ตลอดเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทุกคนคงจะเห็น โพสต์ / ภาพ / คลิป ต่าง ๆ ที่เฉลิมฉลอง เดือน Pride Month 2021 กันทั่วโลกออนไลน์อย่างแน่นอน แต่น่าเสียดาย ที่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ทั่วโลก ไม่สามารถจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ได้ แบบปีที่ผ่าน ๆ มาได้

สำหรับคนที่ไม่รู้ ขอเล่าให้ฟังสั้น ๆ ถึงต้นกำเนิดของเดือน Pride month คือ ในช่วงปี 70 เดือน มิถุนายน เกิดจากการลุกขึ้นสู้ ต่อ การเลือกปฏิบัติกับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งการก่อจลาจลครั้งนี้ มีชื่อว่า ” จลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots) ” หากใครสนใจก็ลองไปเสิร์ชอ่านเพิ่มเติมได้นะ

และจากเหตุการณ์นี้ ไม่เพียงแค่เปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ใน สหรัฐอเมริกา เท่านั้น แต่เป็นจุดชนวน ให้ชาว LGBTQ ทั่วโลก ยืนหยัด ประกาศตัวตนของตัวเอง และ ต่อสู้เพื่อสิทธิ เสรีภาพของตนเอง อย่างภาคภูมิใจ

เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ น่าจะคุ้นตากับธงสีรุ้ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของ LGBTQ community แต่จริง ๆ แล้ว ธงนี้ ไม่ใช่แค่ธงเดียว ที่มีความหมายเป็นตัวแทนของชาว LGBTQ+ แต่ยังมีอีกหลายธง ที่เป็นตัวแทน ของแต่ละกลุ่ม แต่ละเพศวิถี เพื่อเป็นการส่งท้าย Pride Month 2021 มาดูกันเถอะว่าเป็นยังไงบ้าง


 

มาดูกันว่า “ธง LGBTQ+ แต่ละธงแทนอะไรบ้าง”

 

  • Rainbow Pride Flag

เริ่มจากธงที่คุ้นตากันดี ธงสีรุ้ง เป็นธงที่ใช้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชุมชน LGBTQ โดยรวม แต่รู้หรือไม่ว่า ก่อนจะมาเป็นธงที่เห็นกันในปัจจุบันนี้ ธงสีรุ้งนี้ เคยมีหน้าตาแบบด้านล่างนี้มาก่อน

เป็นเวอร์ชั่นแรกที่ถูกออกแบบขึ้นในปี 1978 ซึ่งมันก็คือ ธงสีรุ้งเหมือนกันนั่นแหละ แต่มีสีที่แตกต่างออกไปนิดหน่อย โดยแต่ละสี มีความหมายดังนี้

สีชมพู: เพศ , สีแดง: ชีวิต , ส้ม: การรักษา เยียวยา , สีเหลือง: แสงแดด , สีเขียว: ธรรมชาติ , สีเทอร์ควอยซ์: เวทมนตร์ , สีฟ้า: ความสามัคคี ไวโอเล็ต: จิตวิญญาณ

ผู้ออกแบบ Gilbert Baker กล่าวว่า ธงสีรุ้งนี้ มีความหมายถึง ทางเลือกที่เลือกอย่างมีสติรู้ตัว เป็นเรื่องธรรมชาติ และ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ นอกจากนี้ สีรุ้ง ก็ยังเป็นสีที่มีหมายถึง “ความหวัง” มาอย่างยาวนานอีกด้วย

แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป ความต้องการต่อธงสีรุ้งนี้มีมากขึ้น และเพื่อที่จะผลิตได้จำนวนมาก ก็มีการตัดบางสีที่หายากออกไป คือสี ชมพู และ เทอร์ควอยซ์


  • Philadelphia’s People of Color Inclusive Flag

มีการเพิ่มสี ดำ และ น้ำตาล เข้าไปในปี 2017 เพื่อเป็นตัวแทนของ ชาว LGBTQ ที่เป็นคนผิวดำ และผิวน้ำตาล เป็นการสนุบสนุนคนเหล่านั้น ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากมาขึ้นไปกว่าธรรมดา


  • “Progress” Pride Flag

ในปี 2018 นั้นเอง มีการออกแบบใหม่อีกครั้ง โดยมี สีน้ำตาลและสีดำ ของเวอร์ชั่นก่อนหน้า และ เพิ่มสีชมพูและฟ้า ของ คนข้ามเพศ หรือ trans gender เข้าไปด้วย 


  • Bisexual Flag

ไบเซ็กชวล สามารถนิยามได้หลายความหมาย ขึ้นอยู่กับว่าจะถามใครในชุมชน แต่สำหรับหลายๆ คน ไบเซกชวล จะมีความดึงดูดใจต่อทั้งชาย และ หญิง

ในขณะที่บางคน อธิบายว่า เป็นคน ที่มีความดึงดูดใจ กับเพศอื่น ๆ ซึ่งเป็นเพศอะไรก็ได้ แล้วแต่จะระบุ กว่าหนึ่งเพศ ขึ้นไป แต่ไม่ใช่ทุกเพศ

แต่ละสี มีความหมาย แบบนี้ค่ะ

ชมพู (หรือม่วงแดง): แรงดึงดูดของเพศเดียวกัน

สีฟ้า : แรงดึงดูดของเพศตรงข้าม

สีม่วง (ลาเวนเดอร์): เสน่ห์ของทั้งสองเพศ


  • Pansexual Flag

เป็นที่ไม่ชัดเจน ว่าใครเป็นคนสร้างธงนี้ขึ้นมา แต่นับตั้งแต่เริ่มปรากฏบนโลกออนไลน์ ตั้งแต่ปี 2010 แล้วก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของ ความดึงดูดใจ ต่อคนทุกเพศ


  • Polysexual Flag

ต่างจากคนที่เป็น Pansexual คนที่ระบุว่า ตนเองเป็น Polysexual นั้น มักจะชอบคนหลายเพศ แต่ไม่ใช่ทุกเพศ ธงนี้ถูกสร้างขึ้นบน Tumblr ในปี 2012


  • Asexual Flag

Asexual คือบุคคล ที่ไม่มีความฝักใฝ่ทางเพศ ไม่มีความปราถนาต่อเรื่องเพศ กับผู้อื่น แต่พวกเขาก็ยังสามารถ มีความสัมพันธ์แบบโรแมนติกได้นะคะ ไม่เกี่ยวกับการไม่มีแรงดึงดูดเรื่องเพศ

สีดำ: แสดงถึงความเป็น Asexual โดยรวม

สีเทา: เป็นตัวแทน ของ asexuality และ demisexuality (demisexuality หมาายถึงคนที่ คนที่ไม่ความรู้สึกดึงดูดต่อเรื่องทางเพศ ยกเว้นจะมีสายสัมพันธ์ทางอารมณ์ ที่แข็งแกร่งเท่านั้น)

สีขาว: เป็นตัวแทนของ เพศวิถี

สีม่วง: หมายถึง ความเป็น ชุมชน , community


  • Demisexual Flag

Demisexual เป็นหนึ่งใน สเป็กตรัม ของ Asexual จึงมีสีสันของธง ที่คล้ายกับธงของ Asexual แต่จะมีดีไซน์ ที่ต่างออกไป


  • Lesbian Flag

เป็นธงของชาวหญิงรักหญิง

สีส้มเข้ม: เพศไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

ส้มกลาง: อิสรภาพ

สีส้มอ่อนที่สุด: ชุมชน

สีขาว: ความสัมพันธ์ที่ไม่เหมือนใคร ระหว่างผู้หญิง

สีชมพูอ่อนที่สุด: ความสงบและสันติ

ชมพูกลาง: ความรักและเซ็กส์

ชมพูเข้ม: Femininity  หรือ ภาษาไทยก็คือ ความเป็นหญิง


  • Intersex Flag

Intersex เป็น umbrella trem หรือ คำจำกัดความ ที่ให้ความหมายครอบคลุม ถึงบุคคลที่มีร่างกาย หรือ อวัยวะ ที่ไม่ตรงตามการแบ่งเพศ ชาย-หญิง เช่น บางคนมีอวัยวะเพศ ของทั้งสองเพศ หรือบางคนมีการผสมของโครโมโซมเพศ ที่แตกต่างมากกว่านั้น

สีทองหรือเหลือง: เป็นสีที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องราวที่เล่าโดย Mani Mitchell ชาว Intersex คนหนึ่ง ที่ต้องการที่จะ reclaim คำว่า “hermaphrodite” ซึ่งเป็นคำที่เคยถูกใช้ในการดูถูก ให้กลับกลายมาเป็นคำปกติ

วงกลมสีม่วง: วงกลมหมายถึง การไม่ได้บกพร่อง มีความสมบูรณ์ดี และคน intersex มีสิทธิที่จะตัดสินใจอะไรก็ได้ ในร่างกายของพวกเขา


  • Transgender Flag

หมายถึงคนข้ามเพศ ไม่ว่าจะจากชายข้ามมาเป็นหญิง หรือ หญิงข้ามมาเป็นชาย 

สีฟ้า หมายถึง เพศชาย

สีชมพู หมายถึง เพศหญิง

สีขาว หมายถึง ผู้ที่กำลังจะเปลี่ยนผ่าน ไม่มีเพศ หรือ เป็นกลางทางเพศ


  • Genderqueer Flag

Genderqueer คือ บุคคลที่ คิดว่า ไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องทำตัวเป็นไปตาม บรรทัดฐานของสังคม ว่าคนเราควรจะแสดงออกตามเพศกำเนิดของเรา 

ลาเวนเดอร์: แสดงถึง androgyny (ลักษณะการแสดงออก ที่ผสมรวมกัน ระหว่างความเป็นหญิง และ ความเป็นชาย)

สีขาว: แสดงถึง agender (คนที่ไม่ระบุเพศ)

สีเขียว: หมายถึง non-binary


  • Genderfluid Flag

ผู้ที่เป็น Genderfluid จะไม่ระบุว่า ตัวเองเป็นเพศใดเพศหนึ่ง แต่อัตลักษณ์ทางเพศของพวกเขา จะเปลี่ยนไประหว่าง ผู้ชาย ผู้หญิง หรือ เพศอื่น ๆ  ซึ่งความถี่ในการเปลี่ยนแปลง ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล


  • Agender Flag

เป็นคนที่ไม่ระบุ ว่าตนเองเป็นเพศใด 

สีขาว-ดำ: แสดงถึงการไม่มีเพศ

สีเทา: กึ่งไร้เพศ

สีเขียว: Non-Binary (Binary คือเพศที่เป็นเป็น 2 อย่าง คือ ชายและหญิง ดังนั้น Non-Binary คือนอกเหนือจากชายหญิง)


  • Aromantic Flag

หมายถึง คนที่ไม่มีความรู้สึกดึงดูด หรือ ดึงดูดน้อย ในเชิงโรแมนติก กับผู้อื่น


  • Non-Binary Flag

คล้ายกับ genderqueer และ genderfluid คือ Non-Binary จะไม่ระบุเพศของตนเอง

ธงนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 2014 เพื่อคนที่รู้สึกว่า ธง genderqueer ยังไม่ใช่ธงที่เป็นตัวแทนของพวกเขา เพราะคำว่า queer ในภาษาอังกฤษ ยังเป็นคำที่ใช้ต่อต้าน ชุมชน LGBTQ อยู่ แม้จะมีความพยายาม reclaim ความหมายของคำนี้แล้วก็ตาม


  • Polyamory Flag

คนที่ไม่จำกัดจำนวนคู่ครอง ว่าต้องคบทีละคนเท่านั้น

ดังนั้น สัญลักษณ์ pi ที่เมื่อแปลงเป็นเลขทศนิยมแล้ว จะมีเลขยาวต่อไปได้เรื่อย ๆ จึงเป็นตัวแทนที่ดีของ Polyamory


  • Straight Ally Flag

เป็นการผสมผสานระหว่าง แถบสีขาวดำ และ สีรุ้ง ซึ่งแสดงถึงการเป็นพันธมิตรของชุมชน LGBTQ+ คือไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่สนับสนุน ความหลากหลายทางเพศนั่นเอง

 

content credit : seventeen

Comments

comments