ในภาวะที่ จำนวนผู้ป่วยมีมากขึ้นทุก ๆ วัน จนเตียงล้นออกมานอกโรงพยาบาล เพื่อที่จะเป็นการแบ่งเบาปัญหานี้ จึงมีการจัดทำ “Home Isolation” เกิดขึ้น ซึ่งมันคือ แนวทาง กระบวนการ การรักษาตัว สำหรับผู้ป่วย “Covid-19” ที่มีอาการไม่มาก หรือ ไม่มีอาการ ให้กักตัวและ รักษาตัวอยู่ที่บ้านของตัวเอง แล้วการจะทำ Home Isolation ต้องทํายังไงบ้าง มาดูไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ


กลุ่มคนที่สามารถทำ Home Isolation ได้ คือ

กลุ่มคนที่ เพิ่งจะพบเชื้อ และ อีกกลุ่มคือ กลุ่มที่เข้าโรงพยาบาลนาน 7-10 วันแล้ว และอาการดีขึ้น โดยทั้งสองกลุ่ม มีเกณฑ์ร่วมกัน ในการทำ Home Isolation ดังนี้

1. เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ (asymptomatic cases) หรือ ติดเชื่อแต่อาการไม่หนัก
2. อายุไม่เกิน 60 ปี
3. อาศัยอยู่คนเดียว หรือ มีผู้ร่วมอาศัยอยู่ด้วย แต่ไม่เกิน 1 คน
4. ไม่มีภาวะอ้วน
5. ไม่เป็นโรค ที่มีความเสี่ยง กับอาการรุนแรง เช่น โรคเบาหวาน , โรคหลอดเลือดในสมอง , โรคปอด , โรคไตเรื้อรัง , โรคหัวใจและหลอดเลือด

 

คำว่า อาการไม่หนัก หรือ ผู้ป่วยสีเขียว เป็นแบบไหน

เป็นผู้ป่วย ที่มีอาการต่าง ๆ ดังนี้ คือ มีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ถ่ายเหลว มีผื่น ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รสชาติ ถ่ายเหลว ตาแดง แต่ ไม่มีอาการ หอบเหนื่อย หายใจเร็ว หายใจลำบาก ปอดอักเสบ

 

การทำ Home Isolation ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

  • ห้ามออกจากที่อาศัย และ ห้ามใครมาเยี่ยม
  • ห้ามเข้าใกล้คนอื่น ๆ หรือ เว้นระยะห่างจากคนอื่น อย่างน้อย 2 เมตร
  • แยกห้อง แยกของใช้ กับคนอื่นในบ้าน ถ้าแยกไม่ได้ให้อยู่ห่างจากคนอื่นที่สุด และเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท
  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากมีคนอื่นอยู่ด้วย
  • ล้างมือก่อนทุกครั้ง ที่จำเป็นต้องสัมผัสของใช้
  • แยกขยะ และ มัดปากถุงให้แน่น

 


 

จะเข้าสู่กระบวนการรักษาแบบ Home Isolation ต้องทํายังไงบ้าง

1. ลงทะเบียนผ่าน สปสช.

Home Isolation ต้องทํายังไงบ้าง

ทุกคนที่มี บัตรทอง สามารถโทรสายด่วน 1330 ต่อ 14 และ ผู้ที่มีประกันสังคม สามารถโทร 1506 กด 6 เพื่อได้รับการรักษา และลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน QR Code หรือ Line @nhso สิ่งที่จะได้รับผ่านการรักษาแบบ Home Isolation คือ

1. การประเมินอาการ ผ่านวิดีโอคอล วันละ 2 ครั้ง
2. อาหาร 3 มื้อ
3. ปรอทวัดไข้ และ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 
4. ยารักษาพื้นฐาน
5. หากอาการแย่ลง จะได้รับส่งตัวรักษาต่อ

นอกจากนี้ ยังมีช่องทางอื่น ๆ ที่เป็นจิตอาสา ช่วยดูแลเพิ่มเติม ที่สามารถติดต่อได้อีก หลายช่องทาง

 

2. เพจ เราต้องรอด

ให้ส่งผลตรวจ RT-PCR ที่แสดงว่าเราติดโควิด และ ทำการลงทะเบียนผ่านไลน์ @1668.reg และ @sabaideebot (ไลน์ของสปสช. 1330) และ @bkkcovid19connect ในกรณีที่อยู่ในกรุงเทพ ส่วนจังหวัดอื่น ๆ จะมีเบอร์ของแต่ละจังหวัด เมื่อลงทะเบียนครบแล้ว จะมีรหัสประจำตัวยืนยันผู้ป่วยให้ และ ให้ส่ง รหัสประจำตัวนั้นเข้าไปใน inbox เพจ “เราต้องรอด”

ทางเพจ จะส่งอะไรให้บ้าง

1. เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว และ ปรอทวัดไข้ (เป็นสิ่งของที่ได้มาจากการบริจาคทั้งหมด หากใครมีกำลังทรัพย์ สามารถซื้อด้วยตัวเองได้เลย เพื่อให้คนที่ไม่มีจริง ๆ ได้รับ อุปกรณ์ที่จำเป็น)
2. ยารักษาพื้นฐาน
3. ถึงออกซิเจน หากค่าออกซิเจนในเลือดลดลงต่ำกว่า 90
4. หากได้รับถึงออกซิเจนแล้วอาการไม่ดีขึ้น จะมีการหาเตียงให้

สามารถเข้าไปฟังรายละเอียดขั้นตอนการติดต่อ และ ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ทาง Youtube ของหมอเคท เพื่อความเข้าใจได้ค่ะ

 

3. หมอริทช่วยโควิด

เป็นการดูแลผู้ป่วยแบบ Home Isolation อย่างเต็มรูปแบบ โดยทีมแพทย์และจิตอาสา ผู้ป่วยในโครงการจะได้รับ ยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมไปถึง อาหาร (ตามแต่แพทย์ประเมิน และความจำเป็น) ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ได้รับบริจาคมาจากประชาชน และ ความร่วมมือจากสภากาชาด และ สปสช.

 

4. Home Isolation โรงพยาบาลราชวิถี

 

5. เภสัชกรอาสาดูแลโควิด (Home Isolation)

6. ไพรเวชคลินิก ร่วมด้วยช่วยกันสู้ แพทย์แผนจีนช่วยผู้ติดเชื้อ

ทั้งหมดนี้ คือ 6 ช่องทาง ที่จะช่วยดูแลผู้ป่วย ในระบบ Home Isolation ใครที่ยังไม่ได้ต้องการความช่วยเหลือ ก็สามารถสนับสนุน บริจาค ของจำเป็นต่าง ๆ กับหน่วยงานเหล่านี้ได้ค่ะ

 

credits : thebangkokinsight , .prachachat , petcharavejhospital , occupationalmedicinepractice , superawesomevectors 

Comments

comments