“ความกลัว” เป็นส่วนสำคัญของประสบการณ์ของมนุษย์ สมองของเรามีกลไกการเกิดอารมณ์กลัว เพื่อเตือนเราว่าเราอาจตกอยู่ในอันตราย แล้วจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเรารู้สึกกลัว? สมองของเราใช้ขั้นตอนใดเพื่อให้เราปลอดภัย และเราจะตอบสนองอย่างไร วันนี้ Clubsister จึงอยากชวนมารู้จัก การตอบสนองต่อความกลัว ทั้ง 4 กัน

 

มารู้จัก การตอบสนองต่อความกลัว ทั้ง 4

ต่อสู้ ! หนี ! หยุดนิ่ง ! และอ้อนวอน

 

ความกลัวและสมอง

ประสบการณ์ความกลัวของมนุษย์ เริ่มต้นขึ้นใน “อะมิกดาลา (Amygdala)” ซึ่งเป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของสมอง มีรูปร่างคล้ายเม็ดอัลมอนด์ อยู่ในสมองส่วนกลาง มีหน้าที่ประมวลผลในอารมณ์ต่าง ๆ ของเรา โดยเฉพาะอารมณ์ในแง่ลบ เมื่ออะมิกดาลาถูกกระตุ้น เนื่องจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น มันจะกระตุ้นการตอบสนองด้วย “ความกลัว” สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อเราตกอยู่ในอันตรายจริง ๆ เมื่อเราเชื่อว่าเราตกอยู่ในอันตราย เมื่อเราสัมผัสกับสิ่งเร้าที่ “น่ากลัว” (เช่น หนังสยองขวัญ เป็นต้น)

ในขณะที่อมิกดาลาประมวลผลทางอารมณ์ กลีบสมองส่วนหน้า และเปลือกสมองส่วนหน้าจะควบคุมสิ่งต่าง ๆ เช่น ภาษาและการควบคุมแรงกระตุ้น เมื่อเราประสบกับความกลัว สมองของเราจะส่งพลังงานใหม่ไปยังอะมิกดาลา ทำให้การประมวลผลในส่วนอื่น ๆ ช้าลง ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องยากที่จะพูดหรือตัดสินใจอย่างมีเหตุผล เมื่อเราเกิดความกลัว ก่อให้เกิดพฤติกรรมประกอบกับความกลัวตามมา

 

การตอบสนองความกลัว

เมื่อเราประสบกับความกลัว การทำงานของอะมิกดะลา จะทำให้สมองของเราจะตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ว่าจะทำอะไรต่อไป เป้าหมายของสมองของเรา คือ การตัดสินใจที่จะทำให้เราปลอดภัย ทางเลือกที่จะพาเราออกจากอันตรายได้ โดยให้มีอันตรายน้อยที่สุด เมื่อใครบางคนเคยบาดเจ็บ สมองของพวกเขามีแนวโน้ม ที่จะเปิดใช้งานการตอบสนองนี้ เพื่อคาดการณ์ถึงอันตรายที่จะเกิดในอนาคต โดยการตอบสนองนี้สามารถอธิบายได้ 4 แบบ

 

  • ต่อสู้ (Fight)

Rajneesh ผู้ลึกลับกล่าวว่า “ความโกรธคือความกลัวที่ซ่อนเร้น” และมันสรุปการตอบสนองต่อความกลัวด้วยการต่อสู้ได้ เมื่อสมองรับรู้ถึงอันตราย สมองอาจเลือกที่จะพยายามต่อสู้กับภัยคุกคามนั้น สิ่งนี้สามารถแสดงออกเป็นการทะเลาะวิวาท ทางกายหรือทางวาจาก็ได้ และมันมักจะมาพร้อมกับความรู้สึกโกรธอย่างรุนแรง

เมื่อเราพบกับการตอบสนอง ในการต่อสู้ต่อความกลัว สมองของเราจะพยายามปัดเป่าอันตราย ด้วยการเอาชนะมัน! หากอันตรายนั้นมีอยู่จริง และสามารถเอาชนะได้ด้วยพละกำลัง นี่อาจเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ในการปกป้องเรา แต่เมื่ออันตรายที่มองเห็นนั้น ไม่ใช่ภัยคุกคามจริง ๆ สิ่งนี้อาจทำให้เรามีปัญหาตามมาได้

 

  • หนี (Flight)

หากสมองของเราไม่รู้สึกว่า สามารถต่อสู้กับอันตรายได้สำเร็จ สมองอาจตัดสินใจพยายามหลบหนี ทำให้เกิดการตอบสนองโดยการหนี โดยพื้นฐานแล้วการตอบสนองแบบนี้ เกี่ยวข้องกับการพยายามหลีกหนี จากสถานการณ์อันตรายโดยเร็วที่สุด หากอันตรายเป็นสิ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การตอบสนองด้วยการหนี! จะเป็นวิธีที่ผู้ที่ไวต่อปฏิกิริยาทางอารมณ์สูง มักมีแนวโน้มที่จะตอบสนองแบบสู้หรือหนีนั่นเอง

 

  • หยุดนิ่ง (Freeze)

การตอบสนองความกลัวอีกอย่าง คือการหยุดนิ่ง หรือพยายามที่จะนิ่งเงียบ จนกว่าอันตรายจะผ่านพ้นไป เช่น บางคนที่มีความวิตกกังวลและกลัว ในการเข้าสังคมขั้นรุนแรง อาจมีอาการเป็นใบ้ พบว่าตนเองไม่สามารถพูด ในสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวลได้ นี่คือตัวอย่างการตอบสนองต่อความกลัว แบบหยุดชะงัก! เส้นเสียงของพวกเขากลายเป็นอัมพาต เนื่องจากความกลัว และพวกเขาไม่สามารถพูดได้ จนกว่าความวิตกกังวลจะผ่านพ้นไป

ทฤษฎีวิวัฒนาการเสนอว่า การตอบสนองด้วยการหยุดชะงัก อาจเป็นความพยายามของสมอง ในการหลีกเลี่ยงการตรวจจับโดยผู้ล่า โดยยึดการนิ่งเป็นหลัก จนกว่าภัยคุกคามนั้นจะหายไป การตอบสนองของความกลัว จะปิดกั้นความสามารถในการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้บุคคลนั้นรู้สึกตัวแข็ง หรือติดอยู่จนกว่าความกลัวจะหายไป

 

  • อ้อนวอน (Fawn)

“การอ้อนวอน” เป็นการตอบสนองต่อความกลัว โดยสมองตัดสินใจที่จะลองและเอาใจใครก็ตาม ที่กระตุ้นให้เกิดความกลัวนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย การตอบสนองนี้พบได้ทั่วไป ในผู้รอดชีวิตจากการบาดเจ็บ ซึ่งอาจพยายามหลีกเลี่ยง การถูกทารุณกรรม โดยทำให้ผู้ทำร้ายมีความสุขมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนี้ ยังสามารถแสดงให้เห็นว่าเป็นการปฏิบัติตาม เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกทำร้ายเพิ่ม

หากมีคนยอมทำตามผู้รุกราน เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกทำร้ายทางกาย แสดงว่าพวกเขาไม่ยินยอมให้ล่วงละเมิด สมองของพวกเขา พยายามทำให้พวกเขาปลอดภัยที่สุด จากสถานการณ์อันเลวร้ายที่กำลังเผชิญ

 

เราสามารถเปลี่ยน การตอบสนองความกลัว ได้หรือไม่ ?

เนื่องจากการตอบสนองแบบ ต่อสู้ หนี หยุดนิ่ง และอ้อนวอน เป็นการตอบสนองอย่างรวดเร็ว เราจึงมักไม่ตัดสินใจอย่างจริงจัง ว่าการตอบสนองแบบไหนมีประสิทธิภาพ หรือเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ต่าง ๆ เพราะกระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อเราตกอยู่ในอันตราย มักจะไม่มีเวลามานั่งชั่งน้ำหนัก ให้กับทางเลือกที่ดีที่สุดของเรา

สมองของเราจะสั่งการอย่างรวดเร็ว เมื่ออะมิกดาลาถูกกระตุ้น ซึ่งหมายความว่าเรามักไม่ได้เลือกวิธีที่ดีที่สุด นั้นจึงเป็นเรื่องน่าเสียดาย ยกตัวอย่างเช่น คน ๆ หนึ่งอาจตวาดใส่คนรักอย่างรุนแรง เพราะเป็นการตอบโต้แบบทันที เมื่อรู้สึกวิตกกังวลหรือกลัว ซึ่งอาจทำลายความสัมพันธ์ได้เพียงชั่วพริบตา ฉะนั้นหากคุณตอบสนองต่อความกลัว ด้วยความรุนแรงกว่าที่สถานการณ์บ่อยครั้ง คงไม่ดีแน่

ดังนั้น การใส่ใจในอารมณ์ของเรา ค่อยสังเกตอารมณ์ตัวเอง สามารถช่วยให้เราสังเกตเห็น การตอบสนองต่อความกลัวของเราได้ เมื่อเราสังเกตเห็นว่า เรากำลังตอบสนองในลักษณะนี้ เราจะสามารถลองและเลือกทางเลือกอื่นได้ การวิจัยแสดงให้เห็นว่า เราสามารถฝึกฝนตนเองให้ตอบสนองต่อความกลัวในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เนื่องจากความกลัวเป็นวิธีหนึ่ง ที่สมองของเราช่วยให้เราปลอดภัย เราต้องการให้สมองของเรา รับรู้อย่างแม่นยำว่า มีบางสิ่งที่เป็นภัยคุกคามหรือไม่ และตัดสินใจเลือกตอบสนองในสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อให้เราปลอดภัย

ความกลัว เป็นสัญลักษณ์แห่งการมีชีวิต

 ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ หนี หยุดนิ่ง หรืออ้อนวอน ล้วนเป็นวิธีที่สมองของเรา ช่วยให้เราปลอดภัย ในสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตราย การทำความเข้าใจกลไก ที่อยู่เบื้องหลังการตอบสนองเหล่านี้ สามารถช่วยให้เรารับรู้ และควบคุมอารมณ์ของเราด้วยวิธีที่เหมาะสม และดีต่อสุขภาพได้

 

 

 

source: verywellmind

Comments

comments