สวัสดีค่าสาวชาว Clubsister ที่น่ารักทุกคน เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเราเคยได้รีวิวหนังจิตวิทยาระดับตำนานกันไปแล้ว และสืบเนื่องจากบทความนั้น ทำให้เราอยากจะแชร์ความรู้ที่มาคู่กับความสนุกของหนังหรืออนิเมะที่ดูกันกับพื้นฐานจิตวิทยาเบื้องต้นโดยมาจากการวิเคราะห์ตัวละคร
กับ การเรียนรู้จิตวิทยาข้างต้นกับ “อนิเมะ Perfect Blue” อนิเมชั่นจิตวิทยาชื่อดัง บอกเลยว่าเพื่อนจะได้เรียนรู้จิตวิทยาขั้นพื้นฐานและเป็นอีกหนึ่งหลักที่หนังจิตวิทยาทั่วไปนำไปใช้กัน
อย่ารอช้าไปเริ่มกันเลย
การเรียนรู้จิตวิทยาข้างต้นกับ “อนิเมะ Perfect Blue” อนิเมชั่นจิตวิทยาชื่อดัง
** คำเตือน! บทความนี้อาจมีการเผยแพร่เนื้อหาสำคัญบางส่วน หากใครที่ยังไม่ได้ดูโปรดหลีกเลี่ยง
เรื่องย่อและที่มาของหนัง:
อนิเมะ Perfect Blue ว่าด้วยเรื่องของไอดอลสาวที่กำลังเป็นที่นิยมอย่าง มิมะ กำลังจะประกาศ Graduated หรือลาวงการไอดอล เพื่อไปสานฝันต่อในบทบาทนักแสดงตามคำแนะนำของโปรดิวเซอร์ที่ดูแลเธอ แต่ทว่าเส้นทางการเดินไปสู่ดาวนั้นมันไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เพราะเธอจะต้องรับบทกับการแสดงที่สุดหิน อีกทั้งยิ่งดูไปดูมาก็เริ่มจะเปลืองเนื้อเปลืองตัวขั้นเรื่อยๆ จนแทบจะไม่เหลือคราบของสาวไอดอลผู้ใสซื่อเลย
ด้วยงานที่ค่อนข้างหนักบวกกับแรงกดดันที่เกินจะรับไหว ทำให้บ่อยครั้งที่มิมะเห็นภาพหลอนที่เหมือนตนเองในร่างไอดอลโผล่ออกมา ไม่เพียงแค่นั้นเหล่าคนรอบกายเธอหลายคนเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตแทบทั้งนั้น และนั่นทำให้เธอตั้งคำถามกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
การรีวิวองค์ประกอบโดยรวมของเรื่อง:
ก่อนที่จะเริ่มรีวิวที่ค่อนข้างเจาะลึกกับตัวละครเอกที่สำคัญทั้งสองตัวนั้น เราขอพูดองค์ประกอบรวมของหนังเรื่องนี้ก่อน ขอบอกเลยว่าถ้าไม่นับว่าอนิเมะ Perfect Blue เรื่องนี้เป็นการ์ตูนละก็
ส่วนตัวเรามองว่าเป็นอีกหนึ่งหนังที่มีการเล่าเรื่อง, บท และมุมกล้องที่ดีมาก และน่าสนใจอีกเรื่องเลยทีเดียว
บ่อยครั้งที่อนิเมะเรื่องนี้ใช้เทคนิคอย่าง Reflection หรือการสะท้อนของเงาเข้ามามีบทบาทในเรื่อง เพื่อให้คนดูอย่างเราสัมผัสได้ถึงมิติและความซับซ้อนของตัวละคร ไม่เพียงแค่นั้นยังมีการตัดสลับฉากแต่ละฉากได้ค่อนข้างดี เรียกได้ว่าไม่แปลกใจเลยว่าทำไมถึงเป็นอีกหนึ่งอนิเมะ Perfect Blue ที่สร้างชื่อและทำเอา Hollywood นำไปใช้ Inspire กันเลยทีเดียว
การวิเคราะห์ตัวละครอย่างเจาะลึกของเรื่อง:
และสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าการเล่าเรื่อง, บท และ เทคนิคต่างๆ ของเรื่องนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนดูและคอจิตวิทยาอย่างเราชอบนั้นคือ การใส่ปมหรือความคิดที่ซับซ้อนของตัวละครลงไปในเรื่องอนิเมะ Perfect Blue นี้ โดยจะว่าไปแล้วสิ่งที่ตัวละครแสดงออกนั้นล้วนสามารถอ้างอิงจากหลักจิตวิทยาข้างต้นและความเป็นจริงได้ โดยเราขอเข้าเรื่องการวิเคราะห์ตัวละครหลักทั้ง 2 ตัวก่อนเลยละกัน
เริ่มที่ตัวแรกจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก “มิมะ” ไอดอลสาวผู้ผันตัวมาเป็นนักแสดง แน่นอน! การตัดสินใจตามคำแนะนำของโปรดิวเซอร์นั้นไม่ใช่เรื่องผิด แต่ทว่าสิ่งที่ส่งผลกระทบตามมากับทางเลือกของเธอนั้น คือ “การเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน” จากเด็กสาวใสซื่อสู่ดาราเจ้าบทบาท ที่กว่าจะไปถึงดวงดาวได้นั้น จะต้องผ่านการรับบทค่อนข้างหนักหน่วง โดยที่ตัวเธอก็ไม่สามารถปฏิเสธมันได้
ไม่เพียงแค่นั้น เธอยังต้องรับงานที่ตรงกันข้ามกับความใสซื่อ กับสิ่งที่เธอเคยเจอ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายหนังที่มีฉากรุนแรงทางเพศ, การถ่ายแบบวาบหวิวและภาพนู๊ด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนตรงกันข้ามกับภาพลีกษณ์ตัวนักร้องสาวไอดอลคนเดิมที่เธอเคยเป็น จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเธอถึงรู้สึกเหนื่อยล้าและกดดันแทบจะทุกครั้งที่กลับจากการทำงาน
แต่สุดท้ายสิ่งที่เธอทำได้คือความจำยอมและอดทนทำ ในแบบที่ตนเองก็ไม่สามารถปฎิเสธมันได้พราะเป็นหน้าที่ ด้วยสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นความขัดแย้งกับภาพลักษณ์เดิมและความเปลี่ยนแปลงแบบคาดไม่ถึงนี้ ทำให้เธอเกิดภาพหลอนของมิมะในคราบไอดอล ที่คอยเตือนและตอกย้ำกับการกระทำของเธอตลอดเวลา ว่าสิ่งที่เธอเลือกนั้น “ผิด”
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่า Defensive Machanism หรือกลไกลการป้องกันตนเองรูปแบบหนึ่ง
จากอนิเมะ Perfect Blue นี้ ในกรณีของมิมะเกิดจาก Conflict (ความขัดแย้ง) หรือการกระทำที่ขัดใจและขัดกับความรู้สึก เมื่อทุกครั้งที่เธอทำงานที่ขัดกับ Ego หรือ ความต้องการของตนเอง มิมะมักจะป้องกันตนเองด้วยวิธีการที่เรียกว่า Repession (การเก็บกด) คือการกดความรู้สึกขัดแย้งไว้ในจิตใจ และทำเป็นเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น หรือใช้ชีวิตไปอย่างปกติ
ดูได้จากฉากหนึ่งที่มิมะแสดงหนังที่มีฉากรุนแรงเสร็จ เธอขึ้นรถโปรดิวเซอร์ แสร้งว่าไม่เป็นอะไร ดีใจกับการที่โปรดิวเซอร์จะไปเลี้ยงข้าว โดยเหมือนไม่คิดอะไรกับสิ่งที่ตนเองเพิ่งเจอ และบ่อยครั้งที่เธอกลับไปถึงห้อง เธอทำเป็นเพิกเฉย ไม่ว่าแสดงออกให้เห็นถึงความเหนื่อยล้าจากสิ่งที่ทำอยู่
แต่จิตใจคนเราเหมือนกาต้มน้ำนั่นแหละ เมื่อร้อนและถึงจุดเดือดกำลังดี แต่ไฟไม่มีทีท่าจะหยุด สักวันหนึ่งมันจะเดือดคนควบคุมไม่ได้ ความรู้สึกของมิมะเองก็เช่นกัน เมื่อถึงคราวที่ร่างกายและจิตใจทนไม่ไหว เธอจึงเลือกวิธีป้องกันตนเองในรูปแบบหนึ่ง นั่นก็คือการระเบิดอารมณ์กับสิ่งที่เจอ พร้อมทั้งคิดที่อยากจะฆ่าตากล้องชื่อดังที่ถ่ายรูปนู๊ดของเธอ
สิ่งเหล่านั้นเป็นการตอบสนองแบบ Projection (การกล่าวโทษสิ่งอื่นๆ ) อาการเหล่านี้มักเป็นการตอบสนองทางจิต ซึ่งอาจลามไปถึงการใช้ความรุนแรงและก่อให้เกิดการก้าวร้าวได้ ดูได้จากฉากหนึ่งที่เธอกลับไปที่ห้องด้วยความเหนื่อยล้า
และอีกคนที่จะไม่พูดถึงเลยก็ไม่ได้เพราะซึ่งเป็นอีกตัวละครหนึ่งที่มีมิติและความทับซ้อนทางความรู้สึกที่เด่นชัดและน่าค้นหาไม่แพ้กันในเรื่องอนิเมะ Perfect Blue นั่นก็คือ “รูมิ” อดีตไอดอลสาวที่ลาวงการ ผันตัวเองมาเป็นผู้จัดการส่วนตัวของอดีตไอดอลอย่างมิมะด้วยเช่นกัน ด้วยความที่การดำเนินเรื่อง อนิเมะ Perfect Blue นั้น นำเสนอมุมมองผ่านชีวิตประจำวันในตัวละครหลักอย่างมิมะมาตลอด
ทำให้เราเข้าใจและรู้สึกว่ารูมิก็เป็นหญิงสาวธรรมดา ที่มีจิตใจอ่อนโยน ดูแลมิมะเป็นอย่างดี ตามหน้าที่ของผู้จัดการ ไม่เพียงแค่นั้นเรายังมีการเห็นมุมที่เธอโมโห หรือ เสียใจ กับหน้าที่ที่มิมะเจอ (ไม่ว่าจะเป็นการต่อว่าโปรดิวเซอร์เรื่องการรับงานหรือแม้กระทั่งการร้องไห้กับฉากในหนังที่มิมะรับ)
ทำให้เราเข้าใจว่า เธอนั้นรักและเอ็นดูมิมะไปไม่น้อยกว่าใครๆ แต่ทว่าในฉากสุดท้ายของเรื่อง อนิเมะ Perfect Blue ก่อนที่หนังจะปิดตัวลง ภาพหลอนของมิมะในชุดไอดอล ที่ไล่ฆ่ามิมะตัวจริงนั้น กลับเป็นรูมิที่กำลังใส่ชุดไอดอลอยู่ พร้อมทั้งบอกกับมิมะว่า “เธอนั่นแหละคือมิมะตัวจริง” นั้นทำให้เราฉุกคิด และย้อนกลับไปถึงที่มาและท่าทีของรูมิอีกครั้ง แน่นอนรูมิเคยเป็นอดีตไอดอลมาก่อน การที่เธอได้รับหน้าที่ในการดูแลศิลปินที่เป็นไอดอลอย่างมิมะเอง เธอจำเป็นต้องมีใจรักและเข้าใจความเป็นไอดอลมาแล้วอย่างดี
ด้วยความรักที่มีต่อการเป็นไอดอล (ในอดีต) บวกกับการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพการงาน ที่อาจจะเกิดจากเป็นไอดอลน้องใหม่ที่สดใหม่กว่า (อย่างมิมะ) นั้น ทำให้เธอเกิดสภาวะที่เรียกว่า “Reaction Formation” หรือการแสดงอารมณ์หรือท่าทีตรงกันข้ามกับความรู้สึกของตนเอง
ดูได้จาก การที่เธอดูแลและรักใคร่มิมะเป็นอย่างดี แต่แท้ที่จริงแล้วเธออาจจะเกลียดหรือโกรธกับสิ่งที่มิมะกำลังทำอยู่ก็เป็นได้
ไม่เพียงแค่นั้น เธอยังมีสภาวะ “Identification” หรือการเลียนแบบทดแทนสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบและศรัทธา ซึ่งส่วนนี้เราเห็นได้จากการที่รูมิ ใส่ชุดไอดอลและบอกกับมิมะว่า ตนคือมิมะ ไอดอลสาวผู้ใสซื่อ และอีกสิ่งที่รูมินั้นทำกับมิมะเลยคือ การไล่ฆ่าและกล่าวโทษมิมะ ที่ทำให้ มิมะ (ตนเองและภาพลักษณ์) ต้องแปดเปื้อน ซึ่งเป็นวิธีเดียวกันที่มิมะตัวจริงเป็น นั่นก็คือการตอบสนองแบบ Projection ที่มิมะได้ทำด้วยเช่นกัน
สิ่งที่เนื้อเรื่องงต้องการจะบอกกับคนดู:
สุดท้ายนี้สิ่งที่เรื่องนี้ต้องการจะบอกกับคนดูอย่างเราคงมีอยู่ 2 ประเด็นใหญ่ๆ โดยเรื่องแรกคือ สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงและวงการธุรกิจบันเทิงของญี่ปุ่น ณ ขณะนั้น ซึ่งส่วนตัวเรามองว่าภาพสะท้อนเหล่านี้ก็ยังสามารถนำมาใช้ในปัจจุบันได้อยู่ นั่นก็คือการกำเนิดใหม่ของคลื่นลูกใหม่หรือน้องใหม่ในวงการ ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมของคนที่เคยอยู่ ณ จุดเดิม และอีกอย่างการจะเป็นที่จับตามองหรือการลบภาพลักษณ์เดิมๆ ออกไปได้นั้น เป็นเรื่องที่ยาก
อย่างที่เราเห็นกว่ามิมะจะลบภาพลักษณ์การเป็นไอดอลสาวได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย การจะรับบทหนังหรือละครซักเรื่อง ผู้กำกับและคนเขียนบทก็จะตีกรอบว่าเธอจะทำมันได้หรอ เพราะเคยเป็นไอดอลมาก่อนนะ และการที่จะเลือกลบภาพลักษณ์เดิมของตนเองนั้น ก็จะต้องเริ่มทำในบทบาทที่ดูขัดกันอย่างสิ้นเชิง อย่างการรับบทที่รุนแรง หรือ มาในทางที่เซ็กซี่ไปเลย
ซึ่งตรงนั้นลบภาพลักษณ์ได้ก็จริง แต่มันมีผลกระทบตรงที่ คนดูก็จะตีตราและมองตัวไอดอลหรือนักแสดงเองเป็นอีกคนละคนไปเลย เผลอๆ อาจจะมองในแง่ติดลบเสียด้วยซ้ำ
ในส่วนของประเด็นที่สองที่หนังต้องการจะบอกเรานั้น คือ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงและผลที่จะได้ ไม่ว่าจะเป็นในวงการหน้าที่การงาน หรือ บทบาทใดๆ ในชีวิต การเปลี่ยนแปลงถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดและสร้างความวิตกกังวลให้กับคนเราได้เสมอ ทั้งนี้หากสภพาจิตใจที่ไม่แข็งแรงพอ หรือไม่สามารถยอมรับหรือรับการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นได้นั้น ไม่แปลกที่มนุษย์เราจะสร้างเกราะป้องกันขึ้นมา ตามกลไลทางธรรมชาติ แต่หากปล่อยไว้นาน มักสร้างผลร้ายให้เราและคนรอบข้างเสมอ
สุดท้ายนี้ Perfect Blue ถือเป็นอีกหนึ่งอนิเมชั่นที่ดีในแง่การวิเคราะห์ตัวละครที่มีมิติซับซ้อน และน่าค้นหา ไม่เพียงแค่นั้นยังเป็นอีกหนึ่งหนังและอนิเมะที่เราอยากจะแนะนำให้สาวๆ ที่เป็นคอหนังจิตวิทยาได้ดูอีกเรื่องหนึ่ง อย่างไรก็ขอขอบคุณมากๆ อีกครั้งที่ติดตามกัน และเจอกันใหม่บทความหน้า เราจะมารีวิวหรือวิเคราะห์อะไรให้สาวๆ ได้ดูกันอีก อย่าลืมติดตามนะคะ ขอบคุณค่า 🙂
ปล. การวิเคราะห์ตัวละครและบทความนี้ เป็นการวิเคราะห์ตามหลักจิตวิทยาขั้นพื้นฐานที่ข้าพเจ้าเคยเรียนมา หากเกิดความผิดพลาดประการใด ขออภัยมาใน ณ ที่นี้ด้วยค่า
Soruce:
- https://bit.ly/3bHvzv7
- http://bit.ly/2LS0lGG
- https://bit.ly/3iroa4s
- https://bit.ly/38QEUPj
Photo Credit:
Stay connected