หลาย ๆ คน น่าจะเคยได้ยิน เกี่ยวกับ โรคนิ้วล็อค กันมาบ้าง แต่ในวันนี้ เราจะพาทุกคน ลงรายละเอียด และ ทำความรู้จัก กับโรคนี้ ให้มากขึ้น ว่า มันมีอาการเป็นอย่างไร เกิดจากอะไร ใครเสี่ยงจะเป็นโรคนิ้วล็อคบ้าง แล้วที่สำคัญ ถ้าเป็นแล้วต้องทำยังไง

 

เล่นโทรศัพท์เยอะ ใช้คอมพ์หนัก! ต้องระวัง โรคนิ้วล็อค !! งอนิ้วไม่ได้ แก้ไขและป้องกันยังไงดี?

 

สาเหตุของ โรคนิ้วล็อค

เกิดจากการใช้แแรง งอนิ้วมาก ๆ ใช้งานนิ้วมืออย่างหนัก จนทำให้ปลอกเอ็นกล้ามเนื้อนิ้ว เกิดการอักเสบ

 

ใครเสี่ยงบ้าง

คนที่ต้องใช้แรงนิ้วเยอะ ๆ จำเป็นต้องเกร็งนิ้วมือบ่อย ๆ อย่าง อาชีพ ชาวไร่ ชาวสวน ช่างที่ใช้ไขควง นักกีฬากอล์ฟ แม่บ้าน หรือ ผู้ที่ใช้โทรศัพท์ต่อเนื่อง ย้ำการใช้นิ้วเดิม ๆ เป็นเวลานาน ๆ  หรือ ใช้คอมพ์เป็นเวลานาน เป็นต้น 

นอกจากนี้ ผู้ที่อายุ 40-60 ปี เพศหญิง รวมถึง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคเก๊าท์ โรคไต โรครูมาตอยด์ ก็จะมีโอกาศการเป็นโรค โรคนิ้วล็อค ได้มากกว่าปกติ

 

อาการของ โรคนิ้วล็อค เป็นอย่างไร

คนที่เป็นโรคนี้ จะมีความรู้สึกเจ็บ บริเวณข้อนิ้ว ถ้าเป็นหนัก ๆ อาจรู้สึกสะดุด เวลาขยับนิ้ว กำมือ-แบมือ หรืออาจขยับนิ้วไม่ได้เลยก็มี โดยสามารถแยก ระดับความรุนแรง ของโรค ได้เป็น 4 ระดับ

  1. ระดับที่หนึ่ง รู้สึก เจ็บ หรือ ปวด บริเวณโคนนิ้ว (จุดเชื่อมต่อระหว่างฝ่ามือ และ นิ้วมือ) กดแล้วเจ็บ แต่ยังไม่มีอาการสะดุด และยังสามารถเหยียดนิ้วได้ตรง ตามปกติ
  2. ระดับที่สอง ปวดมากขึ้น รวมทั้ง มีอาการสะดุด เมื่องอนิ้ว หรือ เหยียดนิ้วออก แต่ยังสามารถเหยียดนิ้วได้
  3. ระดับที่สาม มีอาการล็อคแบบชัดเจน กำมือแล้วไม่สามารถเหยียดนิ้วออกได้ ต้องใช้มืออีกข้างแกะออก ถึงจะแบมือได้
  4. ระดับที่สี่ บวมอักเสบ นิ้วมือ งอ ผิดรูป หรือ ไม่สามารถกำมือได้สุด ถ้าใช้มืออีกข้างแกะนิ้วที่ล็อคออก จะรู้สึกปวดมาก

 

แล้วเป็นระดับไหน ถึงต้องไปหาหมอ

เมื่อเริ่มมีอาการ ไม่ว่าจะในระดับใด ก็ควรรีบไปพบแพทย์  ไม่ควรปล่อยจนเป็นรุนแรง ถึงระดับที่ 4


 

 

เป็นแล้วรักษาอย่างไร

เมื่อมี อาการของโรคนิ้วล็อค ในระดับ 1 และ 2

  1. บำบัด ด้วยการ ประคบร้อน แช่น้ำอุ่น 5-10 นาที , ดามนิ้ว ให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหยียดหรืองอ จนเกินไป , ยืดเส้น เช่น ฝึกกำแบ เหยียดนิ้วให้ตรง
  2. ทานยา เพื่อลดการปวด บวม

เมื่อมี อาการของโรคนิ้วล็อค ในระดับ 3 และ 4

  1. ฉีดสเตียรอยด์ ลดอาการบวมของเส้นเอ็น แต่จะดีขึ้นในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
  2. การผ่าตัด เป็นการตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นให้กว้างขึ้น

 

ถ้าใครเริ่มมีอาการแล้วล่ะก็ อย่าลืมรีบไปหาหมอกันนะคะ อย่าปล่อยให้รุนแรงมากขึ้น ส่วนใครที่ยังไม่มีอาการ แต่คิดว่า ตัวเองมีความเสี่ยง ก็พยายามลดความเสี่ยงลงบ้าง เช่น พักจากการใช้งานโทรศัพท์จอสัมผัสบ้างเป็นระยะ ๆ ใช้เครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ ในการทำงาน แบบนี้นะคะ!

 


 

 

 

content credits :
บทความ “4 ระยะ นิ้วล็อก ที่เป็นแล้ว ห้ามละเลย” จาก โรงพยาบาล เวชธานี
บทความ “โรคนิ้วล็อค” 1 ในโรคฮิต ออฟฟิศซินโดรม” จาก โรงพยาบาล บางปะกอก 1
บทความ “โรคนิ้วล็อค” จาก โรงพยาบาล นนทเวช
บทความ “คลายนิ้วล็อค…นิ้วล็อค ง่ายนิดเดียว” จาก โรงพยาบาล พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ 

picture credits :
Different Types of Mobile Games to Play on Your Phone on IMG Grupo
TREATMENT FOR HAND NUMBNESS on ACU HEAL
Trigger Finger on Quality Healthcare

 

Comments

comments