คริสต์มาสแล้ว เลิกคิดมากได้แล้วนะ เพราะการคิดมากเนี่ย ส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพจิต และร่างกาย ใครที่ชอบคิดมาก คิดซ้ำเรื่องเดิม ๆ ต้องรีบแก้ไขโดยด่วนนะ เพราะอาจจะทำให้เราเป็นโรคอื่น ๆ ตามมาได้ วันนี้เราจึงได้รวม วิธีเลิกคิดมาก มาฝากเพื่อน ๆ ที่กำลังพบปัญหานี้อยู่ ต้องอ่าน !
“ภาวะคิดมาก” หรือ “Overthinking” เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การงาน การใช้ชีวิต ความรักหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ แต่ละเรื่องราวต่าง ๆ จะมีทั้งด้านที่ดี และด้านที่ร้าย แต่คนส่วนให้มักให้ค่าในเรื่องร้าย ๆ มากกว่าการจดจำเรื่องดี ๆ เพราะคนเราจะจำเรื่องร้าย ๆ มาเป็นบทเรียนให้กับตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดเดิม ๆ ขึ้นอีก ในอีกแง่หนึ่งเป็นเรื่องสภาพจิตใจที่มีความกลัว และวิตกกังวลต่อเรื่องที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจในอดีต อย่างเช่น เคยทำสิ่งที่ผิดพลาด เคยบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เคยผิดหวังในความรักหรือในหน้าที่การงาน รวมทั้งการเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ถูกกำหนดควบคุมโดยผู้ปกครองอย่างเข้มงวด ทำให้เกิดความรู้สึกไม่แน่นอนหรือไม่แน่ใจกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองในอนาคต ซึ่งหมายความว่า เรื่องไม่ดีในอดีตมีผลต่อการกำหนดปัจจุบัน และอนาคตในความคิดของคนที่คิดมาก
ปัญหาสำคัญของคนที่ตกอยู่ในภาวะคิดมากคือ การปล่อยให้ตัวเองครุ่นคิดทบทวนอยู่กับเรื่องเดิม ๆ ที่ดึงขึ้นมาจากความทรงจำบนความรู้สึกเสียดาย ผิดหวัง เสียใจ มีความโกรธแค้นกับสิ่งที่ผ่านไปแล้ว หรือเป็นกังวลเกี่ยวกับผลพวงของสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาอยู่เสมอ ตกอยู่ในห้วงความคิดที่คนอื่น ๆ ไม่เข้าใจ ได้แต่คิดวนเวียนอยู่อย่างนั้น โดยไม่ได้พยายามคิดหรือแสวงหาวิธีการควบคุมหรือแก้ไขปัญหาที่จะช่วยให้ตัวเองคลายความทุกข์ และความกังวลใจลงไปได้
ผลที่ตามมาคือ สภาพจิตใจที่อ่อนล้า และเต็มไปด้วยความกลัว ความเศร้าเสียใจ ขาดความมั่นคงในจิตใจ รู้สึกโดดเดี่ยวที่ต้องต่อสู้กับความคิดร้าย ๆ เพียงลำพัง เมื่อเป็นติดต่อกันเป็นเวลายาวนานจึงเป็นสาเหตุสำคัญของโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder หรือ GAD) ซึ่งมีความเครียด และความวิตกกังวลที่รุนแรงมากกว่าปกติ ไม่สามารถควบคุมตัวเองไม่ให้คิดฟุ้งซ่านหรือกลัวว่าอาจจะเกิดเรื่องที่ไม่ดีขึ้นจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต และการทำงานได้ตามปกติ เนื่องจากขาดสมาธิ มีความหวาดระแวง และตื่นตกใจง่ายมีปัญหาเรื่องความอยากอาหารหรือการนอนหลับ ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอลง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา
ใกล้คริสต์มาสแล้ว เมื่อไหร่จะเลิกคิดมาก !? รวม 10 วิธีเลิกคิดมาก คิดซ้ำเรื่องเดิม ๆ
1. ยอมรับว่าคุณเป็นคนคิดมาก
อย่างแรก เราต้องยอมรับตัวเองก่อนว่าตัวเองเป็นคนคิดมา กถึงจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เรามาดูมีสัญญาณเตือน ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังคิดมาก มีดังนี้
- คุณหมกมุ่นอยู่กับความคิดเดิม ๆ แต่คุณกลับไม่ได้อะไรจากการคิดเรื่องเดิม ๆ สิ่งที่ควรทำคือควรเลิกคิดถึงมัน และเดินหน้าต่อไป
- คุณกำลังคิดถึงเรื่องเดิมๆ โดยพยายามมองหาหลายแง่มุม “มากเกินไป” ในการตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง
- คุณเคยขอให้คนอื่นช่วยตัดสินใจแทน
- มีหลายคนบอกให้คุณเลิกคิดมาก
2. ทำสมาธิ
ถ้าเรารู้สึกว่าไม่สามารถหยุดความคิดตัวเองไม่ได้ สิ่งที่แนะนำคือการทำสมาธิ โดยการนั่งทำสมาธิสัก 15-20 นาที ช่วยให้คุณมีสติ และเลิกยึดติดกับความคิดที่ก่อกวน
3. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายจะช่วยให้จิต ไม่ได้โฟกัสเรื่องความคิด แต่จะโฟกัสไปที่ร่างกายแทน การทำกิจกรรมที่ใช้กำลังจะทำให้จิตจดจ่ออยู่กับร่างกายจนคุณไม่มีเวลาหมกมุ่นอยู่กับความคิด กิจกรรมที่แนะนำ จะเป็น ฟิตเนส ปีนเขา ว่ายน้ำ กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยให้เรามีสมาธิ และอยู่กับตัวเองได้ดียิ่งขึ้น
4. ระบายสิ่งที่อยู่ในใจออกมาโดยการพูด
การระบายออกมาด้วยคำพูด ถึงแม้ว่าจะพูดกับตัวเองก็ตาม วิธีจะช่วยให้เราปล่อยวางได้เร็วยิ่งขึ้น ลองระบายเรื่องราวต่าง ๆ ให้กับเพื่อนฟังบ้าง หรือการขอคำแนะนำ จากเพื่อน คนไกล้ตัว วิธีนี้ก็ช่วยการคิดมากได้ เพราะคนอื่นอาจสามารถช่วยคุณ มองในมุมมองอื่น ๆ ที่ทำให้คุณตัดสินใจง่ายขึ้น ซึ่งช่วยในการปล่อยวางความคิดของเรา
5. เขียนรายการสิ่งที่ต้องทำ
เราลองเขียน to do list สิ่งที่คุณต้องทำในแต่ละวัน สิ่งนี้จะทำให้คุณเห็นว่ามีสิ่งสำคัญกว่า การคิดอะไรที่ไม่ดีต่อเรา รู้ไหม ? วิธีจัดระเบียบความคิดที่รวดเร็วที่สุดคือ การนำความคิดนั้นมาลงมือทำ ตัวอย่างเช่น ถ้ารู้สึกนอนหลับไม่เพียงพอ ให้จัดเวลาสำหรับการนอนพักผ่อน ไม่ใช่กังวลเรื่องการนอน
6. เขียนรายการเกี่ยวกับสิ่งที่คุณรู้สึกซาบซึ้งใจ
7. แก้ปัญหาเท่าที่คุณจะทำได้
ถ้าปัญหาของคุณคือการคิดมากเกี่ยวกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง เกี่ยวกับการกังวลแบบไม่มีเหตุผลหรือการคิดถึงสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ คุณก็คงจะทำอะไรไม่ได้มากเพื่อแก้ปัญหาที่คอยกวนใจ ดังนั้นคุณควรจะแก้แต่ปัญหาที่คุณสามารถแก้ได้ และคิดแผนลงมือแทนการคิดแบบไม่มีประโยชน์
8. เข้าหาสังคม
การเข้าสังคมกับคนที่เรารัก จะทำให้คุณพูดคุยมากขึ้น และทำให้คิดมากน้อยลง พยายามออกจากบ้านให้ได้อย่างน้อยอาทิตย์ละสองสามครั้ง และพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน
9. หางานอดิเรกใหม่
ลองใช้เวลาเพื่อค้นหาสิ่งแปลกใหม่ และท้าทาย เพราะงานอดิเรกจะช่วยให้คุณมีสมาธิอยู่กับสิ่งที่คุณทำ และตั้งตารอดูผลลัพธ์จากสิ่งที่ทำอย่างจดจ่อ อย่าคิดไปก่อนว่าคุณรู้จักตัวเองดีว่าคุณชอบทำอะไรหรือคิดว่าสิ่งบันเทิงใจนั้นไม่จำเป็น ลองทำดูเลย อย่ามัวแต่คิด การลองทำงานอดิเรกใหม่ ๆ จะทำให้คุณมีสติ และจดจ่อ และอีกหนึ่งงานอดิเรกที่แนะนำ คือ อ่านหนังสือ การอ่านหนังสือจะช่วยให้เราจดจ่ออยู่กับความคิดของคนอื่นไม่เพียงแต่จะทำให้คุณได้เห็นมุมมองที่ลึกซึ้งเท่านั้น แต่ยังทำให้คุณคิดถึงเรื่องของตัวคุณน้อยลง ซึ่งอาจจะสร้างบันดาลใจบางอย่างให้กันเรา วิธีนี้จะช่วยสร้างจินตนาการ และเสริมสมาธิให้เราได้ดีอีกด้วย
Stay connected