สวัสดีค่าสาวๆ ชาวซิสที่น่ารักทุกคน ช่วงนี้กระแสความเท่าเทียมต่างๆ เริ่มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องทั้งไทยและต่างประเทศ ยกตัวอย่างรณรงค์ความเท่าเทียมของคนเอเชีย, คนผิวสี, LGBTQ และที่เห็นมีการพูดอยู่เรื่อยๆ คือความเป็น Feminst หรือ Femenism เรียกง่ายๆ ว่าความเท่าเทียมทางเพศ ด้วยเหตุนี้ Clubsister จึงขอเอาใจและร่วมรณรงค์กับเขาเสียหน่อยกับ “5 หนัง Femenist ประกาศความเท่าเทียมแบบเพื่อนหญิง พลังหญิง” บอกเลยว่าแต่ละเรื่องปลุกใจพลังหญิงทุกคน และสะท้อนให้เห็นความเท่าเทียมอย่างแน่นอน อย่ารอช้าไปเริ่มที่เรื่องแรกกันเลย
“5 หนัง Femenist ประกาศความเท่าเทียมแบบเพื่อนหญิง พลังหญิง”
เรื่องที่ 1: The Other Women
ประเภทของหนัง: Romantic, Comedy
สามารถรับชมได้ที่: NETFLIX (คลิกเพื่อรับชม)
คะแนนที่ได้จาก IMDb: 6.0 / 10
หนัง Feminst เรื่องแรก เราขอหยิบยกเรื่องใกล้ตัว ที่ไม่ว่าใครๆ ก็อาจพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์โดยตรง หรือได้ยินคำบอกเล่าจากปากเพื่อนหรือคนรู้จักของเราเอง นั่นก็คือ “การยินยอมเป็นของตาย เพื่อทนให้เขานอกใจ” อ่า … สาวๆ หลายคนอาจจะคุ้นและเคยได้ยินเรื่องราวประเภทนี้มาบ้าง แต่ทว่าหากมาดูหนังเรื่องจะสะท้อนให้เห็นว่า “ผู้หญิงทุกคนมีค่า และควรได้รับความรักและความสุขจากคนที่เห็นค่าในตัวเธอ” กับ The Other Women
เรื่องราวของ ‘คาลี่’ ทนายความสาวผู้มากความสามารถเรียกได้ว่าเพอร์เฟ็คทุกกระเบียดนิ้ว เธอมีหน้าที่การงานที่ดี, ฐานะดี, สวย และที่สำคัญมีแฟนที่หล่อและรวยมาก ในวันหนึ่งที่เธอนัดทานข้าวกับพ่อของเธอเพื่อที่จะพาแฟนหนุ่มคนสำคัญของเธออย่าง ‘มาร์ก’ ไปพบพ่อเธอครั้งแรกนั้น
มาร์กกลับขอกเลิกนัดกระทันหัน เพราะว่าท่อน้ำที่บ้านเสียและแม่บ้านดูแลไม่ได้ เขาเลยต้องจัดการซ่อมมันด้วยตนเอง (บางทีก็ฟังดูเหตุผลงี่เง่าสิ้นดี)
ด้วยเหตุนี้ทำให้เธอกะว่าจะไปเซอร์ไพร์สแฟนหนุ่มของเธอ ด้วยการใส่ชุดคอสเพลย์เป็นช่างประปาไปกดกริ๊งหน้าบ้าน แต่ทว่าคนที่ออกมารับกลับเป็นผู้หญิงคนหนึ่งชื่อว่า ‘เคธ’ เขาบอกกับเธอว่า “เขาคือภรรยาของมาร์ก” และนี่คือจุดเริ่มต้นของการรวมหัวกันแก้แค้นผู้ชายเห็นแก่ตัวให้สาแก่ใจ
สิ่งที่ชอบมากๆ สำหรับหนัง Feminst เรื่องนี้เลยคือ การขยี้ Insight ของผู้หญิงที่บางครั้งเราถูกนอกใจ เรารู้ว่าเขาโกหก แต่เราต้องยอมทำเป็นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพียงเพราะว่า “เรารักเขา” แต่สำหรับเรื่องนี้ เป็นการสะท้อนพร้อมตอกบ้ำให้รู้ว่า “เราควรอยู่กับคนที่ให้คุณค่าและเห็นคุณค่าในตัวเรา”
โดยหนังเรื่องนี้ทำออกมาในรูปแบบ Romantic Comedy ที่ไม่ดึงดราม่าจนเรารู้สึกน้ำเน่า แต่เพิ่มและเสริมมุกตลก ความน่ารักต่างๆ ของมิตรภาพระหว่างเพื่อนหญิงด้วยกันเองเข้าไป แต่ก็ไม่ทิ้งแก่นและความหมายของเรื่องที่จะสื่อ
เรื่องที่ 2: Hidden Figures
ประเภทของหนัง: Biography, Drama
สามารถรับชมได้ที่: NETFLIX (คลิกเพื่อรับชม)
คะแนนที่ได้จาก IMDb: 7.8 / 10
และหนัง Feminist เรื่องต่อไปที่อยากจะหยิบยกขึ้นมานั้น ไม่ใช่สะท้อนแค่ความเท่าเทียมทางเพศ และ สะท้อนให้เห็นความทางเทียวของเรื่องสีผิวและชนชาติไปในตัว เป็นหนังที่สร้างมาจากเรื่องจริงขององกรณ์นาซ่าในปี 60’s ซึ่งเป็นยุดสงครามเย็น ไม่เพียงแค่นั้นหนังเรื่องนี้ยังถือเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ 3 สาขาในปี 2017 ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นสาขา Best Picture หรือภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปีอีกด้วย และจะเป็นเรื่องอะไรไปไม่ได้นอกจาก “Hidden Figures”
พูดถึงเรื่องราวของบุคลากรในองกรณ์น่าซ่าในปี 60’s ยุคการแข่งขันทางอวกาศระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “แคธเธอรีน” หนึ่งในนักคณิตศาสตร์มากความสามารถ เธอถูกเรียกตัวไปช่วยคำนวณการปล่อยตัวของนักบินอวกาศ แต่ทว่าเธอไม่เป็นที่รักและเข้ากับทีมไม่ได้เพียงเพราะเธอเป็นหญิงผิวดำ “โดโรธี” หัวหน้าทีมของนักคณิตศาสตร์ผิวสี ที่ความสามารถดีพร้อมทุกอย่าง แต่ทว่าเธอไม่เคยได้รับการเลื่อนตำแหน่ง หรือได้ Offer ใดๆ อีกทั้ง เธอกำลังประสบปัญหากับการที่ระบบคอมพิวเตอร์ของ IMB กำลังจะแทนที่เธอ
ดังนั้นสิ่งที่เธอทำคือการศึกษาระบบของมัน เพื่อเปลี่ยนจากการแทนที่เป็นการช่วยให้เธอทำงานได้่ง่ายขึ้น และ “แมรี่” หญิงสาวผู้มีความใฝ่ฝันและสติปัญญาดีเลิศ เธอฝันว่าอยากเป็นวิศกรที่เข้าทำงานในนาซ่า แต่ทว่าเธอถูกกฏและช่องโหว่ของกรอบบางอย่าง ทำให้เธอไม่สามารถเข้ารับการคัดเลือกทำงานได้ เธอจึงใช้ความพยายามและเรียกร้องสิทธิของเธอ ภายใต้กฏเกณฑ์และความสามารถที่เธอมี เพื่อให้ได้คัดเลือกและเดินตามความฝันของเธอ
บอกเลยว่าเป็นหนัง Feminist ที่ให้ความรู้สึก Feel Good และตอนจบของหนังนั้น ทำให้เราแทบจะลุกขึ้นยืน พร้อมกับปรบมือและพูดดังๆ ว่า Bravo! สิ่งที่หนังถ่ายทอดและสะท้อนให้เห็นนั้น ไม่ใช่แค่ความเท่าเทียมทางเพศอย่างผู้หญิง แต่เป็นการที่คนๆ นึงถูกริดรอนสิทธิและถูกละเลย อีกทั้งเอาเปรียบจากความต่างบางอย่าง
โดยสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่ามันทำร้ายจิตใจเลยคือ ฉากที่แคธารีนต้องเข้าห้องน้ำ ซึ่ง ณ ขณะนั้นห้องน้ำยังแบ่งคนผิวขาว และคนผิวดำ มิหนำซ้ำ ห้องน้ำของคนผิวดำ ยังอยู่คนละอาคารซึ่งเรียกได้ว่าห่างและไกลมากทีเดียว เธอต้องใช้ชีวิตแบบนี้แทบจะทุกวัน แต่จนวันหนึ่งฝนตกหนัก เธอก็ต้องตากฝนไปที่นั่น จนทำให้กลับมาทำงานสายและโดนหัวหน้าด่า เป็นอีกฉาก Speech ที่เรียกได้ว่าเหมือนปลดปล่อยความอัดอั้น และการแสดงความไม่เท่าเทียมให้คนอื่นเห็นว่า “การที่เธอใช้ชีวิตอยู่ในสังคมแบบนี้ เธอต้องถูกริดรอนสิทธิ แม้กระทั่งเรื่องง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ควรจะได้รับในชีวิต”
เรื่องที่ 3: Little Women
ประเภทของหนัง: Coming of Age, Drama, Romantic
สามารถรับชมได้ที่: NETFLIX (คลิกเพื่อรับชม)
คะแนนที่ได้จาก IMDb: 7.8 / 10
เอาละเราเชื่อว่าถ้าใครพอรู้จัก Concept หนัง Feminist ได้นั้น จะต้องพอคิดออกว่า หนังเรื่องนี้จะต้องติดในลิสต์เป็นแน่ ซึ่งหนังเรื่องนี้เป็นหนังรางวัล (อีกแล้ว) จากออสการ์และลูกโลกทองคำปี 2020 ได้เสนอชื่อเข้าชิงในสาขาต่างๆ มากมาย แต่ทว่าชนะบนราวัลออสการ์ในสาขาเครื่องแต่งการยอดเยี่ยม แต่บอกเลยว่ายอมรับเรื่องนี้จริงๆ เพราะ Custome ของเรื่องทำออกมาแบบประณีตทุกกระเบียดนิ้วเลยก็ว่าได้
โดยเรื่องนี้คือ “Little Women” เรื่องราวของ 4 พี่น้องตระกูล มาร์ช ซึ่งประกอบด้วยโจ, เม็ก, เอมมี่ และ เบธ เธอเป็นลูกสาวแสนสาวของบ้านมาร์ชซึ่งอยู่ในปี 18 ซึ่งเป็นยุคขบถชายเป็นใหญ่
และวัดค่าความสำเร็จของผู้หญิงด้วยการหาสามีที่รวยและมีชื่อเสียง
แต่ทว่าทั้ง 4 คนมีความฝัน โจ พี่คนโตเธอมีความฝันของเป็นนักเขียน รักและชื่นชอบในการอ่านนิยายและหนังสือเป็นชีวิตจิตใจ, เม็ก น้องสาวคนที่สอง เธอชื่นชอบในการขับร้องและการแสดง, เอมมี่ เธอมีความสามารถและรักในงานศิลปะ และเบธ น้องสาวคนสุดท้อง ที่ติดพี่สาวแจ สิ่งที่เธอต้องทำคือการเลือกทำตามความฝันของตน โดยออกจากกรอบของขนบธรรมเนียม หรือ เลือกทำตามค่านิยมที่สังคมขีดไว้กับเธอ
บอกเลยว่าหนังเรื่องนี้ควรค่าแก่การดูเป็นที่สุด มันไม่ได้สะท้อนแค่ความเป็นหนัง Feminst เพียงอย่างเดียว แต่ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของ Coming-of-Age หรือการก้าวพ้นวัย อีกทั้งสะท้อนให้เห็นความรักและความอบอุ่นในครอบครัวที่เราสามารถสัมผัสได้จากความรักที่ 4 พี่น้องมีให้กัน สิ่งที่ชอบในตัวหนังเรื่องนี้เลยคงหนีไม่พ้น ความ Period ที่มันทำให้เรารู้ว่า เรื่องความเท่าเทียมและการตีกรอบของสังคม มันเป็นมาและถูก Genalize ว่าเป็นเรื่องปกติกันมาอย่างยาวนาน จนบางครั้งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นเหมือนกรอบหนาๆ ที่กันความฝันและการเป็นตัวของตนเองกับเด็กรุ่นใหม่ไปโดยปริยาย
เรื่องที่ 4: Roma
ประเภทของหนัง: Drama
สามารถรับชมได้ที่: NETFLIX (คลิกเพื่อรับชม)
คะแนนที่ได้จาก IMDb: 7.7 / 10
ต่อมาเป็นหนังรางวัล (อีกแล้วจ้า) เช่นเคย แหะๆ แต่การันตีความตี ความเยี่ยม เรียกได้ว่าเป็นหนังที่ควรค่าแก่การดู และเสพศิลป์ขององค์รวมและความงามของภาพยนตร์ได้ทั้งหมดจากเรื่องนี้ (อวยมาขนาดนี้ต้องดูแล้วไหมละ?) เรื่องนี้เคยถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์, ลูกโลกทองคำ และคานส์ (อื่นๆ อีกเพียบ) และนี่คือ “Roma”
เรื่องราวการใช้ชีวิตของผู้หญิงตัวเล็ก ที่แบกรับความรู้สึกมากมายเอาไว้ในจิตใจ ภายใต้กฏเกณ์ของสังคม, ระบอบทางการเมือง และความวุ่นวายจากสงคราม ณ ประเทศเม็กซิโก ‘เคลโอ’ สาวใช้ในครอบครัวของคุณหมอที่มีฐานะเป็นคนชนชั้นปานกลาง ที่ต้องดูแลลูกๆ ของเจ้าบ้านและดูแลเรื่องความเป็นอยู่ ระเบียบเรียบร้อยภายในบ้าน เธอต้องใช้ชีวิตพร้อมรับชะตากรรมร่วมกับ ‘โซเฟีย’ ภรรยาสาวของคุณหมอที่เธอถูกนอกใจ ทั้งสองคนต้องดูแลเลี้ยงดูลูกๆ และคนแก่ภายในบ้าน โดยไร้ซึ่งความเห็นใจจากผู้ที่เป็นสามี
ความละมุนภายใต้เนื้อหาที่ค่อนข้างหนังของหนัง Feminst เรื่องนี้ บอกได้เลยว่า “คุ้มค่าทุกวินาทีที่เปิดดู” หากสาวๆ คนไหนเป็นคอเสพย์งานศิลป์ ความละมุนของภาพ เทคนิคต่างๆ ของหนัง รวมถึงองค์ประกอบของเสียง บอกเลยว่า มีอยู่ทั้งหมดในเรื่องนี้เหมือนรวมเอาความดีงามในทุกแง่มาใส่เอาไว้ในที่เดียว ถึงแม้ตัวหนังจะเป็นขาวดำ แต่บอกเลยว่าความละมุนของภาพไม่ได้หายไปเลยเสียด้วยซ้ำ
สิ่งที่ทำให้เราฉุกคิดขึ้นมาจากการดูหนังเรื่องนี้ คงหนีไม่พ้น การที่สตรีเพศถูกมองว่าด้อยและต้อยต่ำกว่าผู้ชายที่ออกไปทำงานนอกบ้านหรือออกไปทำสงคราม ด้วยกฏเกณฑ์และวัฒนธรรมใดๆ ทำให้ค่านิยิมและสิทธิของผู้หญิงเป็นแบบนี้เสมอ แต่หนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นถึงอิสรภาพชน การมอบความรักที่ไร้กรอบทางด้านอื่นๆ ไม่มีเรื่องฐานะ, ไม่มีชนชาติ และไม่มีเรื่องเพศ “ทุกคนล้วนเป็นคน ที่เท่ากัน”
เรื่องที่ 5: Moxie
ประเภทของหนัง: Coming-of-Age, Drama, Music, and Comedy
สามารถรับชมได้ที่: NETFLIX (คลิกเพื่อรับชม)
คะแนนที่ได้จาก IMDb: 6.7 / 10
และหนัง Feminst เรื่องสุดท้าย เราขอหยิบยกหนังจาก Original NETFLIX ที่น่าสนใจอีกเรื่อง เพราะไม่ได้หยิบเอาความเท่าเทียมในเรื่องเพศมาอย่างเดียว แต่สะท้อนให้เห็นการเรียกร้องสิทธิ และ อภิสิทธิ์ที่มากจนเกินความพอดี โดยเรื่องราวพูดถึง วิเวียนเด็กสาวคนหนึ่งวัยมัธยม ที่ใช้ชีวิตในวัยที่กำลังจะเติบโตสู่รั้วมหาวิทยาลัย เธออยู่ในโรงเรียนที่ล้วนมองเรื่องการถูกคุกคามและริดรอนสิทธิของเพื่อนผู้หญิงเป็นเรื่องปกติ
จนในวันหนึ่งเพื่อนผิวสีของเธอ ลูซี่ เพื่อนใหม่ที่เข้าโรงเรียน ถูกคุกคาม กลั่นแกล้ง จนทำให้เธอออกมาเรียกร้องสิทธิเพื่อตนเอง และนั่นทำให้วิเวียนพิจารณาว่า “เธอจะไม่เพิกเฉยต่อการถูกริดรอนและสังคมที่เต็มไปด้วยปิตาธิปไตย” ดังนั้นเธอจึงทำหนังสือวารสาร ที่เรียกว่า MOXIE แจกจ่ายให้กับคนในโรงเรียนแบบลับๆ เพื่อป่าวประกาศถึงความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น จนทำให้เกิดความวุ่นวายต่างๆ ตามมา
สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกสนใจในหนัง Feminst เรื่องนี้ คงหนีไม่พ้นการถ่ายทอดทัศนคติของกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ (ซึ่งเห็นได้ชัดในปัจจุบัน) บ่อยครั้งที่ผู้ใหญ่เรารับรู้ถึงความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นแต่กลับนิ่งเฉย และมองว่ามันเป็นเรื่องปกติ
แต่ทว่าเด็กสมัยใหม่รับรู้ได้ถึงความไม่เท่าเทียม แต่ทว่าในการแสดงออกบางครั้ง มันต่างออกไป เด็กบางคนแสดงออกด้วยความสันติหรือใช้หลักสันติวิธีเข้ามา แต่ทว่าจะมีบางประเภทที่เรียกร้องสิทธิที่มากจนเกินงาม และนี่ทำให้เราเห็นว่า นอกจากเรื่องความเท่าเทียมทางสังคมแล้ว เราควรคำนึงถึงความเหมาะสมและประโยชน์ ผลกระทบที่มีต่อโดยรวมด้วยเช่นกัน
Photo Credit:
Stay connected