สวัสดีค่าสาวชาวซิสที่น่ารักทุกคน ช่วงนี้นอกจากติดเกมและอนิเมะแล้ว เรายังติดฟัง Podcast ด้วย (ติดอะไรหลายอย่าง) จนได้ไปฟัง Podcast นึงที่พูดถึงความสมบูรณ์แบบ และความเป็น Perfectionist แต่ทว่ามันน่าสนใจตรงที่ ความเป๊ะมากไปนี่แหละ ทำให้อันน่าอึดอัด ด้วยเหตุนี้ทำให้เราสนใจอยากนำสิ่งนี้มาบอกเล่าให้เหล่า Clubsister ได้รู้กันกับ เป็นคนเป๊ะไปก็ใช่ว่าจะดี! ลองดู 10 ข้อ Checklist “Toxic Perfectionism” มาลองดูกัน ว่าเราเป็นกลุ่มคนแบบนี้หรือไม่ งั้นอย่ารอช้าไปเริ่มกันเลยค่ะ 

 

10 ข้อ Checklist “Toxic Perfectionism” มาลองดูกัน

 

ก่อนที่เราจะไปเริ่ม Checklist “Toxic Perfectionism” กันนั้น เรามาทำความรู้จักกับที่มาของความเป็น Perfectionist และ ทำไมการที่เป็นคนรักความสมบูรณ์แบบนั้น ถึงได้ Toxic หรือเป็นพิษด้วยล่ะ เริ่มจาก Perfectionist หลายคนอาจจะเคยได้ยินและรู้ว่าการเป็น Perfectionist นั้นคือ ความสมบูรณ์แบบ

โดยย้อนกลับไปเมื่อปี 1950 นั้นมีนักจิตวิทยาหลายต่อหลายคน บัญญัติและวิเคราะห์ที่มาที่ไป รวมถึงพฤติกรรม ความคิด ทัศนคติของกลุ่มคน Perfectionst ว่าเป็นกลุ่มคนที่มีสภาวะทางด้านประสาท (ไม่ได้หมายถึงเป็นโรคทางประสาทวิทยานะคะ) โดยกลุ่มคนพวกนี้ มีความคิด ทัศนคติ และวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการใช้ชีวิตมีความกดดัน ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งภายในและภายนอก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งพ้นทำให้เกิดความคิดที่ยึดติดและกดดันตนเองมากจนเกินไป

Toxic Perfectionism

ทั้งนี้ความเป็น Perfectionist นั้นมีแรงกระตุ้นได้ทั้ง ประเภท

แบบที่ 1:Self-oriented perfectionism:
แรงกระตุ้นที่เกิดจากตนเอง (ภายใน) โดยการเป็น Perfectionist ที่เกิดจากแรงกระตุ้นภายในนั้น โดยจะมีแรงกดดันและตั้งมาตราฐานกับตนเองที่ค่อยข้างสูง โดยบุคคลเหล่านี้ มักจะกดดันตนเอง และตั้งเป้าหมายที่ขัดเจนให้กับตนเองอยู่บ่อยๆ แต่ทว่าข้อดีคือ จะไม่ได้ตั้งเป้าหมายเหล่านี้ให้กับผู้อื่น

แบบที่ 2: Socially prescribed perfectionism:
แรงกระตุ้นหรือประเภทของ Perfectionist อันดับที่ 2 นี้คือการต้องการยอมรับจากสังคม (ภายนอก) โดยพวกเขาจะทำทุกอย่างให้สมบูรณ์ มักมีความเชื่อมั่นว่าเราจะทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ เพื่อต้องการความยอมรับจากคนรวบข้าง โดยหากเจาะลึกลงไป กลุ่มคนเหล่านี้อาจจะมีภูมิหลังตอนเด็ก เกิดจากแรงกดดันภายในครอบครัว

ยกตัวอย่างเช่น การไม่เป็นที่น่าพึงพอใจของพ่อหรือแม่ เมื่อโตขึ้น เขาจึงเกิดแรงกดดันเหล่านี้เพื่อต้องการให้คนรอบข้างยอมรับกับสิ่งที่เขาทำ ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่นักจิตวิทยาเชื่อว่าอาจจะมี Self Esteem ที่ต่ำก็เป็นไปได้

แบบที่ 3: Other-oriented perfectionism:
ต่อไปเป็นแรงกระตุ้นที่เกิดจากบริบทโดยรอบ ซึ่งหมายถึงการคาดหวังจากคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นคนรอบข้าง สิ่งแวดล้อม โดยคนกลุ่มพวกนี้มักคิดและคาดหวังว่าสิ่งต่างๆ รอบตัวจะสมบูรณ์แบบ งานต้องดี เพื่อนต้องได้ ทุกอย่างต้องเป๊ะ จนบางครั้งความคิดหวังเหล่านี้สร้างความน่าอึดอัดใจและลำบากใจแก่คนอื่น

 

Toxic Pefectionism คืออะไร

และเป็นข้อไหนกันละ ? เมื่อสาวๆ อ่านมาจนถึงตรงอาจคิดว่าแล้ว การสมบูรณ์แบบที่เป็นพิษนั้น มาจากข้อไหน เราตอบได้เลยว่า มาจากทุกข้อรวมกัน งั้นเรามา Checklist กันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง?

 

Toxic Perfectionism

ข้อที่ 1: คุณชอบหาข้อผิดพลาดในการกระทำของตัวเองและผู้อื่นเสมอ
อย่างที่บอกข้อแรกของการเป็น Toxic Perfectionism คือการหาข้อติหรือจุดผิดพลาดที่ทั้งมาจากตนเองและผู้อื่น เรายกตัวอย่างเหตุการณ์ให้พอเห็นภาพที่เข้าใจได้ชัดๆ เหมือนเรากำลังทำ Presentation เพื่อจะไปนำเสนอลูกค้าร่วมกับเพื่อนในทีม คนอื่นอาจจะมองว่า Present ในส่วนของเราดีแล้ว ไม่ต้องแก้ไข แต่เรามองว่า มันยังไม่ดีพอต้องเพิ่มต้องเติมตรงนี้เข้าไปอีก หรือแม้กระทั่งมองหาจุดผิดของคนอื่น ถึงแม้จุดผิดต่างๆ เหล่านี้จะเป็นจุดที่สามารถมองข้ามได้ก็ตาม

 

ข้อที่ 2: คุณกำหนดมาตรฐานของสิ่งต่างๆสูงจนเกินความเป็นจริง
ในข้อนี้ส่วนมากคนที่เป็น Perfectionist มักทำและคิดแบบนี้ ยกตัวอย่างเช่น ในหนึ่งวันเรามีภารกิจและหน้าที่ต่างๆ ที่ต้องทำมากมาย แต่เรามักจะอัด To do ต่างๆ เข้าไปจนแน่น และสุดท้ายก็ลืมไปว่า เราต้องเผื่อเวลาไว้พักผ่อนบ้าง (เราเป็นเวลาตั้งเป้าว่าจะเขียนงาน ให้ได้วันละเท่านี้ แต่บางครั้งก็ลืมไปว่า เรามีงานอื่นต้องทำด้วย หรือไม่ก็ทำจนลืมเวลานอน T^T) สุดท้ายแรงกดดันเหล่านี้บางครั้งก็ส่งผลกระทบกับตนเอง และผู้อื่นโดยที่เราไม่รู้ตัว

 

ข้อที่ 3: คุณคิดมากกับการทำผิดแม้ในเรื่องเล็กๆน้อยๆ
ในข้อนี้เป็นข้อที่ส่วนตัวเรามองว่า ค่อนข้างใจร้ายกับตนเองมากๆ เลยนะ คนที่เป็น Toxic Perfectionism มักไม่ค่อย Self Compassion หรือ Empathy ให้กับตนเองเท่าที่ควร บางครั้งเราเข้าใจในความผิดพลาดของผู้อื่น แต่พอเป็นเรื่องที่ตนเองผิดพลาด กลับด่าหรือโทษตนเองจนเกินไป จนลืมว่า เอ่อ เราก็คนนินา จะให้เป๊ะและไม่ผิดเลยก็คงไม่ได้

 

Toxic Perfectionism

ข้อที่ 4: คุณต้องการการยืนยันว่าสิ่งที่ทำนั้นดี
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า Perfectionism มีแรงกระตุ้นจาก 3 แบบ โดยข้อนี้มักเกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นที่ 2 นั่นก็คือการต้องการเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยเขาจะมั่นใจและรู้จักยินดีเป็นอย่างยิ่ง เมื่อคนรอบข้างบอกหรือยอมรับว่า สิ่งที่พวกเขาทำล้วนเป็นสิ่งที่ดี และควรค่าแก่การลงมือทำ

 

ข้อที่ 5: คุณหลีกเลี่ยงต่อสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการล้มเหลว
อันนี้เราอาจจะไม่เคยรู้สึก และเข้าใจว่าตลอดว่าเหล่า Perfectionist นั้นจะเผชิญหน้ากับเหตุการณ์หรือปัญหาต่างๆ ที่คิดว่าแก้ไม่ได้ แต่! ไม่ใช่ เหล่ากลุ่ม Perfectionist จริงๆ นั้น เมื่อเจอกับเหตุการณ์หรือสิ่งที่อยู่ตรงหน้าและประเมินว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ หรือทำไปแล้วอาจไม่สมหวังขึ้นมาละก็ พวกเขาจะไม่ทำสิ่งนั้นเลยเป็นอันขาด เพื่อป้องกันความรู้สึกผิดหวังของตนเอง

 

ข้อที่ 6: คุณชอบตำหนิและตั้งคำถามกับตัวเองไม่จบไม่สิ้น
สำหรับข้อนี้เป็นข้อที่ค่อนข้างใจร้ายและบั่นทอน Self Esteem ของตัวเองเป็นที่สุด อย่างที่บอกเราปลอบใจและให้โอกาสคนอื่นได้เสมอ แต่ทว่า กับความผิดพลาดหรือความไม่มั่นใจในตัวเรา เรามักดุด่า ว่ากล่าวตนเอง จนบางทีก็ไม่ปล่อยให้ตัวเองเป็นอิสระกับความคิดและการกระทำบ้าง จนบางครั้งเราจะเห็นว่าพวก Perfectionist เหล่านี้มักเหมือนพวกย้ำคิดย้ำทำ คิดเรื่องเดิมวนไปมา และตั้งคำถามกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า จนบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องหาเหตุผลกับมันก็ได้

 

Toxic Perfectionism

ข้อที่ 7: คุณไม่สนใจกับสิ่งชื่นชมของคนอื่น
ข้อนี้บางครั้งผิวเผินเราอาจมองว่ามันเป็นความถ่อมตน แต่ทว่าสำหรับกลุ่มคนที่เป็น Toxic Perfectionism นั้น เขาจะไม่รู้สึกยินดีหรือบางครั้งก็รู้สึกเฉยๆ กับคำชมต่าง ที่ผู้อื่นบอก เพราะส่วนมากมักคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ

 

ข้อที่ 8: ไม่ยินดียินร้ายไปกับชัยชนะ
ข้อนี้ก็อาจจะสอดคล้องกับข้อด้านบน แต่แค่ความรู้สึกนี้ไม่ได้มาจากคนอื่น แต่เป็นความรู้สึกภายในจิตใจตนเอง เมื่อเวลาพวกเขาทำอะไรสำเร็จ เขากลับคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติที่เขาจะได้รับ หรือรู้สึกเฉยๆ กับความสำเร็จเหล่านั้น

 

ข้อที่ 9: ใช้เวลากับแต่ละงานยาวนานและชอบทำให้มันยากขึ้น
เราอาจจะเคยได้ยินว่า “คนที่เก่งจริงๆ ต้องทำเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย” แต่กลับกลุ่มคนที่มีความ Toxic Perfectionism มักเป็นพวกย้ำคิดย้ำทำ หาข้อติ จุดบกพร่องเล็กๆ กับงานของตน จนทำให้บางครั้งงานล่าช้าและกินเวลานาน หรือจนบางครั้งงานง่ายๆ บางชิ้น ที่ควรน่าจะเสร็จในเวลาอันใกล้ ๆ เขาก็ทำให้มันยากและกินเวลา กินแรง ตัวเองและผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว

 

ข้อที่ 10: หมกมุ่นไปกับคำว่า “น่าจะ” “ควรจะ”
และข้อสุดท้ายของการ Checklist Perfectionism นั้น คือ การหมกมุ่น และมักพูดคำว่า “น่าจะ” “ควรจะ” “รู้งี้” แบบนี้ตลอดเวลาเมื่อเจอความผิดพลาดที่เกิดขึ้น หรือเจอจุดที่ตนเองไม่พึงพอใจ โดยคำพูดเหล่านี้ ล้วนเป็นการคาดหวังและกดดันคนอื่นและตนเองโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัวเลยก็ได้

 

Toxic Perfectionism

และก็จบไปแล้วกับการ Checlkist มีใครเป็นข้อไหนบ้างคะ? เราอยากบอกว่าการเป็นคนที่สมบูรณ์แบบนั้นเป็นข้อดี แต่บาวครั้งเราต้องรู้จักการปล่อยวาง และลดการคาดหวังในตัวเองและผู้อื่นบ้าง เพื่อความสุขและช่วยเหลือจิตใจของเราเอง สุดท้ายนี้ขอบคุณที่ติดตามกันมาจนถึงตรงนี้ค่ะ และะพบกันใหม่บทความหน้า บ๊ายบายค่า

 

Source:

Photo Credit: unsplash

Comments

comments