จากสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ที่มียอดผู้ติดเชื้อ เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เราทั้งผู้ที่อยู่แต่ในบ้าน WFH หรือคนที่ยังต้อง หาเช้ากินค่ำ ออกจากบ้านในทุก ๆ วัน หลีกหนีการออกนอกบ้าน ที่แสนจะอันตรายไปไม่ได้ และยังคงมีความ เสี่ยง ที่มากขึ้น ดังนั้นวันนี้ ใครที่กำลังมีอาการป่วย เป็นไข้ ไม่สบาย เจ็บคอ และที่สำคัญ!! ลองทดสอบกับ ชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit (ATK) ที่ ผ่านการรับรองจาก อย. เรียบร้อยแล้ว ผลปรากฎว่า ขึ้นแทบ 2 ขีด (ทั้ง C และ T ล่ะก็…) เราจะชวนมาสำรวจอาการต่าง ๆ จำแนกผู้ติดเชื้อโควิด19 ตามอาการ ของตัวเราเองกันดูสักหน่อย ดูสิว่า เรานั้นมีอาการถึงขั้นไหนกันแล้วนะ?!!! 

Check List จำแนกผู้ติดเชื้อโควิด19 ตามอาการ !!!

สีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นอย่างไรบ้าง ?

จำแนกผู้ติดเชื้อโควิด19 ตามอาการ

 

# ผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่มสีเขียว

สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะเป็นผู้ป่วยที่ ไม่แสดงอาการ แสดงอาการน้อยมาก ๆ อาการของผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวจะมีอาการคล้าย คนเป็นไข้หวัดธรรมดาจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้ หรือ วัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาขึ้นไป
  • ไอ
  • มีน้ำมูก
  • เจ็บคอ
  • จมูกไม่ได้กลิ่น
  • ลิ้นไม่รับรส
  • ตาแดง
  • ผื่นขึ้น
  • ถ่ายเหลว
  • การหายใจคงที่
  • เมื่อหายใจแล้วไม่เหนื่อย
  • ยังหายใจได้สะดวก
  • ไม่มีอาการปอดอักเสบ
  • ผู้ป่วยไม่อยู่ในกลุ่มปัจจียเสียงต่อการเป็นโรครุ่นแรง ที่มีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย

(สำหรับผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวตอนนี้สามารถทำ HOME ISOLATE อยู่ที่บ้าน ได้เนื่องจากสถานการณ์โควิด จำนวนเตียงของผู้ป่วยในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ)

 

จำแนกผู้ติดเชื้อโควิด19 ตามอาการ

 

# ผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่มสีเหลือง

สำหรับผู้ในป่วยกลุ่มนี้ จะเป็นผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการที่ชัดเจนมากขึ้นอาการของผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียวจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • แน่นหน้าอก
  • หายใจไม่สะดวกขณะทำกิจกรรมอื่น ๆ 
  • หายใจเร็ว หายใจแล้วเหนื่อย หรือ หายใจลำบาก
  • มีอาการไอแล้วรู้สึกเหนื่อย
  • รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา
  • เวียนศรีษะ
  • ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน และมีอาการร่วมกับอาการหน้ามืด วินเวียนศรีษะ
  • ปอดอักเสบ
  • ผู้ที่มีอาการดังที่กล่าวมา ผู่ที่มีความเสี่ยง และเป็นผู้ที่มีโรคร่วมที่สำคัญ ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
  1. อายุ 60 ปีขึ้นไป
  2. เป็นโรคปอดอุกั้นเรื้อรัง ( รวมโรคปอดอื่น ๆ )
  3. โรคไตเรื้อรัง
  4. โรคหัวใจ และหลอดเลือด ( รวมโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด )
  5. โรคหลอดเลือกสมอง
  6. โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
  7. โรคอ้วน ที่มีน้ำหนักตัวเกิน 90 กิโลกรัมขึ้นไป
  8. ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง
  9. ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ( เซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 1,000 cell/mms. )

( สำหรับผู้ป่วยสีเหลือง จะถูกส่งตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล )

 

จำแนกผู้ติดเชื้อโควิด19 ตามอาการ

 

# ผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่มสีแดง

สำหรับผู้ในป่วยกลุ่มนี้จะเป็นผู้ป่วยี่มีอาการหนักที่สุด อาการของผู้ป่วยกลุ่มสีแดง จะมีอาการรดังต่อไปนี้

  • เหนื่อยหอบตลอดเวลา
  • หายใจลำบากอยู่ตลอดเวลา หรือหายใจแล้วเหนื่อยแม้ว่าจะไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรเลย
  • พูดไม่เป็นประโยคสนทนา สามารถพูดโต้ตอบได้เป็นคำๆ
  • แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจแล้วเจ็บหน้าอก
  • ซึม เรียกแล้วไม่รู้สึกตัว หรือ ตอบสนองช้า
  • ปอดบวมที่มี hypoxic ( risting O2 saturaion < 96 % ) 
  • มีภาวะลดลงของ Oxygen SpO2 >= 3 % ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง (ความอิ่มตัวของเลือดลดลงมากกว่า 3 % ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง )

(สำหรับผู้ป่วยสีแดง จะต้องทำการส่งตัวไปรักษาที่โรงบาลอย่างเร่งด่วน)

 

จำแนกผู้ติดเชื้อโควิด19 ตามอาการ

ก่อนอื่นตรวจเบื้องต้นแล้วว่า “ติดโควิดทำไงดี ?”

หากพบผลเป็นบวกก็ค่อนข้างจะใกล้เคียงกับการตรวจแบบ RT-PCR คือประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเชื้อยังน้อยอยู่ อาจจะยังไม่เจอ ดังนั้นเมื่อผู้ใดตรวจแล้วผลเป็นลบไม่ได้แปลว่าไม่มีเชื้อแน่นอน เพราะฉะนั้นต้องดูแลตัวเองจากนั้นอีก 3-5 วันให้ทำการตรวจซ้ำอีกรอบ ถ้าตรวจอีกรอบแล้วผลยังออกมาเป็นบวกควรที่จะ รีบแจ้งไปเบอร์โทรศัพท์ของตนกับหน่วยงานที่รับเรื่องเพื่อเข้ารับการรักษาและปฎิบัติตามดังนี้

  1. เตรียมเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประชาชน เอกสารยืนยันผลตรวจโควิด (หากต้องการกักตัวที่ส่วนกลาง อย่าง โรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลสนาม)
  2. งดออกจากที่พักหรือเดินทางข้ามจังหวัด (ฝ่าฝืนมีโทษผิดพ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 มาตรา 34)
  3. หากมีไข้ให้รับประทานยาพาราเซตามอลและเช็ดตัวเพื่อลดไข้
  4. สวมใส่แมสก์ตลอดเวลาและแยกของใช้ส่วนตัว

นอกจากนั้นยังมีเพจหรือช่องทางต่าง ๆ ที่เพื่อน ๆ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือเบื้องต้น และปรึกษารายละเอียดได้ อย่าง 

จำแนกผู้ติดเชื้อโควิด19 ตามอาการ

1668 สายด่วน กรมการแพทย์ (กด1)

สายด่วนเฉพาะกิจเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โทรหารเตียงได้ทึกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-22.00 น. หรือ แอดไลน์ไอดี @1668.reg เพื่อกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์ม หลังจากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดหาเตียงให้

 

1669 สายด่วน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

โทรหาเตียงได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือแอดไลน์ไอดี @sabaideebot และสามารถดาว์โหลดแอปพลิเคชั่น EMS 1669 เพื่อใช้เป็นอีกช่องทางสำหรับเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินได้

 

1330 สายด่วน สปสช. (กด0)

โทรหาเตียงได้ตลอด 24 ชั่วโมง สอบถามข้อมูลสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง)

 

จำแนกผู้ติดเชื้อโควิด19 ตามอาการ

1442 สายด่วน กรมควบคุมโรค

โทรหาเตียงได้ตลอด 24 ชั่วโมง สอบถามข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพ และข้อสงสัยสำหรับผู้ป่วยติดเชี้อ

 

1506 สายด่วน ประกันสังคม

สอบถามสิทธิประโยชน์ประกันสังคมการรักษาพยาบาล ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

323 สายด่วนสุขภาพจิต

ขอรับคำปรึกษาภาวะเครียด วิตกกังวล และอาการซึมเศร้า ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ปรึกษาปัญหาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (UCEP)

โทร. 02-872-1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 

 

จำแนกผู้ติดเชื้อโควิด19 ตามอาการ

เพจเส้นด้าน-Zendai : ช่วยประสานงานหาเตียง และรถพยาบาลรับส่งผู้ป่วย ติดต่อ zendai โทร. 081-591-9714 / 080-660-9998

เพจหมอแล็บแพนด้า : ช่วยประสานงานหาเตียง และรถพยาบาลรับส่งผู้ป่วย ติดต่อ MTlikesara

เพจDrama-Addict : ช่วยประสานงานหาเตียงผู้ป่วยผ่าน Inbox ติดต่อ DramaAdd

 

จำแนกผู้ติดเชื้อโควิด19 ตามอาการ

เพจเราต้องรอด : ช่วยประสานงานหาเตียง และรถพยาบาลรับส่งผู้ป่วย ต้องลงทะเบียนตามขั้นตอนที่ทางเพจระบุไว้ ติดต่อ savethailandsafe

เพจไทยรัฐนิวส์โชว์ : ช่วยประสานงานหาเตียงผู้ป่วยผ่าน Inbox ติดต่อ newsshow32

หาเตียงโควิดผู้ป่วยในปริมณฑล จ.สมุทรปราการ : ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โทร. 063-192-9272 / 063-192-9207

หาเตียงโควิด ผู้ป่วยในเพื่อนที่ปริมณฑล จ.ปทุมธานี : ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โทร. 02-581-5958 / 065-950-5772

หาเตียงโควิด ผู้ป่วยในเพื่อนที่ปริมณฑล จ.นนทบุรี : ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โทร. 061-394-5702 / 061-394-5403 / 061-172-2534 / 061-172-2260

 

หากใครเริ่มมีอาการ หรือสังเกตุเห็นคนรอบตัวภายในบ้านของเรามีอาการ ดังที่กล่าวมาต้องรีบโทรแจ้งทางโรงพยาบาล ให้ทันท่วงที และในสถานการณ์แบบนี้อย่าลืมดูแลรักษาตัวเองกันให้ดีเพื่อความปลอดภัย และเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนที่เรารักกันด้วยนะคะ

 

 

CR : who

Comments

comments