ปีใหม่เป็นปีที่ใครหลายคนเริ่มต้นที่จะทำอะไรใหม่ ๆ สิ่งที่ควรจะเลิกทำ ปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนใหม่ ทิ้งนิสัยแย่ ๆ ไปกับปีเก่า และก้าวสู่สิ่งใหม่ ๆ วันนี้เราเลยจะพาเพื่อน ๆ มาดู 8 สิ่งที่ควรจะเลิกทำ จะมีนิสัยแบบไหนบ้างที่ควรทิ้ง ใครอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น ต้องดูเลยค่ะ !
8 สิ่งที่ควรจะเลิกทำ แล้วทิ้งไว้ในปีเก่า ถ้าอยากเริ่มต้นชีวิตใหม่อย่างแฮพปี้
1.อยู่กับความสัมพันธ์ที่ Toxic
ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษคือ ความสัมพันธ์ที่ไม่สร้างผลดีให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรืออาจจะทั้งสองฝ่าย เกิดภาวะบั่นทอน เบื่อหน่าย และอาจจะร้ายแรงไปจนถึงการทำร้ายกันทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ผลที่อาจเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ที่เป็นพิษคือ ผลที่ส่งไปสู่ความสัมพันธ์อื่นๆ ที่อาจถูกบั่นทอนลง ภาวะความเจ็บปวดทั้งร่างกาย และจิตใจที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคต เพราะฉะนั้นควรออกห่างความสัมพันธ์ที่ Toxic เพื่อให้สุขภาพจิตเราดีขึ้น
6 ความสัมพันธ์ Toxic Relationship ที่ควรทิ้ง
- ความสัมพันธ์ที่ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ หากคนที่รักหรือมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทั้งสองฝ่ายควรมีความเสมอภาค เป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ เป็นทั้งฝ่ายถูก และฝ่ายผิด
- ความสัมพันธ์ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้สึกไม่ปลอดภัย
- ความสัมพันธ์ที่เหนื่อยหน่าย เกิดขึ้นได้กับทุกรูปแบบความสัมพันธ์ การที่ได้คุยได้เจอกัน แต่กลับไม่มีความสุข มีแต่ความเหนื่อยอกเหนื่อยใจ มีแต่ความอึดอัดหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดความไม่สบายใจ
- ความสัมพันธ์ที่ทำให้อีกฝ่ายลำบาก หรือสร้างความเดือดร้อนให้อีกฝ่าย ทำชีวิตของตัวเองให้ลำบาก และพาอีกฝ่ายลำบากไปด้วยทั้งที่ไม่มีความจำเป็น
- ความสัมพันธ์ที่ละเลย ไม่ใส่ใจ เป็นอีกรูปแบบของความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ จากความไม่สนใจหรือละเลยของอีกฝ่าย การไม่ให้ความสำคัญหรือทำให้อีกฝ่ายเหมือนอยู่ตัวคนเดียว
- ความสัมพันธ์ที่ทำให้อีกฝ่ายอึดอัด จากความใกล้ชิดที่มากเกินขอบเขต จนพื้นที่ความเป็นส่วนตัวของอีกฝ่ายหายไป ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบใด ทุกคนต่างก็ต้องมีพื้นที่ความเป็นส่วนตัวของตัวเอง
2. แคร์ทุกอย่าง
ไม่แปลกที่คนเราต้องการได้รับการยอมรับ ได้ถูกยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือของใครสักคน เราทุกคนต่างอยากได้ความรัก ความเคารพ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม จึงไม่แปลกใจที่เราอยากรู้ว่าคนอื่นคิดยังไงกับเรา จนบางทีเรากลับรู้สึกคิดมาก และทำให้เราเราสูญเสียความมั่นใจไปที่สุด ใครรู้สึกตัวเองคิดมาก แคร์คนอื่นมาก วันนี้มี 7 วิธีช่วยแก้ปัญหานี้
- อย่าสนใจมากเกินไป การที่เราอยากรู้มาก ๆ จะทำให้เกิดความกังวลมาก พยายามอย่าไปสนใจ เพราะจริง ๆ แล้วเขาอาจจะไม่สนใจว่าเราจะคิดยังไงกับเขาก็ได้
- ลองตั้งคำถามกับความกังวลของตัวเอง ลองตั้งคำถามกับความคิด ความกังวลของตัวเอง หลายครั้งที่เรามักคิดไปเอง กังวลไปเองกับสิ่งที่เกิดขึ้น จะช่วยเรามองเห็นความเป็นจริงได้มากขึ้น
- ปล่อยวางความสมบูรณ์แบบ ไม่ต้องคาดหวังว่าทุกคนต้องยอมรับเรา คาดหวังว่าทุกคนจะมองเราดี ในโลกความเป็นจริงเราคงทำให้ทุกคนพอใจไม่ได้
- คุยกับตัวเอง เรากังวลกับความคิดของคนอื่นมากเกินไปหรือเปล่า ถ้ามากเกินต้องหยุด
- อยู่กับคนที่มองเห็นคุณค่าในตัวเรา อยู่กับคนที่สนับสนุนสิ่งที่เราทำ ชื่นชมเรา อยู่กับเขาแล้วเรามั่นใจในตัวเอง
- ยอมที่จะเสี่ยงบ้าง หลายครั้งที่ความกังวล ทำให้เราไม่กล้าทำอะไร อยากให้ลองกล้าทำในสิ่งที่คิดดู สุดท้ายเมื่อได้ทำแล้วจะดีหรือแย่มันก็เป็นบทเรียนที่สำคัญ และมันจะทำให้เราชอบตัวเองมากขึ้น
- ยอมรับ และขอความช่วยเหลือบ้าง ลองหาที่ปรึกษา อาจจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนที่สนิท หรือผู้เชี่ยวชาญ อย่าง นักจิตวิทยา
3.ใช้เงินเกินตัว ไม่วางแผนเก็บเงิน
การออมเงินเป็นเรื่องที่ทุกคนเรียนรู้มาแล้วตั้งแต่เด็ก แต่บางคนยังไม่มีวินัยในการออม ทำให้ไม่มีเงินออมแล้วยังส่งผลต่อการดำเนินชีวิต การเรียนหรือการทำงานในอนาคต การวางแผนการเงินล่วงหน้าเป็นสิ่งที่จำเป็น ยิ่งในยุคโควิดแบบนี้ เราควรมีเงินเก็บสำรองไว้ 3-6 เดือนของรายจ่าย ซื้อประกันเอาไว้บ้าง มีรายได้เสริมนอกจากงานประจำ ติดตามข่าวสารบ่อย ๆ รวมถึงควรวางแผน และศึกษาเกี่ยวกับเรื่องหนี้สินให้ดี
4.เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น
ถ้าความคิดชอบเปรียบเทียบตัวเองเริ่มบั่นทอนความสุขในทุก ๆ วัน ลองเลิกเปรียบเทียบตัวเองด้วยวิธีเหล่านี้ก็ได้ค่ะ
- ฝึกมองข้อดีของตัวเอง มองหาจุดแข็งของตัวเอง อาจจดบันทึกไว้ว่าเรามีความสามารถพิเศษอะไร มีข้อดีตรงไหน ผลงานเด่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จคืออะไร มีเรื่องไหนที่สร้างความภาคภูมิใจให้เราได้บ้าง เวลาหยิบมาอ่านจะได้รู้สึกสบายใจ แล้วจะพบว่าเราไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร
- หากยังติดนิสัยชอบเปรียบเทียบ แนะนำให้เปรียบเทียบตัวเองกับสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นตัวเรา เช่น เปรียบเทียบผลการเรียนของตัวเองกับของเพื่อนในห้อง แทนที่จะเปรียบเทียบผลการเรียนของตัวเองกับนักเรียนที่ไปแข่งขันทางวิชาการระดับประเทศหรือระดับชาติ วิธีนี้จะช่วยลดความแตกต่างของตัวเองกับสิ่งที่เราเปรียบเทียบได้มา
- จำแนกความคิดของตัวเองด้วยตาราง 3 ช่อง ช่องแรกให้เขียนสิ่งที่เราเปรียบเทียบ ช่องที่สองให้เขียนเรื่องที่เราเปรียบเทียบ และช่องสุดท้ายให้เขียนความรู้สึกของตัวเองในขณะที่คิดเปรียบเทียบ วิธีทางจิตวิทยานี้จะช่วยให้เรามองเห็นความคิดของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น ที่สำคัญอาจจะช่วยให้มองเห็นความเป็นจริงมากขึ้นด้วยว่า ความแตกต่างระหว่างเรากับสิ่งที่เราคิดเปรียบเทียบ ไม่
- พอใจกับสิ่งที่ตัวเองมี ตัวเองเป็น ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่น จงรักและภูมิใจในสิ่งที่เราเป็นดีที่สุด
5. ไม่รักตัวเอง
ปีใหม่เริ่มง่าย ๆ จากการรักตัวเอง การรับรู้ถึงคุณค่าของตัวเอง ซึ่งความรู้สึกนี้มาจากการกระทำที่มุ่งหวังให้ตัวเองเติบโตทั้งทาง ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ วิธีการรักตัวเองมีตามนี้
- เป็นเพื่อนที่ดีให้กับตัวเอง อภัยตัวเองเมื่อทำผิด ยอมรับเราในแบบที่เราเป็น
- แสดงออกถึงความเป็นตัวเอง แสดงตัวเองในสิ่งที่เป็นเรา
- พาตัวเองไปทำสิ่งที่อยากทำ ใช้ชีวิตในแบบที่อยากใช้
- พยายามปล่อยสิ่งที่ทำร้ายเราออกไปให้ไวที่สุด เวลาเราเจอสิ่งที่ไม่ชอบ ทำให้เสียใจหรือทำให้เครียด ควรรีบหาทางปล่อยสิ่งที่ทำร้ายเราออกไปให้เร็ว
- พาตัวเองไปอยู่กับคนที่เห็นคุณค่าในตัวเรา เอยู่ในที่ที่ไม่มีใครเห็นคุณค่ จะทำให้เรารับรู้คุณค่าของตัวเองยาก
6.กินอาหารไม่มีประโยชน์
อาหารที่ไม่มีประโยชน์ เป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปจนอาจทำให้ไม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เต็มไปด้วยโซเดียม น้ำตาล และไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ถ้าอยากสุขภาพดีต้องงลดอาหารที่ไร้ประโยชน์ค่ะ
7.ผัดวันประกันพรุ่ง
ผู้ที่มีนิสัยผัดวันประกันพรุ่งมักตั้งใจหลีกเลี่ยงการทำงาน โดยพยายามหาข้ออ้างที่ทำให้ตัวเองไม่ได้ทำงานนั้นให้เสร็จสิ้น นิสัยนี้พบบ่อยในวัยเรียนและวัยทำงาน โดยพบว่าคนวัยทำงานกว่า 1 ใน 5 ประสบปัญหาในการทำงานจากนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง ใครที่ยังติดนิสัย รอ dead line แล้วค่อยทำ ต้องเลิกทำแบบนี้ต้องเลิกนะ เพราะอาจจะส่งผลต่อสุขภาพทั้งภาวะความเครียด วิตกกังวล และนอนไม่หลับ
Stay connected