เรื่องประจำเดือนเป็นเรื่องธรรมชาติที่ผู้หญิงอย่างเรา ๆ ต้องพบเจอกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมามากหรือมาน้อยก็ตาม แต่ถ้ารู้สึกว่าประจำเดือนไม่ปกติ อย่าง ประจำเดือนเป็นลิ่ม ล่ะ แบบนี้เราจะเป็นโรคอะไรหรือเปล่า สุขภาพภายในเรายังดีอยู่ไหม อย่าเพิ่งกลุ้มอกกลุ้มใจกันไปค่ะซิส เพราะประจำเดือนเป็นลิ่มมีหลายสาเหตุ และไม่ได้อันตรายเสมอไป ว่าแต่มันเกิดจากอะไร เราไปหาคำตอบกันค่ะ

 

ประจำเดือนเป็นลิ่ม ส่อโรคอะไร เรายังปลอดภัยหรือเปล่า

 

เรื่องของประจำเดือนเป็นเรื่องปกติมาก ๆ ที่จะมีความเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องของระยะเวลา ปริมาณของเลือดประจำเดือน และความถี่ในการมา ส่วนลิ่มเลือดประจำเดือนอาจจะเป็นเรื่องน่ากลัว น่าตกใจ เวลาเราเห็น ซึ่งจริง ๆ แล้วลิ่มเลือดเป็นเรื่องปกตินะคะ ถ้ามีไม่เยอะ ขนาดไม่ใหญ่เกินไป แต่ถ้ามีลิ่มเลือดจำนวนมากและรู้สึกว่าร่างกายมีความผิดปกติ ก็อาจจะต้องปรึกษาแพทย์แล้วล่ะ แต่ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่า ว่าลิ่มเลือดคืออะไร เกิดขึ้นได้ยังไง

ประจำเดือนเป็นลิ่ม

ลิ่มเลือดประจำเดือนคืออะไร

ประจำเดือนของเราเกิดขึ้นจากฮอร์โมนไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกของเราถูกกระตุ้นให้หลั่งออกมา ในกระบวนการนั้นนั่นแหละ หลอดเลือดเล็ก ๆ ในโพรงมดลูกของเราก็จะมีเลือดออกมา และเพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียเลือดมากเกินไป ร่างกายของเราจะสร้างลิ่มเลือดโดยใช้พลาสมาและเกล็ดเลือด ทั้งนี้ทั้งนั้นเลือดประจำเดือนก็เป็นเศษเนื้อเยื่อจากเยื่อบุโพรงมดลูกเช่นกัน ดังนั้น สิ่งที่ดูเหมือนลิ่มเลือดจริง ๆ แล้วอาจเป็นกลุ่มเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก หรืออาจเป็นส่วนผสมของทั้งเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกและลิ่มเลือดก็ได้นะ

พวกลิ่มเลือดสีเข้ม ๆ อาจจะเกิดในช่วงแรกของการมีประจำเดือน เพราะเป็นวันที่มามาก เมื่อประจำเดือนมามากขึ้น ลิ่มเลือดก็มักจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพราะมีเลือดจำนวนมากอยู่ในมดลูก แล้วมันก็จะทะลักพรวดพราดออกมาตอนที่เรานั่งนาน ๆ แล้วลุก นั่นเพราะมันถูกกั้นไว้เป็นเวลานานนั่นเอง

ประจำเดือนเป็นลิ่ม

ลิ่มเลือดประจำเดือนเกิดจากอะไร

เวลาที่เรามีลิ่มเลือด เราจะรู้สึกปวดท้องมากกว่าปกติ หรือปวดบริเวณช่องคลอด นั่นเพราะปากมดลูกของเราจะต้องขยายออกเพื่อให้ไอ้เจ้าลิ่มเลือดนี้ผ่านออกมาได้ แต่ถ้าเรามีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ผิดปกติ อาจจะเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้ ดังนี้ค่ะ

1. เนื้องอกในมดลูก – การเติบโตที่ผิดปกติของเนื้องอกในมดลูก แต่ไม่ใช่ก้อนเนื้อมะเร็ง อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดออกมาก และเกิดเป็นลิ่มเลือดได้

2. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ – ในภาวะนี้ เนื้อเยื่อเยื่อบุโพรงมดลูกในเยื่อบุโพรงมดลูกจะเติบโตนอกมดลูก ซึ่งโดยปกติแล้วจะไปถึงท่อนำไข่และรังไข่ ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนเป็นลิ่มได้

3. ความไม่สมดุลของฮอร์โมน – โดยอาจจะมีสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้ฮอร์โมนของเราผิดปกติ เช่น ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ โรคถุงน้ำหลายใบ (PCOS) ภาวะหมดประจำเดือน และวัยหมดประจำเดือน อาจทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดออกมาอย่างผิดปกติ ส่งผลให้มีลิ่มเลือดอุดตันและมีเลือดออกมาก

4. การแท้งลูก – บางครั้งการแท้งอาจจะเกิดขึ้นเร็วมาก จนสาว ๆ อาจจะยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังท้องอยู่ เลือกที่เกิดจากการตกเลือดหรือก็แท้งก็จะออกมาเป็นลิ่มเลือด ซึ่งนั่นอาจหมายถึงตัวอ่อนหลุดออกมาแล้ว

5. แผลจากการผ่าตัดคลอด – ผู้หญิงบางคนอาจมีเลือดออกผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับแผลเป็นจากการผ่าตัดคลอด

6. มะเร็งในมดลูก หรือปากมดลูก – ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดลิ่มเลือดได้ แต่มีโอกาสน้อยค่ะ

ประจำเดือนเป็นลิ่ม

ประจำเดือนเป็นลิ่มมันน่ากลัวมากมั้ย ?

ถ้าถามเรื่องความรุนแรงของการมีลิ่มเลือดประจำเดือน ต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ซึ่งแพทย์เขาจะพิจารณาจากขนาดและความถี่ค่ะ อย่างเช่น ปกติแล้วผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีลิ่มเลือดประมาณขนาดเท่าเหรียญบาท แล้วก็จะมีวันละครั้งสองครั้ง นาน 2 – 3 วัน อันนั้นถือว่าปกติค่ะ แต่ถ้าออกมาแบบขนาดประมาณลูกกอล์ฟ แล้วยังมีทุก 2 – 3 ชั่วโมง อันนี้เรียกว่าผิดปกติแล้ว ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ และยังมีคนกังวลด้วยว่า ถ้าลิ่มเลือดหรือเลือดประจำเดือนออกเยอะมาก จะส่งผลให้เป้นโรคโลหิตจางหรือเปล่า ข้อดีก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าประจำเดือนมามากผิดปกติหรือเปล่า เพราะถ้ามามากแค่วันสองวันก็ไม่ส่งผลอะไรค่ะ

ประจำเดือนเป็นลิ่ม

ดูแลตัวเองยังไง ถ้าประจำเดือนเป็นลิ่ม

ประจำเดือนเป็นลิ่มถ้าหากว่าเป็นพอประมาณ แต่เราอยากดูแลตัวเอง ไม่ให้ซีด หรือรู้สึกว่าสุขภาพเสีย เพลีย อ่อนแรง ต้องทำตามนี้ค่ะ

1. กินอาหารเสริมธาตุเหล็ก – เพราะหากเสียเลือดปริมาณมาก เลือดเป็นลิ่ม หรือเสียเลือดเป็นเวลานาน อาจทำให้สาว ๆ มีภาวะโลหิตจางได้ ซึ่งอาจอาจทำให้รู้สึกเหนื่อย อ่อนแรง วิงเวียน และหน้ามืด รวมถึงอาการอื่น ๆ ดังนั้นจึงควรหาอาหารเสริมธาตุเหล็ก หรือ ซิงค์ มากินเพื่อฟื้นฟูระดับธาตุเหล็กในเลือด ถึงจะไม่ได้ช่วยลดปริมาณเลือดประจำเดือนลง แต่มันก็ช่วยรักษาอาการของโรคโลหิตจางและเข้าไปเสริมเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงได้

2. กินยาคุม – ยาคุมบางชนิดอาจลดการไหลเวียนของเลือดประจำเดือน และควบคุมเลือดออกผิดปกติได้ ทั้งยังช่วยปรับฮอร์โมนด้วย แต่ถ้าจะเลือกกินยาคุม ควรปรึกษาแพทย์ให้มั่นใจก่อน เพื่อสุขภาพในระยะยาว

3. กินยาแอสไพริน – ถ้าไม่ได้แพ้ยาชนิดนี้ แอสไพรินก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ช่วยลดอาการปวดและการอักเสบ ทั้งยังเพิ่มการไหลเวียนของประจำเดือนได้

4. ฮอร์โมนบำบัด – ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจน หรือทั้งสองอย่างรวมกัน สามารถช่วยลดเลือดออกมากได้ แต่แตกต่างจากยาคุมตรงที่ การรักษาด้วยฮอร์โมนจะช่วยรักษาภาวะเจริญพันธุ์ไว้ ดังนั้นจึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้หญิงที่อยากจะตั้งครรภ์ แต่ก็ต้องการควบคุมการมีประจำเดือนอย่างหนักด้วย

ประจำเดือนเป็นลิ่ม

เมื่อไรควรไปหาหมอ

จริง ๆ แล้วถ้าเรารู้สึกว่า ประจำเดือนของเราผิดปกติ มามาก ไม่เหมือนเดิม เป็นลิ่มเยอะ ๆ ก้อนใหญ่ ๆ ก็สามารถไปปรึกษาแพทย์ได้แล้วค่ะ โดยควรเตรียมข้อมูลเหล่านี้ไปด้วย

– มีประจำเดือนแต่ละรอบกินเวลาเท่าไร

– ประจำเดือนมาเยอะแค่ไหน 

– มีประจำเดือนมากกว่าเดือนละ 1 ครั้งหรือไม่

– มีความแตกต่าง หรือการเปลี่ยนแปลงระหว่างเดือนที่ผิดปกติ กับเดือนก่อน ๆ อย่างไรบ้าง

– ปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติหรือไม่

– วางแผนที่จะตั้งครรภ์หรือเปล่า

– รายการยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

– เงื่อนไขทางการรักษาอื่น ๆ ประวัติการแพ้ยาต่าง ๆ

 

การมีประจำเดือนเป็นลิ่ม ไม่ต้องตกใจไปนะคะ แต่ต้องลองสังเกตตัวเองดี ๆ ว่าทั้งปริมาณลิ่มเลือด ขนาดของลิ่มเลือด และความถี่ของลิ่มเลือดที่ออกมาด้วยนะ ถ้ายังมีขนาดไม่ใหญ่ ออกมาไม่เยอะ ไม่บ่อย ก็ยังถือว่าปกติค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดูแลสุขภาพให้ดีด้วยนะ จะได้แข็งแรงไปนาน ๆ

 

Credit Information from health.clevelandclinic.org, verywellhealth.com

Credit Pictures from Freepik

Comments

comments