สวัสดีค่าสาวๆ ชาวซิสที่น่ารักทุกคน หลังจากที่เราได้มีการรีวิวและแนะนำอนิเมะเอาใจคอเมะหรือมังงะกันไปแล้วนั้น เราก็เกิดปิ๊งไอเดียขึ้นและสนใจอยากจะลองทำลิสต์อนิเมะนี้ เพื่อเอาใจสาวกเจแปนหรือชาวนิปปอนกันซักนิด กับ ” 4 อนิเมชั่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น สะท้อนตั้งแต่สมัยก่อนยันปัจจุบัน!” บอกเลยว่า Clubsister เราพร้อมนำเสนออนิเมะสนุกๆ สอดแทรกไปพร้อมกับเรื่องราวในเชิงประวัติศาสตร์และสาระความรู้ต่างๆ คอเมะและเจแปนเลิฟเวอร์ไม่ควรพลาดเป็นที่สุด อย่ารอช้าไปเริ่มที่เรื่องแรกกันเลยค่ะ

“4 อนิเมชั่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น สะท้อนตั้งแต่สมัยก่อนยันปัจจุบัน!”

 

เรื่องที่ 1: Naruto หรือ นารูโตะ นินจาจอมคาถา

สามารถรับชมได้ที่: Netflix และ LINE TV
จำนวนซีซั่น: 10 Seasons
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเกี่ยวกับ: นินจา หรือ นักฆ่าในเงามืด

อนิเมชั่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น

อนิเมะ วัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่ถ่ายทอดและบอกเล่าขนบธรรมเนียม ความเชื่อในด้านต่างๆ โดนความเชื่อในเรื่องเงามืดหรือนักฆ่าสมัยก่อนของญี่ปุ่นนั่นก็คือ “Naruto หรือ นารูโตะ นินจาจอมคาถา”
เรามั่นใจว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สาวๆ คออนิเมะหรือชื่อชอบมังงะ และการ์ตูนญี่ปุ่นต้องรู้จักแน่นอน เพราะเป็นอนิเมะที่เรียกได้ว่าแก่กว่าอายุผู้อ่านบางท่านเสียอีก โดยเรื่องนี้พูดถึงเรื่องราวของเด็กหนุ่มนามว่า อุสึมากิ นารูโตะ เด็กหนุ่มที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนินนาแคว้นโคโนฮะ ซึ่งเขากำลังเป็นนักเรียนในโรงเรียนฝึกสอนนินจา โดยที่ตัวเขามีปีศาจจิ้งจอกเก้าหางที่โจมตีหมู่บ้านโคโนฮะในอดีต ถูกสะกดไว้ในร่างของเขา

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนในหมู่บ้านต่างเกลียดชัง และไม่กล้ายุ่งด้วย แต่ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจที่อยากจะเอาชนะใจคนทั้งหมู่บ้านและทำให้ทุกคนยอมรับในตัวของเขา นารูโตะจึงมีความฝันที่จะเป็น “โฮคาเงะ” ซึ่งเป็นเหมือนผู้นำในแคว้นนินจานั้นๆ ให้จงได้ แต่หนทางสู่การเป็นโฮคาเงะนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยทีเดียว

อนิเมชั่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น

ในส่วนของอนิเมะ วัฒนธรรมญี่ปุ่นเรื่องนี้ เป็นการสะท้อนความเชื่อและประวัติในส่วนของนินจา หรือ ที่คนญี่ปุ่นรู้จักกันดีในฉายาที่ว่า “นักฆ่าในเงามืด” ซึ่งการถือกำเนิดจากนินจานั้น ไม่ได้มีข้อมูลระบุไว้ชัดเจนว่า เกิดขึ้นในยุคไหน แต่ทว่าจะทราบกันดี ในฐานะขั้วตรงข้ามกับซามูไร หรือ นักรบที่มีเกียรติ

โดยนินจานั้นเปรียบเสมือนักฆ่าในเงามืด ที่ทางฝั่งรัฐบาลไม่ได้รองรับเสียเท่าไร พวกเขามีวิธีการและรูปแบบในการปฏิบัติภารกิจที่ชัดเจน มีแบบแผนในการปฏิบัติ โดยพวกนินจาจะถนัดงานลอบสังหาร ลักพาตัว ช่วงชิง หรือสอดแนม อีกทั้งยังต้องมีการฝึกฝนที่เข้มงวด โดยวิธีการที่เรามักพบเห็นและรับรู้ได้ว่านี่คือวิถีนินจาคือ การอำพรางตัว และ การลบร่องรอยของตนเอง ไม่ใช่เพราะเขาเป็นคนที่ขี้ขลาด แต่ทว่าเป็นวิถีการปฏิบัติและข้อได้เปรียบของเขาในการทำภารกิจนั่นเอง ซึ่งในอนิเมะเรื่องนี้ ได้ถ่ายทอดวิถีชีวิตและความเชื่อในเชิงประวัติของนินจาได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว 

 

เรื่องที่ 2: Demon Slayer หรือ ดาบพิฆาตอสูร

สามารถรับชมได้ที่: Netflix และ LINE TV
จำนวนซีซั่น: 1 Season
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเกี่ยวกับ: ซามูไร หรือ นักรบชั้นสูงของญี่ปุ่น

อนิเมชั่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น

และอนิเมะ วัฒนธรรมญี่ปุ่นเรื่องถัดไปที่เราอยากให้สาวๆ ได้ลองดู เป็นอนิเมะอีกเรื่องหนึ่งที่เรียกได้ว่าเขย่าวงการอนิเมะทั่วโลก พร้อมทั้งสร้างฐานแฟนคลับมากมาย ไม่แม้แต่ประเทศไทยเอง ซึ่งเรื่องนี้คือ “Demon Slayer หรือ ดาบพิฆาตอสูร” เป็นเรื่องราวของ “คามาโดะ ทันจิโร่” เด็กหนุ่มผู้เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน เนื่องจากพ่อของเขาล้มป่วยเสียชีวิต ทำให้เขาต้องแบกรับหน้าที่ในการออกไปขายถ่านไม้ในตัวเมือง

วันหนึ่งทันจิโร่เดินทางไปขายถ่านไม้จากบ้านบนหุบเขา วันนั้นเป็นวันที่หิมะตกแรง ทำให้การเดินทางกลับขึ้นไปนั้นลำบาก เขาได้รับการช่วยเหลือและเอื้อเฟื้อสถานที่พักแรมจากคุณลุงคนรู้จัก แต่ทว่าเมื่อถึงบ้านในรุ่งเช้า เขาได้กลิ่นคาวเลือดคละคลุ้งไปทั่ว พร้อมกับภาพที่ครอบครัวของเขาถูกฆ่าตายเกือบหมด เหลือเพียงน้องสาวของเขา “เนซึโกะ” เพียงคนเดียวเท่านั้น

แต่แล้วในขณะที่คันจิโร่พยายามแบกร่างที่แทบจะแน่นิ่งของน้องสาว อยู่ๆ เนซึโกะ ก็อาละวาดมีแววตาและกลิ่นที่แตกต่างออกไป นั่นทำให้คันจิโร่รู้ว่าน้องสาวของเขากลายเป็นอสูร และด้วยเหตุนี้ทำให้คันจิโร่ต้องผันตัวเองเป็นมือปราบอสูร เพื่อตามหาวิธีทางแก้ให้น้องสาวของเขากลับมาเป็นมนุษย์อีกครั้ง

อนิเมชั่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น

โดยอนิเมชั่น วัฒนธรรมญี่ปุ่นเรื่องนี้เป็นการนำเอาวัฒนธรรม ความเชื่อ และประวัติของเหล่าซามูไร ซึ่งซามูไรนั้นได้ชื่อว่าเป็นนักรบชั้นสูงของญี่ปุ่นที่มาสมัยเฮอัง (ประมาณ ค.ศ. 794 – ค.ศ. 1185) โดยเดิมทีนั้นซามูไรนั้นเปรียมเสมือนเหล่านักรบหรือองค์ครักษ์ และได้รับการว่าจ้างจากตระกูลชนชั้นสูงของญี่ปุ่น เริ่มต้นจากแถบตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น โดยคำว่าซามูไรมีความหมายว่า “ข้ารับใช้”

ดังนั้นกฏเหล็กหรือข้อปฏิบัติของซามูไรคือ “ความกตัญญูและภักดีต่อเจ้านาย” และสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกถึงความสะท้อนเอกลักษณ์ของเหล่านักรบชั้นสูงหรือซามูรไจากอนิเมะเรื่องนี้ คงหนีไม่พ้นดาบที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ประจำตัวของซามูไร โดย Demon Slayer ก็มักมีดาบหรืออาวุธคู่กายที่เปรียบเสมือนสิ่งสำคัญประจำตัวของเหล่านักรบผู้พิฆาตอสูรเช่นกัน ส่วนตัวเรามองว่าอนิเมะเรื่องนี้ถ่ายทอดและสะท้อนความเชื่อและสิ่งที่ถือมั่นในส่วนนี้ออกมาได้ค่อนข้างดี อีกทั้งยังสะท้อนถึงแนวคิดและวิถีปฏิบัติของซามูไร ที่ขึ้นชื่อว่าข้ารับใช้ที่ภักดีกับหัวหน้าหรือผู้มีพระคุณกับตนเองได้เป็นอย่างดีเลย

 

ปูลู ในเรื่องนี้ได้มีการพูดถึงเรื่องการลงโทษตนเองแบบซามูไร หรือที่เรียกว่าการคว้านท้องอยู่ในเรื่องนี้ด้วย

 

เรื่องที่ 3: Doraemon หรือ โดราเอมอน

สามารถรับชมได้ที่: Netflix
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเกี่ยวกับ: วิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นปี 19

อนิเมชั่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น

อนิเมะ วัฒนธรรมญี่ปุ่นเรื่องถัดไปที่อยู่คู่คนไทย และเผลอๆ อายุมากกว่าผู้อ่านบางคนเสียด้วยซ้ำ ไม่เพียงแค่นั้นยังเรียกได้ว่าเป็นอนิเมะระดับตำนานที่ไม่ว่าใครผู้ใดก็ต้องรู้จัก นั่นก็คือ “โดราเอมอน” หรือ เด็กๆ บางคนรู้จักกันในชื่อโดเรมอน เป็นเรื่องราวของหนุ่มน้อยผู้อ่อนแอ เป็นที่โหล่ของห้อง แถมโดนคุณแม่ดุบ่อยๆ ชื่อว่าโนบิตะ

ในวันหนึ่งเขาพบเจอแมวหุ่นยนต์สีฟ้า ที่มีชื่อว่าโดราเอมอนที่มีจากศตวรรษที่ 20 หรือในโลกอนาคต เจ้าแมวอ้วนสีฟ้าตัวนี้เดินทางมาพบกับโนบิตะพร้อม จะเข้ามาช่วยชีวิตของโนบิตะให้ดีขึ้น เพื่อจะได้ไม่ส่งผลต่อโลกอนาคตที่เขาอยู่ โดยจะช่วยให้โนนบิะเป็นคนที่ดีขึ้นได้ ด้วยของวิเศษต่างๆ ที่โดราเอมอนมี

อนิเมชั่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น

หากถามว่าเรื่องโดราเอมอนทำไมถึงเป็น อนิเมะ วัฒนธรรมญี่ปุ่น นั่นก็เพราะว่าผู้เขียนอาจารย์ฟุจิโกะ เริ่มต้นเอาสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิต หรือ การใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่นสมัยยุคประมาณมี 19 มาถ่ายทอดลงบนอนิเมะเรื่องนี้ โดยสิ่งที่เราเห็นได้ชัดเลยคือ วิถีการใช้ชีวิตของเด็กน้อยญี่ปุ่นในแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การสอนของโรงเรียนสมัยนั้น ความเชื่อเรื่องเกรดและการให้ค่านิยมในเรื่องการศึกษาของชาวญี่ปุ่น การรังแกกัน หรือแม้กระทั่งการวางกิริยามารยาทของคนญี่ปุ่น ที่มีความขี้อาย ขี้เกรงใจ ไม่กล้าพูด มาใส่ไว้ในตัวละครเหล่านี้ทั้งสิ้น

 

เรื่องที่ 4: Crayon Shinchan หรือ ชินจังจอมแก่น
สามารถรชมได้ที่: LINE TV, Pop Channel
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเกี่ยวกับ: วิถีชีวิตของคนญี่ปุ่น ณ ปัจจุบัน

อนิเมชั่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น

และอนิเมะ วัฒนธรรมญี่ปุ่นเรื่อวสุดท้ายเป็นอีกเรื่องที่นักเขียนติดตามและดูมาตั้งแต่ อนุบาล 3 (รู้อายุกันเลยทีเดียว) ตอนเริ่มดูแรก เด็กๆ ก็คงไม่ได้คิดอะไรมากเสียเท่าไร เป็นอนิเมะที่เรียกเสียงหัวเราะและความบันเทิงให้เราได้เป็นอย่างดี ด้วยฉายาเจ้าเด็กหัวมันฝรั่ง และนั่นก็คือ “Crayon Shinchan หรือ ชินจังจอมแก่น”

เป็นเรื่องราวชีวิตในแต่ละวันของเด็กชายหัวเกรียนโป๊งเหน่ง ที่มีชื่อว่าโนฮาระ ชินโนะสุเกะ เด็กชายวัย 5 ขวบ ที่เรียนอยู่ในชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนอนุบาลฟุตาบะ ห้องทานตะวัน อาศัยอยู่กับคุณพ่อ โนฮาระ ฮิโรชิ ที่เป็นหัวหน้าแผนกในบริษัท หรือ เรียกได้ว่าเป็นพนักงานออฟฟิศวัย 30 กว่าปี ที่มีหนี้บ้านเดี่ยวที่ยังต้องผ่อนอีก 32 ปี และคุณแม่ที่เป็นแม่บ้านเต็มตัววัย 32 ปี ชื่อว่า โนฮาระ มิซาเอะ พร้อมด้วยน้องสาววัย 0 ขวบที่มีชื่อว่า โนฮาระ ฮิมาวาริ และหมาสีขาว ที่มีชื่อว่า ชีโร่

อนิเมชั่น วัฒนธรรมญี่ปุ่น

จากเรื่องย่อของอนิเมะ วัฒนธรรมญี่ปุ่นเรื่องนี้ ผู้อ่านหลายคนคงรู้แล้วว่า สิ่งที่อนิเมะหรือการ์ตูนเด็กเรื่องนี้ต้องการถ่ายทอดคงหนีไม่พ้น วัฒนธรรม และ วิถีการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่น ณ ปัจจุบัน โดยเน้นไปที่ชีวิตของเหล่าพ่อบ้าน แม่บ้าน ชาวญี่ปุ่น ในยุคสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยทุนนิยม ไม่ว่าจะเป็นแรงกดดันในการทำงาน ที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน และความเร่งรีบในตอนเช้า

วิถีชีวิตการเป็นแม่บ้าน ที่ดูเหมือนจะง่าย แต่เต็มไปด้วยภารกิจที่ไม่มีวันจบสิ้น และไม่สามารถลาออกได้ อนิเมะเรื่องนี้สะท้อนให้เราเห็นถึงวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นหรือคนเอเชียแบบเราได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงแค่นั้นเป็นอนิเมะที่สะท้อนให้เห็นถึงความจริงของโลกระบบทุนนิยมได้ย่างดีเยี่ยมเลยก็ว่าได้ 

 

Source:

Photo Credit:

Comments

comments