Queen Elizabeth II หรือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ราชินีแห่งสหราชอาณาจักร Britain อันยิ่งใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ พระองค์ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1952 หลังจากที่บิดาของพระองค์เสียชีวิต และครองราชย์มานานกว่า 70 ปี จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022 ทำให้พระองค์ถือเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุด ในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในราชวงศ์ ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุกว่า 1,000 ปี
Queen Elizabeth ที่ 2 ราชินีอันเป็นที่รักแห่งสหราชอาณาจักร
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี วินด์เซอร์ ประสูติในเมืองเมย์แฟร์ ลอนดอน เมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1926 เมื่อทรงพระเยาว์ทรงถูกเรียกขานจากคนสนิทว่า “ลิลิเบ็ต” ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์เเรกในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และมีพระขนิษฐาพระองค์เดียวคือเจ้าหญิงมาร์กาเรต ซึ่งมีพระชันษาน้อยกว่าอยู่ 4 พรรษา
มีเพียงไม่กี่คนที่คาดการณ์ว่า เจ้าหญิงเอลิซาเบธ จะกลายเป็นผู้สืบทอดบัลลังก์ แต่ต่อมาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1936 ท่านลุงของพระองค์ หรือสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ได้สละราชบัลลังก์เพื่อไปแต่งงานกับ วอลลิส ซิมป์สัน หญิงชาวอเมริกัน ที่หย่าร้างมาแล้วสองครั้ง ทำให้พระราชบิดาของพระองค์ (สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6) เสด็จขึ้นครองราชย์ ส่งผลให้พระองค์ กลายเป็นรัชทายาทแห่งบัลลังก์ อันดับที่ 1 ด้วยวัยเพียง 10 ปีเท่านั้น
ทรงเป็นสมาชิกหญิงพระองค์เดียวของราชวงศ์ ที่เข้าร่วมกองทัพและรับใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจครั้งแรก เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ในฐานะ “นายทหารยศพันเอก แห่งกองทหารราบรักษาพระองค์” โดยทรงตรวจพลสวนสนาม และยังทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเด็ก และเยาวชนอีกมากมาย หลังจากที่ครบรอบพระชนมายุ 18 พรรษาได้ไม่นาน พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นที่ปรึกษารัฐบาล และได้เริ่มปฏิบัติพระราชกรณียกิจ แห่งองค์รัชทายาทเป็นครั้งแรก
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการทหารนอกประจำการ พระราชกรณียกิจของพระองค์เพิ่มขึ้น รวมทั้งการเสด็จประพาสภายในและนอกประเทศ ในช่วงครบรอบวันประสูติปีที่ 21 พระองค์ได้ทรงแถลงการณ์ออกอากาศ ประกาศเจตนารมณ์ที่จะอุทิศพระองค์ เพื่อภารกิจของประเทศในเครือจักรภพ
ในระหว่างสงคราม พระองค์ได้แลกเปลี่ยนจดหมายกับลูกพี่ลูกน้อง นั่นคือ “ฟิลิป” เจ้าชายแห่งกรีซ (ต่อมาคือเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ) ซึ่งกำลังรับใช้อยู่ในกองทัพเรือ ความรักของทั้งสองพระองค์เบ่งบาน และอภิเษกกันในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ทรงได้รับของขวัญวันอภิเษกสมรส จำนวน 2500 ชิ้น จากทั่วทุกมุมโลก และทรงมีรัชทายาทรวม 4 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าหญิงแอนน์ เจ้าชายแอนดรูว์ และเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด
จากพระธิดาองค์โตในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 สู่การเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ แห่งสหราชอาณาจักรอย่างไม่คาดฝัน หลังจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชบิดาสวรรคต ในคืนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 ในฐานะเจ้าหญิงเอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี แห่งยอร์ก จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ ด้วยพระชนมายุเพียง 25 พรรษา
แต่ก็เป็นเวลาอีก 16 เดือน กว่าจะถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระองค์ ซึ่งพระราชพิธีได้จัดขึ้นที่ มหาวิหารเวสมินสเตอร์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1953 และเป็นครั้งแรกที่พระราชพิธีนี้ ได้ถ่ายทอดไปทั่วโลก พระองค์ทรงเป็นประมุขเครือจักรภพ ได้แก่ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ ปากีสถาน และซีลอน
ทำไมคนทั่วโลกถึงเศร้าใจ กับการจากไปของผู้หญิงที่พวกเขาไม่เคยพบ?
ย้อนไปเมื่อครั้งสหราชอาณาจักร เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง ดำเนินตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939-1946 ในระยะเวลานี้เอง กรุงลอนดอนถูกทิ้งระเบิดทางอากาศอย่างหนัก มีคำแนะนำจากนักการเมืองอาวุโส ให้พระองค์อพยพไปยังแคนาดา แต่สมเด็จพระราชินี ทรงปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว และทรงประกาศว่า “เด็ก ๆ จะไม่เสด็จไปโดยปราศจากข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่เสด็จไปโดยปราศจากพระเจ้าอยู่หัว และพระเจ้าอยู่หัวจะไม่เสด็จไปไหนทั้งนั้น”
เจ้าหญิงทั้งสองพระองค์ ทรงแสดงละครใบ้ในงานคริสต์มาส เพื่อช่วยหาเงินเข้ากองทุนขนแกะ ของสมเด็จพระราชินี ซึ่งใช้ในการจัดหาเส้นด้ายในการทอเสื้อผ้าทหาร พยายามทุกวิถีทางในการช่วยเหลือเหล่าลูกเรือ, ทหาร และนักบินผู้กล้าหาญ และพยายามแบกรับเอาความเศร้าโศก และอันตรายที่มีร่วมกันไว้ด้วยเช่นกัน
ข้าพเจ้าขอปฏิญาณต่อหน้าพวกท่านทุกคนว่า ตลอดชีวิตของข้าพเจ้า ไม่ว่าจะยาวหรือจะสั้น จะมีไว้เพื่อรับใช้ท่าน และเพื่อรับใช้ครอบครัวใหญ่ของพวกเรา ที่พวกเราทุกคนอาศัยอยู่
พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยพระปรีชาสามารถ ในด้านการเมืองการปกครองอย่างมาก ทรงปฏิรูประบอบราชาธิปไตย ในยุคที่ยังไม่ได้รับการยอมรับนัก รัชกาลของพระองค์ครอบคลุมนายกรัฐมนตรีถึง 15 คน และทรงจัดประชุมกับนายกรัฐมนตรีทุกสัปดาห์ ตลอดรัชสมัยของพระองค์
พระองค์รับใช้ประชาชนอย่างสุดความสามารถ แม้ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน จากจักรวรรดิสู่เครือจักรภพ ช่วงการสิ้นสุดของสงครามเย็น และการเข้าสู่ช่วงถอนตัวจากสหภาพยุโรป ของสหราชอาณาจักร แต่ความมุ่งมั่นของพระองค์ ที่มีต่อเครือจักรภพนั้นยังคงคงที่ พระองค์ทรงไปเยือนทุกประเทศในเครือจักรภพ อย่างน้อยหนึ่งครั้ง และสามารถรวมใจคนในสหราชอณาจักร ให้เป็นปึกแผ่นเดียวกันได้ ช่วยนำพาสถาบันกษัตริย์อังกฤษ ให้ผ่านพ้นเรื่องราวต่าง ๆ ไปได้อย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน
นายกฯ เชอร์ชิลล์เคยกล่าวไว้ว่า “นับว่าเป็นยุคที่อังกฤษ มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก จนเป็นที่จารึกในประวัติศาสตร์”
พระราชินีที่ไม่ถือตัวที่สุด!
รัชสมัยอันยาวนานของควีนอลิซาเบธที่ 2 อันเต็มไปด้วยความมุ่งมั่น ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากมาย พระองค์อุทิศชีวิตให้กับประชาชนของพระองค์ แต่พระองค์ยังคงเป็นพระราชินีทรงมีอารมณ์ขัน ทรงไม่ถือตัว เดินเล่นพบปะประชาชน ด้วยการเสด็จเยือนของราชวงศ์ และการเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะมากมาย
ร่วมถึงการอนุญาตให้ทาง สำนักพระราชวังอังกฤษ นำเสนอเรื่องราวหรือภาพลักษณ์ ของเหล่าราชวงศ์ ให้ดูมีความเป็นทางการน้อยลง ผ่อนคลายและเป็นกันเองมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึง สถาบันกษัตริย์ได้มากขึ้น ทรงให้ใช้คำว่า “ราชวงศ์” แทนคำว่า “สถาบันกษัตริย์” เพื่อลบภาพจำที่ว่าสถาบันกษัตริย์ เป็นสิ่งสูงส่งจนเข้าถึงไม่ได้
ทรงรักพสกนิกรของท่านเป็นอย่างมาก พระองค์รู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตน ซาบซึ้ง และขอบพระทัยประชาชนจำนวนมาก ที่ร่วมเฉลิมฉลองในการครองสิริราชสมบัติ ของพระองค์ทุกครั้ง และยังคงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ ปรับโฉมสถาบันกษัตริย์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ จนประชาชนต่างขนานนามว่า พระองค์ทรงเป็น “พระราชมารดา และ สมเด็จย่าแห่งชาติ”
หลังจากที่พระองค์ ทรงงดปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เนื่องด้วยปัญหาการเคลื่อนไหวพระวรกาย ภารกิจสุดท้ายที่ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้เผยแพร่ผ่านทางสำนักพระราชวัง คือ การให้นายกรัฐมนตรี ลิซ ทรัสส์ เข้าเฝ้าที่ปราสาทบัลมอรัล สกอตแลนด์ เพื่อแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ
หากจะยกย่องว่า พระองค์ทรงเป็น พระราชินีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของศตวรรษนี้ ก็คงจะไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้
source: bbc.com, bbc.com, YouTube
Stay connected