Subscribe Now

* You will receive the latest news and updates on your favorite celebrities!

Trending News

Stay connected

Trending News

รวมวิธีเอาตัวรอดจาก 7 โรคหน้าร้อน พร้อมบอกวิธีการดูแลตัวเอง
โรคหน้าร้อน
Health

รวมวิธีเอาตัวรอดจาก 7 โรคหน้าร้อน พร้อมบอกวิธีการดูแลตัวเอง

ในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ นอกจากความร้อนที่ร้อนแบบสุด ๆ แล้ว หน้าร้อนยังทำให้เราเจ็บป่วยกันง่ายขึ้น ทั้งจากน้ำดื่ม อาหารที่ไม่สะอาด และอาหารเสียง่าย ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดหลาย ๆ โรคเลย โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินอาหาร และโรคระบบทางเดินหายใจ วันนี้เราเลยนำความรู้ โรคหน้าร้อน มาฝากเพื่อน ๆ  มาดูเลยว่าจะมีโรคไหนบ้าง และวิธีป้องกันตัวเองให้อยู่รอดปลอดภัยจากโรคนั้น ๆ มาดูกันเลยดีกว่า เพื่อสุขภาพที่ดีในหน้าร้อนนี้ !

 

รวมวิธีเอาตัวรอดจาก 7  โรคหน้าร้อน พร้อมบอกวิธีการดูแลตัวเอง

 

1. โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก

โรคนี้จะมีอาการปวดมึนศีรษะ คลื่นไส้  อาเจียน ตัวร้อน กระหายน้ำ เหงื่อออกมากจนไม่มีเหงื่อ หัวใจเต้นแรง เป็นตะคริว เดินเซ  โดยวิธีช่วยขั้นต้น ได้แก่ พาผู้ป่วยเข้าที่ร่ม นอนราบกับพื้นยกเท้าทั้ง 2 ข้าง คลายเสื้อผ้าให้หลวม เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ต่ำที่สุด ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบตามข้อพับต่าง ๆ ถ้าอยู่ในขั้นหมดสติ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

วิธีป้องกันตัวเองจาก โรคลมแดด

  1. หลีกเลี่ยงทำกิจกรรมที่แจ้งที่มีอากาศร้อนมาก ๆ
  2. แนะนำให้สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ไม่หนา เพราะจะช่วยให้ระบายความร้อนได้ดี
  3. จิบน้ำบ่อย ๆ  จะช่วยเติมความชุ่มชื้น และลดอุณหภูมิให้กับร่างกาย
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา รวมถึงกาแฟ และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง
  5. อย่าทิ้งเด็กผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้ง ความร้อนภายในรถจะมีโอกาสเสี่ยงสูงมาก
  6. ผู้ที่ออกกำลังกาย ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก และมีการวอร์มอัพก่อนทุกครั้ง
  7. สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง

 

 

2.โรคอาหารเป็นพิษ หรือท้องร่วง

โรคนี้เกิดจากการรับประทายอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค ซึ่งมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดท้องรุนแรง หน้ามืด ตอนที่อาการรุนแรงต้องรีบพบแพทย์  และควรดื่มน้ำผสมเกลือแร่เติมสารเหลวเข้าร่างกายเพื่อป้องกันอาการช็อก และเสียชีวิต

วิธีป้องกันตัวเองจาก โรคอาหารเป็นพิษ

  1. รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดีอยู่ตลอด ให้ความสำคัญกับการล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ให้สะอาด และล้างทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
  2. ควรรับประทานอาหารเมื่อปรุงเสร็จทันที หรือสุกใหม่ ๆ และเลือกอาหารที่ไม่มีแมลงวันตอม อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ควรเลี่ยงไปก่อนในช่วงนี้
  3. ไม่นำอาหารที่ปรุงสุก แล้วมาปนกับอาหารดิบอีก เพราะอาหารที่สุกอาจปนเปื้อนเชื้อโรคจากอาหารดิบได้
  4. เมื่อละลายอาหารในช่องแช่เย็นแล้ว ไม่ควรวางทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง เพราะจะเป็นการเพิ่มปริมาณของเชื้อโรค
  5. รักษาความสะอาดของอาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ เครื่องปรุงอาหารต่าง ๆ เครื่องใช้ในครัว และห้องครัวให้สะอาดอยู่เสมอ

 

3.โรคพิษสุนัขบ้า

โรคที่เกิดจากสุนัขกัด / ข่วน ทั้งลูกสุนัข สุนัข รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด  วิธีดูแลหลังถูกกัก / ข่วน ต้องล้างสบู่ หรือน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง แผลใส่ยาก่อนไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ประเมินความเสี่ยง และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

วิธีป้องกันตัวเองจาก โรคพิษสุนัขบ้า

  1. อย่าแหย่ ให้สุนัขโมโห
  2. อย่าเหยียบ หาง หัว ตัว ขา หรือทำให้สุนัขตกใจ
  3. อย่าแยก สุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า
  4. อย่าหยิบ จานข้าว หรือเคลื่อนย้ายอาหาร ในตอนที่สุนัขกำลังกินอาหาร
  5. อย่ายุ่ง หรือเข้าใกล้สุนัขที่ไม่รู้จัก หรือไม่มีเจ้าของ

 

โรคหน้าร้อน

 

4.โรคไข้เลือดออก

สภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวน มีฝนตกสลับกับมีอากาศร้อน อาจทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาการของผู้ที่ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการไข้สูงมากโดยฉับพลัน 2-3 วัน ปวดเมื่อย หน้าตาแดง อาจมีผื่นขึ้นใต้ผิวหนังแขนขา และข้อพับ เมื่อมีอาการต้องพบแพทย์

วิธีป้องกันตัวเองจาก โรคไข้เลือดออก

  1. ควรเปลี่ยนน้ำในแจกัน หรือกระถางอยู่เสมอ
  2. ขจัดแหล่งน้ำขังที่มีอยู่ที่มีอยู่ในบริเวณบ้าน หรือตามแจกันดอกไม้
  3. คว่ำภาชนะเก็บน้ำที่ไม่ใช้งาน เพื่อป้องกันน้ำขัง
  4. ติดตั้งมุ้งลวดที่ประตูหน้าต่าง และควรปิดประตู – หน้าต่างทุกครั้ง
  5. ทำความสะอาดท่อระบายน้ำ และใส่ยากันยุงในรางน้ำฝนทุกเดือน

 

โรคหน้าร้อน

 

5. โรคอหิวาตกโรค

โรคนี้มีอาการคล้ายกับโรคอุจจาระร่วง สาเหตุของโรคมาจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า Vibrio Cholerae ที่เข้าสู่ร่างกายของเรา ซึ่งเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหาร แบคทีเรียนี้จะเข้าไปอยู่ในบริเวณลำไส้ และสร้างสารพิษขึ้นมาทำปฏิกิริยากับเยื่อบุผนังลำไส้ ทำให้เกิดอาการถ่ายออกมาเป็นจำนวนมาก มีเนื้ออุจจาระน้อยหรือเป็นน้ำ  จะทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรง บางครั้งอาจจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน แต่ส่วนใหญ่ถ้าคนเป็นโรคนี้จะไม่มีไข้ และไม่ปวดท้อง แต่ก็ควรระมัดระวังความสะอาดของอาหารที่เรารับประทาน

วิธีป้องกันตัวเองจาก โรคอหิวาตกโรค

  1. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างให้สะอาดทุกครั้งก่อนใช้ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง สุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่ปรุงไว้นาน ๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม
  2. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หรือก่อนปรุงอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
  3. ถ่ายลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ไม่เทอุจจาระ ปัสสาวะ และสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง หรือทิ้งเรี่ยราด
  4. ระวังไม่ให้น้ำเข้าปาก เมื่อลงเล่น หรืออาบน้ำในลำคลอง
  5. การรับวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันโรคเท่านั้น

 

โรคหน้าร้อน

 

 

6. โรคไข้ไทฟอยด์

 

โรคไข้ไทฟอยด์มีสาเหตุมาจากร่างกายที่ได้รับแบคทีเรีย Salmonellra Typhi ที่มักจะเจือปนอยู่ในน้ำ และอาหาร โดยจะเริ่มแสดงอาการเมื่อมีแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในตัวหลังจาก 1-2 สัปดาห์ จากนั้นจะตามมาด้วยอาการปวดหัว ปวดตามตัว และมีไข้สูง มีอาการท้องร่วง ผื่นขึ้นตามตัว ใครที่เป็นโรคนี้มักจะหายเองภายใน 3-4 สัปดาห์  ทางที่ดีแนะนำให้รีบไปหาหมอดีกว่า

วิธีป้องกันตัวเองจาก โรคไข้ไทฟอยด์

  1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ไทฟอยด์
  2. ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนรับประทานอาหาร ก่อนเตรียมอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร และน้ำดื่มที่ไม่ดูไม่สะอาด ไม่ปลอดภัย
  4. หลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้ดิบ
  5. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้ว
  6. ระมัดระวังไม่แพร่เชื้อด้วยการสัมผัส หรือเตรียมอาหารให้ผู้อื่น จนกว่าจะได้รับคำยืนยันจากแพทย์ว่าหยุดแพร่เชื้อแล้ว

 

7. โรคบิด

 

โรคนี้จะเกิดขึ้นจากไวรัสที่ชื่อว่า เรบีส์ไวรัส (บิดไม่มีตัว) และ ดะมีบยา (บิดมีตัว) ถ้าหากติดเชื้อแบบไม่มีตัว ช่วงแรกจะมีอาการรุนแรง มีไข้สูง อาเจียน ถ่ายเป็นเลือดและมีหนองปน ถ่ายน้อยแต่บ่อยมาก ถ้าปล่อยให้อ่อนแอ อาจจะเกิดอาการชักได้ หากติดเชื้อแบบมีตัว มักจะไม่ค่อยมีอะไรช่วงแรก แต่อาจจะมีอาการบิดเฉียบผลัน มีไข้สูง หนาวสั่น อุจจาระร่วง เชื้อแพร่ไปตามกระแสโลหิต ซึ่งอาจจะเกิดฝีที่ตับ ปอดหรือสมอง และต้องรีบไปหาหมอเมื่อรู้สึกมีอาการไม่ดี

วิธีป้องกันตัวเองจาก โรคบิด

  1. การล้างมือให้สะอาด ทั้งก่อนการปรุงอาหาร และก่อนรับประทานอาหาร และหลังการเข้าห้องน้ำ
  2. ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก หรือน้ำดื่มบรรจุขวดที่ผ่านเครื่องกรองน้ำที่ได้มาตรฐาน
  3. รับประทานอาหารปรุงสุกในขณะที่ยังร้อนอยู่
  4. เลือกอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย
  5. เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลงวัน หนู หรือสัตว์อื่นๆ
  6. ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ อย่าถ่ายลงคลองหรือตามพื้นดิน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค
  7. ทิ้งขยะในถังขยะที่มีฝาปิด และกำจัดขยะอย่างสม่ำเสมอ

 

จบไปแล้ว กับวิธีดูแลตัวเองในช่วงหน้าร้อนให้ปลอดภัยจากโรค วิธีง่าย ๆ เลยคืออยากให้เพื่อน ๆ ล้างมือให้สะอาด รับประทานของปรุงสุก ดูแลสุขอนามัยให้ดี ประมาณนี้ ก็ช่วยให้เพื่อน ๆ ปลอดภัยจากหลายโรคในหน้าร้อนแล้วค่ะ วันนี้เราขอตัวไปก่อน ดูแลสุขภาพกันด้วยนะ บ๊ายบาย

 

 

 

 

Photo Credit:

thaksinhospital

prachachat

 

Source Credit:

tqm

today.line.me

vichaiyut

tokiomarine

tokiomarine

thaihealth

sanook

 

 

Comments

comments

Related posts