เทรนด์การ เจาะร่างกาย ตอนนี้เป็นกระแสมาก เพราะดาราชื่อดังจากประเทศเกาหลีใต้ อย่าง ฮันโซฮี มีการเจาะตามแก้ม ปาก ให้ลุคสุดเฟียซ ที่ทำเอาแฟนคลับทั่วโลกฮือฮาในความเท่ของนาง โดย ฮันโซฮี ได้ออกมาไลฟ์ พูดคุยกับแฟน ๆ ของเธอ พร้อมเปิดลุคกร้าวใจ หลังเจ้าตัวตัดสินใจไปเจาะปาก และโหนกแก้ม แถมตัดหน้าม้า เหล่าผู้ติดตามก็ต่างชมในความกล้าในการแสดงตัวตน เอาล่ะ ใครที่มีแพลนจะเจาะร่างกาย ต้องรออ่านเลยนะ เพราะ วันนี้เราจะพารู้จักการ เจาะร่างกาย ข้อมูลต่าง ๆ ที่ควรรู้ก่อนการเจาะร่างกาย พร้อมวิธีการดูแลหลังการเจาะ 

การเจาะร่างกาย (Body Piercing) คือ ความสวยงามที่มากับความเจ็บปวด การเจาะร่างกายนี้มีประวัติมานานหลายพันปี ซึ่งเป็นมากกว่าแฟชั่น แต่เป็นวัฒนธรรมรูปแบบหนึ่งที่อยู่คู่กับอารยธรรม ศาสนา ความเชื่อ และขนบธรรมเนียม

เจาะร่างกาย

อยากเท่เหมือนฮันโซฮีต้องรู้ เจาะร่างกาย มีวิธีดูแลตัวเองยังไงบ้าง

 

การเจาะปลอดภัยหรือไม่?

การเจาะมักจะปลอดภัยเมื่อทำในสภาพแวดล้อมที่สะอาด และเป็นมืออาชีพ แต่หากอุปกรณ์เจาะไม่สะอาดก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางเลือดได้ 

  • โรคตับอักเสบบี
  • โรคตับอักเสบซี
  • บาดทะยัก
  • เอชไอวี

อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อ (ปราศจากเชื้อโรค) แต่อาจจะเสี่ยงติดโรค

  • การติดเชื้อเรื้อรัง
  • โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
  • ฝี (บริเวณผิวหนังที่เต็มไปด้วยหนองและเจ็บปวด)
  • การอักเสบหรือความเสียหายของเส้นประสาท
  • มีเลือดออกเป็นเวลานาน

โรคประจำตัวที่จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำการเจาะ 

  • เป็นเบาหวาน
  • มีภาวะหัวใจ
  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • กำลังตั้งครรภ์
  • ทานอาหารเสริมสมุนไพร

วิธีเช็คความปลอดภัย และปลอดเชื้อของร้านเจาะ

  • ผู้เจาะล้างมือด้วยสบู่ฆ่าเชื้อโรค
  • คนเจาะสวมถุงมือแบบใช้แล้วทิ้งที่สดใหม่
    ร้านสะอาด.
  • ทางร้านใช้เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อ (เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อแบบพิเศษ)
  • อุปกรณ์ผ่านการฆ่าเชื้อหรือใช้แล้วทิ้ง
  • เข็มเป็นของใหม่และทิ้งในภาชนะพิเศษหลังการใช้งาน

ฉันควรเจาะด้วยปืนเจาะหรือเข็ม?

โดยทั่วไปแล้วเข็มจะถือว่าสะอาดกว่า และฆ่าเชื้อได้ง่ายกว่าปืนเจาะ ช่างเจาะของคุณควรใช้ปืนเจาะที่ใช้เพียงครั้งเดียว หรือมีตลับเทปฆ่าเชื้อแบบใช้แล้วทิ้งเท่านั้น ปืนเจาะควรใช้กับการเจาะติ่งหูเท่านั้น นั่นเป็นเพราะว่าพวกมันสามารถทำให้เนื้อเยื่อผิวหนังเสียหายได้มากกว่าเข็ม “ไม่ใช่แค่จะทำให้ติ่งหูเป็นแผลบาดเจ็บ แต่จะทำให้เกิดแผลเป็นขรุขระอยู่ด้านในรูที่เอาไว้ใส่เครื่องประดับ” นอกจากนั้น ปืนยังไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ ในขณะที่รูที่เกิดจากการเจาะด้วยเข็มแผลจะหายเร็วกว่ามาก และเจ็บน้อยกว่าด้วย


การเจาะของฉันจะใช้เวลานานเท่าใดจึงจะหายดี?

เวลาในการรักษาอาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการเจาะ และนี้คือเวลาในการรักษาโดยเฉลี่ยสำหรับการเจาะโดยทั่วไป และวิธีการดูแลรักษาหลังเจาะ

  • ใบหูส่วนล่าง: 6 ถึง 8 สัปดาห์ (ใช้น้ำเกลือที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วล้างวันละ 2-3 ครั้ง)
  • กระดูกอ่อนใบหู: 4 เดือนถึง 1 ปี  (ใช้น้ำเกลือที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วล้างวันละ 2-3 ครั้ง)
  • คิ้ว: 6 ถึง 8 สัปดาห์ (ใช้เกลือทะเลที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ทำความสะอาดวันละ 2-3 ครั้ง)
  • รูจมูก: 2 ถึง 4 เดือน  (ใช้น้ำเกลือที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วล้างวันละ 2-3 ครั้ง)
  • เยื่อบุโพรงจมูก: 6 ถึง 8 เดือน  (ใช้น้ำเกลือที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วล้างวันละ 2-3 ครั้ง)
  • ลิ้น: 4 สัปดาห์  (หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ในระหว่างที่แผลยังไม่หายดีเพื่อป้องกันการบวม และการอักเสบ ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ปราศจากแอลกอฮอล์วันละ 3-4 ครั้ง แต่อย่าใช้เยอะจนเกินไป)
  • ริมฝีปาก: 2 ถึง 3 เดือน (แนะนำน้ำยาบ้วนปาก สูตรปราศจากแอลกอฮอล์)
  • สะดือ: 4 เดือนถึง 1 ปี  (ใช้น้ำเกลือที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วล้างวันละ 2-3 ครั้ง)
  • หัวนม:  4 ถึง 6 เดือน (ใช้น้ำเกลือที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วล้างวันละ 2-3 ครั้ง)
  • อวัยวะเพศ: 10 ถึง 12 เดือน (ใช้น้ำเกลือที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วล้างวันละ 2-3 ครั้ง)

เคล็ดลับทำความสะอาดแผลเจาะใหม่

หลังจากเจาะร่างกายแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องดูแลแผล ในช่วงแรก เพราะเป็นช่วงที่แผลยังไม่หาย มีความเสี่ยงติดเชื้อ 

  1. ก่อนสัมผัสแผลให้ล้างมือด้วยน้ำ และสบู่เพื่อชะล้างแบคทีเรียที่อาจติดอยู่ที่มือ
  2. ใช้น้ำเกลือปราศจากเชื้อ 0.9% ทำความสะอาดบริเวณแผลที่เจาะ
  3. ใช้ผ้าก๊อซซับแผลเบา ๆ (ห้ามเช็ด) เพื่อให้แผลแห้ง
  4. ไม่สัมผัสบริเวณแผลที่มีสะเก็ดหรือคัน และไม่ควรถอดเครื่องประดับออกถ้าแผลยังไม่หายดี
  5. อย่านอนทับบริเวณที่แผลเจาะ การนอนทับหรือกดทับแผลเจาะ อาจทำให้แผลระคายเคืองได้ ถ้าสังเกตพบว่าแผลมีอาการติดเชื้อ เช่น อาการปวด บวม แดงร้อน มีหนอง เป็นไข้ ควรพบแพทย์

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างวัน เพื่อไม่ให้แผลเจาะสะดือ และแผลเจาะหูติดเชื้อ

  • ไม่ควรจับแผล หากไม่จำเป็น เพราะมือของเราอาจมีแบคทีเรียได้
  • ในระยะที่แผลยังไม่หาย ไม่ควรเล่นน้ำทะเล สระว่ายน้ำ หรือ แช่น้ำร้อน เพราะแหล่งน้ำเหล่านี้อาจมีเชื้อโรคได้
  • ไม่ควรใช้โลชั่น สเปรย์ หรือ แป้งให้โดนแผล

ทั้งหมดนี้คือวิธีดูแลแผลหลังเจาะ ควรดูแลความสะอาดแผล ใช้น้ำเกลือล้างแผลชนิดปราศจากเชื้อในการทำความสะอาดแผล และหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆที่อาจทำให้แผลติดเชื้อ


อาการแพ้โลหะ 
บางคนมีความรู้สึกไวต่อเครื่องประดับโลหะบางประเภท สัญญาณที่คุณอาจแพ้การเจาะครั้งใหม่ ได้แก่ รอยแดง มีอาการคันหรือแสบร้อนเมื่อทำความสะอาดการเจาะ ผื่นรอบ ๆ รอยเจาะ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาการแพ้ แนะนำให้ใช้เฉพาะโลหะที่ไม่เป็นพิษ อย่าง เหล็กเกรดศัลยกรรม ทองคำ 14 หรือ 18 กะรัต ไนโอเบียม และแพลตตินัม

สำหรับคนที่คนแพ้ง่ายมาก ๆ จะแนะนำ ไทเทเนียมเป็นวัสดุที่เหมาะสมที่สุดที่จะใส่ไว้กับร่างกาย เพราะธาตุตัวนี้ผ่านการทดสอบมาแล้วว่าใช้แล้วไม่แพ้ แต่ก็มีบางเคส แต่น้อยมากจริง ๆ ที่จะพบว่าแพ้ ไทเทเนียมปลอดภัยกว่าสเตนเลสแบบ implant-grade เพราะโลหะผสมพวกนั้น ในบางเกรดจะยังคงมีคาร์บอน และนิกเกิลผสมอยู่ ซึ่งมีโอกาสแพ้สูง

 

 

นี้ก็เป็นวิธีการดูแลการ เจาะร่างกาย รวมถึงสิ่งที่ต้องรู้หลาย ๆ ข้อก่อนการเจาะร่างกาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเจาะร่างกายควรทำกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือช่างผู้มีความชำนาญ เนื่องจากบริเวณต่าง ๆ บนร่างกายนั้นประกอบด้วยเนื้อเยื่อ เส้นประสาท และกล้ามเนื้อ และเราควรใส่ใจในเรื่องความสะอาด เพราะอาจจะเสี่ยงติดเชื้อได้

 

 

Photo Credit:

p1

Source Credit:

webmd

gqthailand

Comments

comments