบียบ ชีวิตของตัวเองได้

 

วิธีการเขียน Bullet Journal

เขาคิดระบบ Bullet Journal ออกมาได้ ในช่วงเวลาที่เพิ่งเรียนจบพอดี และ แชร์วิธีนี้ลงบนโลกออนไลน์ ผลปรากฎว่า การจด บูโจ นี้ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เขาได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับ วิธีการเขียน Bullet Journal ขึ้นพูดในรายการ TED talk ในปี 2017 ทำเว็บไซต์ แอปพลิเคชั่น ออกมาอีกด้วย

ขนาด Ryder Carroll ที่เป็นโรคสมาธิสั้น เขายังสามารถจัดระเบียบชีวิตตัวเองได้เลยนะ ทำไมเราจะทำไม่ได้ล่ะ

 

เรามาดูวิธีการเขียนกันเลยดีกว่า

องค์ประกอบหลัก ในการทำ บูโจ มีดังนี้

  • Index หน้าที่ของ Index ก็เหมือนเป็นหน้า ดัชนี / สารบัญ ในหนังสือทั่วไป ที่จะใส่เลขหน้า และ หัวข้อของหน้าต่าง ๆ ว่าอะไรอยู่หน้าไหนบ้าง

  • Rapid logging เป็นระบบที่เขาคิดขึ้นมา โดยใช้ Key เป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ ให้สามารถจดได้กระชับ ชัดเจน แต่ไม่สั้นเกินไปจนอ่านไม่รู้เรื่อง สัญลักษณ์ที่จะใช้ในเล่ม เราอาจจะเขียนไว้ในหน้าแรก ๆ ของ บูโจ ก็ได้ จะได้ไม่ลืมว่าอะไรเป็นอะไร หลัก ๆ ก็มีดังนี้ 

    • จุดสีดำ : task / งานที่ต้องทำ

    • จุดสีขาว : Event / เหตุการณ์

    • ขีดแดช (-) : Noet / การจดบันทึกไว้กันลืม

    • เครื่องหมาย > :  งานที่ย้ายไปทำวันอื่น

    • เครื่องหมาย < : งานที่เลื่อนไปไม่มีกำหนด หรือเลื่อนไปไกล ๆ อย่าง เดือนหน้า

    • ขีดฆ่า : ยกเลิกงาน , เหตุการณ์ นั้น

    • นอกจากนั้น เราสามารถใช้สัญลักษณ อื่น ๆ ขึ้นมาเองได้ ตามความสะดวกของเรา เช่น ใช้รูปดาว แทนงานที่มีความสำคัญ ทำให้เราสามารถเรียงลำดับ piority ได้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น

 

วิธีการเขียน Bullet Journal

 

  • Logs เป็นรายการสิ่งที่ต้องทำ คล้าย ๆ กับ to-do lists ทั่วไป แต่มันแตกต่างตรงที่ ในระบบ Bullet Journal จะมีการแบ่งเวลา เป็นเสกล เล็ก-ใหญ่ แตกต่างกันดังนี้

    • Future logs เป็นสิ่งที่เราจะทำในอนาคต ยกตัวอย่าง เป็นของส่วนตัวที่เราทำ เราจะเขียนเป็น ปฏิทินของทั้งปี มีเขียนไว้ทั้งหมด 12 เดือน เวลาเราแพลนจะทำอะไร ในเดือนไหน วันที่เท่าไหร่ (ถ้ารู้วันแน่ชัด) ก็จะจดเอาไว้ ใน Future log โดยที่ เจ้า Future log นี้ จะอยู่ถัดจากหน้า Key / Rapid logging เลยค่ะ

วิธีการเขียน Bullet Journal

 

    • Monthly logs คือ หน้าที่เราเอาไว้เขียนว่า เดือนนี้ เราจะทำอะไรบ้าง เราอาจจะพลิกไปที่ หน้า future logs ก่อน ว่าเราเคยแพลน จะทำอะไรบ้างในเดือนนี้ แล้วเราก็นำสิ่งที่แพลนไว้ มาเขียนลงใน monthly logs อีกที

      บางคนอาจจะมองว่า เป็นการทำงานซ้ำซ้อน 2 รอบ คือเราอยากบอกว่า มันไม่เหมือนกันนะ monthly logs จะมีความเป็นปัจจุบัน เขียนไปเลย ว่าเดือนนี้ มีงานอะไรบ้าง อยากทำอะไรบ้าง วันที่เท่าไหร่ กี่โมง คือจะเอียดมากว่า คล้าย ๆ กับ Planer ทั่วไป ในขณะที่ future logs ไม่ต้องเขียนทุก ๆ อย่างที่เกิดขึ้น แต่เป็นการแพลนอนาคตไกล ๆ มากกว่า

วิธีการเขียน Bullet Journal วิธีการเขียน Bullet Journal

 

    • Daily logs เปรียบเสมือน to do list รายวัน หลังจากหน้า monthly logs ก็จะมี daily logs อยู่ถัดมาเลย ซึ่งจะเป็นหน้าสำหรับเขียนว่า แต่ละวัน เราจะทำอะไรบ้าง ก่อนอื่น ให้เปิดไปดูใน monthly logs ก่อนว่าวันนี้ ใน monthly logs เราเขียนอะไรไว้ไหม ถ้ามี ก็เขียนลงไป ถ้าไม่มี หรืออยากเขียนอะไรเพิ่ม ก็ทำได้เหมือนกัน

      ยกตัวอย่าง สมมติว่า วันนี้ใน monthly logs เราเขียนไว้ว่า มีนัดทำงานกับเพื่อนตอนบ่ายโมง เราก็เขียนไปตามนั้น แต่เราก็สามารถคิดสิ่งที่จะทำเพิ่มและเขียนลงไปอีก เช่น หลังจากเจอเพื่อน ให้แวะซื้อผงซักฟอกด้วย หรือ ตอนเช้าของวันนั้น จะตื่นมาเล่นโยคะ เป็นตัน

      สำหรับเราเอง การเขียน daily logs จะเขียนในคืนก่อนหน้า 1 วัน จะได้เป็นการแพลนว่า พรุ่งนี้ต้องทำอะไรบ้าง

วิธีการเขียน Bullet Journal วิธีการเขียน Bullet Journal

 

  • Collections เหมือนเป็นส่วนเสริม ที่เราสร้างขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง อาจจะทำเป็น tracker ติดตามนิสัยบางอย่าง อย่างของเราก็เป็น ติดตามการออกกำลังกาย วันไหนออกกำลังก็จดเอาไว้ หรือ จะทำ mood tracker จดอารมณ์ของเราในแต่ละวันก็ได้ หรือจะเป็น.. เขียนรายชื่อของที่อยากได้ หนังสือที่จะอ่าน เพลงที่อยากฟัง เรียกได้ว่าอะไรก็ได้เลยแหละ

 

วิธีการเขียน Bullet Journal วิธีการเขียน Bullet Journal วิธีการเขียน Bullet Journal

 

จบแล้วค่ะ สำหรับ วิธีการเขียน Bullet Journal ในวันนี้ เพื่อน ๆ สามารถเขียนตามองค์ประกอบหลัก ด้านบนได้เลย ตั้งแต่ Index จนมาถึง Collection ซึ่งเป็นส่วนที่เราคิดเอง ถ้ายังไม่เข้าใจเรื่องลำดับการเขียน ให้เรียงดังนี้นะคะ Index – Key – Future Logs – เดือนมกราคม – เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมีนาคม… ไล่ไปทีละเดือน โดยที่ แต่ละเดือน จะมี Monthly logs, Daily logs, และ Collection เป็นของตัวเอง

หวังว่าทุกคนจะได้เรียนรู้ วิธีการเขียน Bullet Journal แล้วนำไปใช้กับนะ รับรองว่า ชีวิตเราจะไม่วุ่นวายเหมือนแต่ก่อนแน่ ๆ แล้วเจอกันใหม่บทความหน้าค่ะ บ้ายบาย

Comments

comments