ถ้าใครเป็นคอหนังและชอบการดูหนัง วิเคระห์วิจารณ์หนังเป็นชีวิตจิตใตเหมือนเราแล้วละก็ ต้องรู้จักรางวัลที่ชื่อดังระดับโลกอย่าง Oscar (ออสการ์) ที่เป็นเหมือนงานรางวัลที่ชื่นชม ยกย่องและหยิบยกหนังเหล่านั้นขึ้นมาให้เป็นที่น่ายินดีกับคนทั่วโลก และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์นี้ ที่ผ่านมา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกามีพิธีประกาศรางวัลออสการ์ครั้งที่ 92 ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (คุณแก้ม วิชญาณี ได้รับเชิญไปร้องเพลง Into the unknown ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์อนิเมชั่นอย่าง The Frozen II ด้วย) ซึ่งที่เป็นรู้จักกันดีว่า หนังรางวัลออสการ์ นั้นเป็นหนังที่ถูกคัดมาแล้วว่าดีและเข้าถึงจิตใจของผู้รับชมเป็นที่สุด


หนังรางวัลออสการ์

ย้อนรอยการจัดประกาศ หนังรางวัลออสการ์ กันนิดนึง

และวันนี้ Clubsister จะมารีวิวหนังเข้าชิงรางวัลออสการ์กัน ถึง 5 เรื่อง ซึ่งแต่ละเรื่องนั้นเข้าชิงหลากหลายสาขา พร้อมทั้งส่งผลต่อความรู้จักของคนดูไม่ว่าจะด้านใดด้านหนึ่งได้ดีที่สุด แต่ก่อนไปอ่านรีวิว 5 เรื่องหนังรางวัลออสการ์นั้น เรามาทำความรู้จักกับที่มาที่ไปคร่าวๆ ของรางวัลอันมีเกียรตินี้กันก่อน

งานรางวัลออสการ์ถูกจัดขึ้นในครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 1929 จัดขึ้นโดย โดยสถาบันการศึกษาศิลปะภาพเคลื่อนไหวและวิทยาศาสตร์ ณ ห้องจัดเลี้ยงอาหารค่ำของโรงแรมฮอลลีวูด รูสเวลต์ ลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดแค่ 250 คนเท่านั้น และราคาในการจำหน่ายบัตรเข้าชมอยู่ที่  5 เหรียญดอลล่าสหรัฐ ระยะเวลาในการดำเนินงานนั้นมีความยาวเพียงแค่ 15 นาทีเท่านั้น โดยวัตถุประสงค์ในการจัดงานนี้ขึ้นก็คือ เพื่อเป็นเกียรติของผู้กำกับ นักแสดง พร้อมทั้งบุคลากรต่างๆ ที่ร่วมดำเนินการสร้างและรังสรรค์ภาพยนตร์ที่ดีนั้นๆ ขึ้นมา และก่อนที่จะเข้ารีวิวเราอยากจะเทรนด์ความหมายของแต่ละสาขาที่เข้าชิงให้สาวๆ ได้รู้จักกันว่า แต่ละสาขามีความหมายว่าอะไรยังไงกันบ้าง 

1. Best Picture = ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
2. Best Director = ผู้กำกับยอดเยี่ยม
3. Leading Actor (Best Actor) = นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
4. Leading Actress (Best Actress) = นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
5. Supporting Actor = นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
6. Supporting Actress = นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
7. Best Original Screenplay = บทภาพยนตร์ดั่งเดิมยอดเยี่ยม
8. Best Adapted Screenplay = บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม
9. Best Animated Feature = ภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดเยี่ยม
10. Best Art Direction = กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม
11. Best Cinematography = ภาพถ่ายยอดเยี่ยม
12. Best Costume Design = การออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม
13. Best Documentary Feature = สารคดีเรื่องยาวยอดเยี่ยม
14. Best Documentary Short Subject = สารคดีเรื่องสั้นยอดเยี่ยม
15. Best Film Editing = การตัดต่อภาพยอดเยี่ยม
16. Best Foreign Language Film = สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม
17. Best Makeup and Hairstylist = การแต่งหน้ายอดเยี่ยม
18. Best Original Song = เพลงประกอบยอดเยี่ยม
19. Best Original Score = ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม
20. Best Animated Short Film = ภาพยนตร์อนิเมชั่นแบบสั้นยอดเยี่ยม
21. Best Live Action Short Film = ภาพยนตร์ไลฟ์แอ็คชั่นยอดเยี่ยม
22. Best Sound Mixing = การปรับเสียงยอดเยี่ยม
23. Best Sound Editing = การตัดต่อเสียงยอดเยี่ยม
24. Best Visual Effects = เอฟเฟ็กซ์ภาพยอดเยี่ยม

 

รีวิว หนังรางวัลออสการ์  5 เรื่อง ที่ใครก็การันตีความสนุก!

 

และซึ่งในปีนี้ก็เป็นอีกปีที่การประกาศผลหนังรางวัลออสการ์เป็นที่จับตามอง
ดังนั้น Clubsister ขอเริ่มรีวิวหนังเรื่องแรกที่เข้าชิงรางวัลกันเลย

เรื่องที่ 1: Parasite
กำกับโดย: บองจุนโฮ
เข้าชิงรางวัลสาขา: Best Picture, Best Director, Best Original Screenplay,
Best Foreign Language Film,
Best Production Design, Best Film Editing

รางวัลที่ได้: Best Picture, Best Director, Best Original Screenplay, Best Foreign Language Film

 

หนังรางวัลออสการ์

พูดถึงเรื่องราวของครอบครัวคิม ซึ่งประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูกชาย และลูกสาว เป็นองค์ประกอบที่ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ทว่าครอบครัวนี้มีฐานะยากจน ไม่มีงานทำ อาศัยอยู่ในบ้านที่เหมือนอยู่ในชุมชนแออัด ที่ตั้งอยู่ในส่วนที่ลึกของเมือง อยู่มาวันหนึ่งเพื่อนสนิทของ คิมกีอู กำลังเดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาต่อ เลยแนะนำงานเป็นครูติวเตอร์ภาษาอังกฤษให้ลูกสาวบ้านเศรษฐีคนหนึ่ง จากวันที่คิมกีอูได้เข้าไปเหยียบบ้านหลังนั้น บ้านของเขาและเศรษฐีก็เริ่มเปลี่ยนไปทีละเล็กละน้อย และเขาก็ได้ไปล่วงรู้ความลับที่ไม่ควรจะรู้เข้า จนเกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่ไม่มีวันลืม สิ่งที่เราชอบของหนังเรื่องนี้คงหนีไม่พ้นการตีแผ่ความจริงอันแสนโหดร้ายในโลกที่สุดแสนจะธรรมดาได้อย่างบาดลึกและเฉียบขาด สิ่งที่หนังทำออกมาได้ดีเลยคือการบรรยายสัมผัสของมนุษย์ที่สามารถบ่งบอกอัตลักษณ์ต่างๆ ของสิ่งเหล่านั้นได้ดีเลยอย่างหนึ่ง  นั่นก็คือ “กลิ่น” หนังเรื่องนี้พยายามอธิบายความแตกต่างทางสังคมในแบบง่ายๆ ที่ไม่ว่าใครก็เข้าใจ ผ่านการบรรยายกลิ่น ตัวอย่างเช่น “การบรรยายกลิ่นของคนชนชั้นล่างโดยเปรียบเทียบเป็นกลิ่นอับของรถไฟใต้ดิน” หรือ “กลิ่นที่ติดตัวเราตลอดเวลา” ถึงแม้จะอาบน้ำให้สะอาดขนาดไหนมันก็ยังคงติดตามร่างกายเราไปตลอด และสิ่งสุดท้ายที่ชอบไปไม่น้อยไปกว่าการบรรยายภาพลักษณ์นั่นก็คือ เทคนิคการถ่ายทำและการเล่าเรื่องที่เฉียบขาด แถมด้วยเทคนิคแบบ Long Take ที่ทำให้ฉากนั้นๆ น่าสนใจและส่งอารมณ์ให้กับคนดูได้อย่างดีที่สุด เรากล้าพูดเลยว่า Parasite เป็นภาพยนตร์ที่ตีแผ่สังคมในปัจจุบันได้ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง

ปล. เราแอบเชียร์ให้เรื่องนี้ได้รับ Best Picture อยู่แหละ ><

 

เรื่องที่ 2: Joker
กำกับโดย: ท็อดด์ ฟิลลิปส์
เข้าชิงรางวัลสาขา: Best Actor, Best Picture, Best Director, Best Original Music Score, Best Adapted Screenplay, Best Cinematography, Best Costume Design, Best Sound Mixing, Best Makeup and Hairstylist, Best Film Editing, Best Film Editing

รางวัลที่ได้รับ: Best Actor, Best Original Music Score

 

หนังรางวัลออสการ์

Joker เป็นหนังที่สะท้อนสังคมไม่ใช่แค่ยุคสมัยเศรษฐกิจตกต่ำ แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัจจุบัน ยุคที่เทคโนโลยีล้ำสมัยแต่จิตใจคนกลับต่ำเตี้ยยิ่งกว่าอะไร  Joker หรือในชื่อก่อนเข้าวงการตัวร้ายนั้นคือ อาเธอร์ เฟล็ค ตัวตลก ผู้มีความฝันอยากเป็นนักพูดเดี่ยวไมโครโฟนผู้สร้างเสียงหัวเราะและรอยยิ้มให้กับผู้คน แต่ในทางกลับกันเขากลับเป็นผู้ป่วยทางจิตในสภาวะ Emotional incontinence ที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ รวมถึงในสภาพแวดล้อมและสังคมที่เขาเจอ กลับทำให้ตัวตลกและคนสร้างเสียงหัวเราะอย่างเขากลายเป็นเศษฝุ่นที่ไม่มีใครต้องการ

ด้วยเหตุนี้ความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของอาเธอร์คงหนีไม่พ้นการนั่งฟังรายการที่ตนเองชอบ พร้อมจินตนาการ ไปกับเสียงหัวเราะปลอมๆ กับภาพในหัวของตนเอง และท้ายที่สุดแล้วเมื่อโลกมันโหดร้ายเกินไปที่คนตัวเล็กจิตใจบอบบางจะอยู่ได้ เพราะเหตุนี้เขาจึงต้องร้ายกับโลกที่เจอบ้าง ระหว่างที่ดูนั้น เราไม่แปลกใจเลยว่าทำไมคนๆ หนึ่งถึงได้บ้าและร้ายกาจได้ขนาดนี้ และเข้าใจเลยว่าทำไมคนเราถึงสามารถทำร้ายคนอื่นได้อย่างไม่รู้สึกว่า นั่นคือสิ่งผิด เพราะตลอดระยะเวลาที่อาเธอร์มีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ แม้กระทั่งความรักหรือการแบ่งปันน้ำใจจากเพื่อนมนุษย์ธรรมดาด้วยกัน เขาแทบไม่เคยได้รับมัน ไม่มีแม้กระทั่งโอกาสที่จะได้พูดหรือร้องขอความเห็นใจ ผู้คนต่างมองเขาเป็นแค่ตัวประหลาด แถมผลักไสและยังปฏิบัติต่อเขาเหมือนเป็นเพียงเศษขยะชิ้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เราถึงเข้าใจว่า “เพราะโลกบีบให้ฉันต้องบ้า” มันเป็นยังไง

ปล. เรื่องนี้เราเชียร์สาขา Best Actor สุดใจเลยจริงๆ 

 

เรื่องที่ 3: Bombshell
กำกับโดย: เจย์ โรช
เข้าชิงรางวัลสาขา: Best Actress, Best Supporting Actress, Best Makeup and Hairstyling

รางวัลที่ได้รับ: Best Makeup and Hairstyling 

 

 หนังรางวัลออสการ์

Bombshell เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงสุดกระฉ่อนวงการสื่อ โดยพูดถึงเกรทเช่น คาร์ลสัน ผู้ประกาศข่าวช่อง FOX ที่เคยโด่งดังในรายการข่าวเช้า อยู่ๆ เธอก็ถูกปลดพร้อมปรับเปลี่ยนเวลาในการออกอากาศของเธอให้มาอยู่ในช่วงบ่าย (ซึ่งไม่ค่อยมีคนดู) จึงทำให้เรตติ้งของเธอตกฮวบ และเป็นเหตุทำให้เธอถูกปลดจากผู้ประกาศข่าวและไล่ออกจาก FOX NEWS แต่แล้วหลังจากนั้น เกรทเช่น ยื่นฟ้องผู้บริหารอย่าง โรเจอร์ ว่าเหตุผลที่เธอถูกไล่ออกเพราะ เธอไม่ยินยอมกับการละเมิดทางเพศจากโรเจอร์ ดังนั้นนั่นคือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เธอถูกบีบคั้นจากการทำงานและถูกไล่ออกในที่สุด สิ่งที่ทำให้เราประทับใจหนังเรื่องนี้เลยคือการตีแผ่ความไม่เท่าเทียมและความเหลื่อมล้ำทางสังคมรวมถึงเพศของสังคมและองกรณ์อย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่าง เช่นการพูดจาแซะแซวของพนักงานตัวเล็กผู้ชายที่พูดใส่พนักงานหญิงว่า “วันนี้ใส่เดรสสวยจัง” หรือ “วันนี้ไม่ใส่กระโปรงมาหรอ?” บางครั้งมันดูเหมือนคำทักทาย
ถามเรื่องทั่วไป แต่ในอีกมุมหนึ่งมันคือการแสดงออกทางความคิดในเรื่องสิทธิส่วนบุคคล และเป็นการคุกคามทางเพศโดยอ้อม หรือรวมไปถึงระดับหัวหน้าใหญ่ที่ใช้เรื่องความฝัน หน้าที่การงาน และเงินทองเป็นสิ่งล่อล่วง โดยต้องแลกกับศักดิ์ศรีและสิทธิของผู้หญิงทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้สุดท้ายเป็นเหมือนรากเหง้าและรากฐานที่นำไปสู่สังคมระดับใหญ่อย่างประเทศ

 

เรื่องที่ 4: Marriage Story
กำกับโดย: โนอาห์ บอมบาค
เข้าชิงรางวัลสาขา: Best Actor, Best Picture, Best Actress, Best Supporting Actress, Best Original Music, Best Original Screenplay

รางวัลที่ได้รับ: Best Supporting Actress

 

 หนังรางวัลออสการ์

 

หากให้พูดถึงเรื่องราวความรักและชีวิตหลังแต่งงานที่สมจริงแบบไม่อิงนิยายแล้วนั้น Marriage Story ถือว่าเป็นภาพยนตร์เข้าชิงรางวัลออสการ์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านี้ออกมาได้อย่างสมบูรร์แบบ โดยเรื่องราวพูดถึง นิโคล นักแสดงละครเวลาที่กำลังมีชีวิตที่ดีและกำลังเดินตามฝันตัวเอง แต่ทว่าตอนนี้เธอกำลังทำเรื่องหย่าร้างกับแฟนหนุ่มผู้กำกับละครเวลาอย่าง ชาลี เรื่องราวดูเหมือนจะเป็นแค่การหย่าร้าง กันตามปกติ แต่ทว่าสิ่งที่หนังเรื่องนี้นำเสนอออกมานั้น ลึกซึ้งและกินใจคนดูเป็นที่สุด เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอความคิด ทัศนคติ และความรักแบบจริงๆ ในชีวิตของชายหญิงคู่หนึ่งได้ดี พร้อมทั้งยังตีแผ่กระบวนการยุติธรรมในสหรัฐอเมริกาที่ในคดีหย่าร้างนั้น สุดท้ายแล้วยังไง อำนาจการต่อรองมักโอนเอนไปทางผู้หญิงหรือฝ่ายแม่เสมอ แต่ยังไงเสียสุดท้ายแล้วหนังพยายามบอกว่า “ชีวิตคู่ที่แท้จริงแล้ว ไม่ได้มีแค่คำว่ารักอย่างเดียวเท่านั้น”

 

ปล. หนังเรื่องนี้เป็นผลงานของ Original NETFLIX ซึ่งบอกเลยว่าเฉียบขาดมาก และรู้สึกดีใจด้วยที่ NETFLIX ได้มีผลงานเข้าชิงรางวัลใหญ่แบบนี้ อีกอย่างคือเราเชียร์ Supporting Actress เรื่องนี้สุดใจเพราะเจ๊แกเล่นดีจริงๆ 

 

เรื่องที่ 5: Little Women
กำกับโดย: เกรต้า เกอร์วิก
เข้าชิงรางวัลสาขา: Best Picture, Best Actress, Best Supporting Actress, Best Original Music, Best Adapted Screenplay, Best Costume Design

รางวัลที่ได้รับ: Best Costume Design

 

 หนังรางวัลออสการ์

Little Women หรือ ในชื่อไทยที่ดูมีเอกลักษณ์อย่าง “สี่ดรุณี” ว่าด้วยเรื่องของ 4 สาวพี่น้องที่กำลังอยู่ในวัยบานสระพรั่งอย่าง เม็ก เด็กสาวผู้รักในการแสดงและมีความฝันอยากเป็นนักแสดงมืออาชีพ, เอมี่ ผู้มีรักในศิลปะ, โจ หญิงสาวผู้มีความฝันและรักในบทประพันธ์ และอีกหนึ่งเบ็ธ น้องสาวคนสุดท้อง แต่สิ่งที่เหล่าเด็กสาวทั้งหมดต้องเผชิญในยุคนี้คือ ยุคที่ต้องรองรับแรงกดดันจากสังคม พร้อมกับตีกรอบของผู้หญิงที่ว่า หากไม่มีความสามารถหรือความสำเร็จได้นั้น สิ่งเดียวที่อยากจะสุขสบายก็คือการแต่งงานกับผู้มีฐานะ ซึ่งหนังเรื่องนี้ เป็นหนังที่ตีแผ่ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณีและค่านิยมในยุคนั้นได้อย่างเฉียบขาด พร้อมทั้งสะท้อนการต่อสู้ของ Women Power ในยุคก่อนได้ดีที่สุด

และแล้วการรีวิว หนังรางวัลออสการ์ ก็ได้ดำเนินมาจนถึงเรื่องสุดท้ายแล้ว ยังไงหากมี Topic ไหนเกี่ยวกับหนังที่น่าสนใจเราสัญญาจะมี updated ให้สาวๆ อย่างแน่นอนค่ะ 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม:
 imdb.com
guru.sanook.com
imdb.com
wikipedia.org
thestandard

Comments

comments