สวัสดีเพื่อน ๆ คลับซิส ทุกคนอีกครั้งนะคะ วันนี้เรามีสาระดี ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ ของทุกคนมาฝาก ใครที่สงสัยว่าตัวเองเป็น Office Syndrome หรือ หาทางบรรเทาความปวดที่เกิดจาก อาการ Office Syndrome อยู่ละก็ มาถูกที่แล้วค่ะ เพราะในบทความนี้ เราจะมาบอก วิธีเอาชนะ Office Syndrome กัน!


Office Syndrome มีสาเหตุจากอะไร และ ใครเป็นได้บ้าง

อาการของ ออฟฟิศ ซินโดรม นั้น เกิดจาก การใช้งาน กล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง สะสมเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่าง ๆ และมากไปกว่านั้น ออฟฟิศ ซินโดรม ยังอาจทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง และ เกิดอาการชา จากการถูกกดทับเส้นประสาทอย่างต่อเนื่อง ได้อีกด้วย

อย่างที่เห็นว่า Office Syndrome นั้น เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อเดิม ๆ ซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นพนักงานที่ทำงานออฟฟิศเท่านั้น แต่กับคนที่ทำอะไร ค้างอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ก็สามารถเป็นได้ทั้งนั้น เช่น คนที่เล่นเกมส์นาน ๆ เรียนออนไลน์นาน ๆ ไม่พัก เป็นต้น

โดยสาเหตุที่ มีชื่อเรียกว่า Office Syndrome เป็นเพราะว่า  50 เปอร์เซ็นต์ ของพนักงาน ที่ทำงานในออฟฟิศเป็นประจำ เป็นออฟฟิศซินโดรม และ มักจะมีอาการปวด ที่บริเวณ คอ บ่า และ หลัง ซึ่งเป็นผลมาจาก การจัดระเบียบร่างกาย ระหว่างการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม เมื่ออยู่ในท่าเหล่านั้นเป็นเวลานาน ก็จะทำให้เกิดอาการปวดได้

 


อาการ Office Syndrome เป็นอย่างไร

ลักษณะของการปวดกล้ามเนื้อ ของ Office Syndrome นั้น จะมีตั้งแต่ตั้งแต่ปวดเล็กน้อย ไปจนถึง ปวดอย่างรุนแรง และจะเป็นการปวดตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น  คอ บ่า ไหล่ หลัง ซึ่งจะเป็นการปวด ในลักษณะบริเวณกว้าง ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน และ อาจการมีปวดร้าว ลามไปบริเวณใกล้เคียงได้

แต่อาการของ Office Syndrome ไม่ได้มีแค่ อาการปวดกล้ามเนื้อ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตามที่ได้บอกไปในด้านบน อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ อาการ เย็นวูบ รู้สึกขนลุก เหงื่อออก ในบริเวณที่ปวด หรือถ้าปวดคอ ก็อาจมีตาพร่า หูอื้อ รู้สึกมึนงง ได้เช่นกัน

และหากมีการกดทับเส้นประสาทเกิดขึ้น ก็อาจมีอาการ เช่น การชา หรือ อ่อนแรง เกิดขึ้นได้

 


การป้องกัน และ แก้ไข

มาดูวิธี ป้องกัน Office Syndrome ด้วยท่านั่งที่ถูกต้อง กันเถอะ!

เราสามารถจัดสภาพแวดล้อม ในการทำงาน (หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่ต้องใช้เวลานาน) ให้ท่านั่งของเรา อยู่ในท่าที่เหมาะสม ดังนี้

  • เก้าอี้ ควรจะนั่งแล้วไม่ยวบจนเกินไป จนสะโพกกับขา ไม่ตั้งฉากกัน , นั่งแล้วไม่ต้องพยายามโน้มตัว หรือ ยกตัวขึ้นเวลาทำงาน ในด้านของ ความสูงของเก้าอี้ ควรนั่งแล้วเท่าพอดีกับพื้น ถ้าไม่พอดี ควรจะหาอะไรมาวางเสริม สุดท้าย เก้าอี้ที่ดี ควรมีพนักพิงหลัง รองรับ บริเวณเอว
  • คีย์บอร์ด และ เมาส์ ควรจะอยู่ในระดับที่พอดีกับข้อศอก ไม่ต้องยกแขน หรือ ไหล่ ในระหว่างพิมงานพิมงาน สามารถวางแขนได้สบาย ๆ
  • หน้าจอคอมพิวเตอร์ ควรอยู่ในระดับต่ำกว่าสายตาเล็กน้อย และไม่ควรมองหน้าจอเป็นเวลานานติดกันจนเกินไป ควรมีการพักสายตาเป็นระยะ
  • ท่านั่ง ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง และ ยกไหล่ ขณะทำงาน รวมถึงควรจะนั่งหลังตรง ไม่ค่อมอีกด้วย

 


ท่ายืดเหยียด ที่ทำได้ง่าย ๆ ระหว่างวัน

แม้เราไม่อาจหลีกเลี่ยงการทำงานในทุก ๆ วันได้ แต่เราสามารถหลีกเลี่ยง การนั่งอยู่ในท่าเดิมทั้งวันได้ โดยในระหว่างการทำงานแต่ละวัน ให้มีการยืดเหยียดร่างกาย ทุก ๆ ชั่วโมง

เราไม่จำเป็นต้องยืดเหยียดแบบ จัดเต็ม ปูเสื่อโยคะ แต่แค่ทำท่าง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ ก็ช่วยได้เยอะค่ะ

  1. ประสานมือและยืดไปด้านหน้า ประสานมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน แหงนฝ่ามือออกจากตัว และ ดันมือไปด้านหน้า ค้างไว้ 10-20 วินาที 2 ครั้ง เป็นการยืดกล้ามเนื้อหลังส่วนบน
  2. ประสานมือเหนือศรีษะ คล้ายกับท่าก่อนหน้านี้ แต่ให้ยืดมือไปเหนือศรีษะ ด้านบนแทน 20 วินาที เป็นการยืดทั้งหลัง และ ต้นแขน
  3. ยืดอก แอ่นตัวไปด้านหน้า 20 วินาที ช่วยในการยืดกล้ามเนื้อหลังล่าง และ กล้ามเนื้ออก 
  4. ยืดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ โดยการ ไขว้มือไว้ด้านหลัง ก้มหน้าลง ค่อย ๆ เอียงคอไปด้านขวา และ ดึงข้อมือข้างซ้าย ให้ไปทางขวา พร้อม ๆ กัน จากนั้นสลับไปทำอีกข้าง

 

นอกจากนี้แล้ว เรายังควร ออกกำลังกายและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เป็นประจำ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เป็นการลดความเสี่ยงกานรเกิด Office Syndrome ได้อีกด้วย

 

cr. generali , siphhospital , สสส. , bizjournals , gettyimages , techrepublic , acefitness 

Comments

comments