สวัสดีค่ะ เพื่อน ๆ ชาว Clubsister ทุกคน เนื่องจากช่วงหลัง ๆ มานี้ รู้สึกว่าสังคมประเทศเรา ได้มีการเปิดรับผ้าอนามัย แบบอื่น ๆ นอกจากแบบแผ่น เข้ามา เป็นที่นิยม กันมาขึ้น นั่นก็คือ แบบสอด และ ถ้วยอนามัยนั่นเอง หลาย ๆ คนเปิดใจ ลองใช้ก็ติดใจไปตาม ๆ กัน แต่บางคนก็อาจจะยัง กล้า ๆ กลัว ๆ กันอยู่บ้าง งั้นวันนี้ เราจะพาทุกคนมาเปรียบเทียบ ผ้าอนามัยแบบต่าง ๆ กันค่ะ ว่า ผ้าอนามัยแบบไหนเหมาะกับเรา จะเปลี่ยนไปใช้แบบอื่นดีไหม ถ้าเปลี่ยน จะเปลี่ยนไปใช้แบบไหนดี

 

ผ้าอนามัย ถ้วยอนามัย ผ้าอนามัยแบบสอด ผ้าอนามัยแบบไหนเหมาะกับเรา !?

 

ผ้าอนามัย (Sanitary pads)

ผ้าอนามัยแบบไหนเหมาะกับเรา

 

คงจะเป็น ไอเท็ม ที่คนส่วนใหญ่ในประเทศไทย รู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะผู้หญิง และ ผู้ที่มีประจำเดือน (ชายข้ามเพศ หรือ อื่น ๆ ) ในประเทศเรา ใช้เจ้าสิ่งนี้ กันอย่างแพร่หลาย ใช้กันมาอย่างยาว ตั้งแต่ รุ่นย่า รุ่นยาย มีวางขายหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายรูปแบบ ทั้งความบาง ความยาว กลิ่น มีผลิตออกมาให้เราเลือกเยอะมาก ๆ

 

วิธีการใช้ ก็คงจะไม่ต้องอธิบายอะไรมาก คาดว่าน่าจะใช้เป็นกันทุกคนอยู่แล้ว ก็แค่แกะแผ่นกาว แล้วแปะกับกางเกงใน เท่านั้นเอง

 

ข้อดี

  • ใช้งานง่าย ตามความเคยชิน
  • มีหลายยี่ห้อ และ หลายรูปแบบให้เลือก เช่น ผ้าอนามัยแบบกางเกง ผ้าอนามัยกลิ่น cooling fresh
  • ราคาจ่ายต่อครั้ง ถูกกว่าแบบอื่น ถึงแม้ว่าในระยะยาว ถ้วยอนามัยจะตอบโจทย์มากกว่า ในแง่การประหยัด แต่ก็ต้องยอมรับว่า ไม่ใช่ทุกคน จะพร้อมเจียดเงินหลักพัน ไปซื้อถ้วยอนามัย ยังไง ๆ ผ้าอนามัย มีราจ่ายต่อครั้งที่ถูกกว่าอยู่ดี

 

ผ้าอนามัยแบบไหนเหมาะกับเรา

 

ข้อเสีย

  • อับชื้น ไม่สบายตัว ด้วยความที่ เม็น มันก็คือของเหลว ที่มารวมกันอยู่ตรงจุดที่ ไม่ได้มีอากาศถ่ายเทสะดวกน่ะนะ พวกเราหลาย ๆ คน ก็คงต้องเคยประสบปัญหา ไม่สบายตัว คัน รู้สึกชื้น ๆ ที่ตรงนั้น ยิ่งในวันแรก ๆ ของเดือน หรือ อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สะดวกเปลี่ยนผ้าอนามัย มันทรมานมาก ๆ เลยล่ะค่ะ
  • กลิ่น ต่อมาจากข้อที่แล้วเลย พอประจำเดือนออกมาเริ่มเยอะ ก็จะส่งกลิ่นออกมา ซึ่งมันคือกลิ่นประจำเดือนของเราที่อับจากผ้าอนามัย ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีกลิ่นต่าง ๆ เป็นทางเลือกออกมาแล้ว และบางคนก็ชอบซะด้วย แต่กับบางคน ก็อาจจะไม่ชอบ เนื่องจากไม่ชอบความเย็น หรือไม่ชอบกลิ่นของผ้าอนามัยเองนี่แหละค่ะ
  • ระยะยาวแพงกว่า ถึงแม้จ่ายต่อครั้งจะถูก แต่ถ้ารวมกันแล้ว ก็แพงกว่าถ้วยอนามัยนะ
  • ย่อยสลายยาก ผ้าอนามัย ใช้เวลาย่อยสลายถึง 500-800 ปี แต่ปัจจุบัน เขามีผ้าอนามัย แบบออร์แกนิก ย่อยสลายง่าย แล้วนะ ลองไปหาซื้อดูได้ แต่ราคาก็อาจจะสูงขึ้นนิดนึง
  • ต้องเปลี่ยนบ่อย เพื่อสุขอนามัยที่ดี ควรเปลี่ยนทุก 3-4 ชั่วโมง บางทีมันก็น่ารำคาญอยู่เหมือนกัน
  • เลอะง่าย ถ้าไม่นับผ้าอนามัยแบบกางเกงละก็ ในวันที่มามาก ๆ มักจะเลอะ กกน. อยู่บ่อย ๆ บางทีมันก็ทำให้เราไม่มั่นใจว่าจะเลอะออกมาถึงข้างนอกไหม หรือทำให้กางเกงในดูเก่า
  • ขยับตัวไม่สะดวก บางทีถ้าขยับตัวมาก ๆ ทำกิจกรรมแอคทีฟ หรือ ดิ้นไปมา ระหว่างนอนหลับ ผ้าอนามัย ก็อาจจะม้วนตัว ให้ความรู้สึกเป็นก้อน ๆ น่ารำคาญได้ค่ะ

 

*ทั้งนี้ ข้อเสียต่าง ๆ ที่กล่าวมา ก็อาจแก้ได้โดยการเลือกซื้อ รุ่นที่ทำออกมา เพื่อตอบโจทย์นั้น ๆ โดยเฉพาะ

 

สรุปก็คือ ผ้าอนามัยแบบแผ่น เหมาะกับคนที่ไม่ชอบความยุ่งยาก กลัวการสอดเข้าไปในช่องคลอด ไม่อยากจ่ายแพง ๆ ในครั้งเดียว และ รับข้อเสียต่าง ๆ เช่น ความอับชื่น อึดอัด ไม่สบายตัวได้ คิดว่ามันไม่ได้แย่ขนาดนั้น ฉันก็ใช้ชีวิตได้ปกติดีนี่นา

 

ผ้าอนามัยแบบสอด (tampon)

ผ้าอนามัยแบบไหนเหมาะกับเรา

 

ผ้าอนามัยแบบสอด หรือ แทมปอน มีลักษณะคล้ายกับ เป็นสำลีอัดแข็ง เป็นแท่งเล็ก ๆ และมีเชือกเส้นเล็ก ห้อยออกมาตรงปลาย แม้เมื่อก่อนจะไม่เป็นที่นิยมในไทย แต่ตอนนี้ ก็มีผู้ผลิตผ้าอนามัย ผลิตอนามัยแบบสอด ออกมาให้เลือกกันมากขึ้น

 

วิธีใช้ คือ ล้างมือให้สะอาด อยู่ในท่าที่สะดวกต่อการใส่ เช่น นั่งบนชักโครก หรือยืนแล้วหากที่วางขาข้างนึงให้สูงกว่า หรือจะยืดย่อ ๆ เหมือนสควอตก็ได้ แล้วสอด ผ้าอนามัยเข้าไปในช่องคลอด ใช้นิ้วดันเข้าไปลึก ๆ จนรู้สึกไม่รำคาญ ในกรณีที่มีเครื่องช่วยสอด ก็ดันก้านเข้าไปตามที่กล่องบอกได้เลย เวลาจะถอด ก็แค่ดึงเชือกออกมา

 

ข้อดี

  • คล่องตัวกว่าแบบแผ่น เพราะ ไม่ต้องคอยกังวลว่า ผ้าอนามัย จะม้วนตัวหรือไม่ จะเลอะรึเปล่า ทำให้ใช้ชีวิตอย่างมันใจมากขึ้น
  • ใส่ลงน้ำได้ สระว่ายน้ำไม่แดงแน่นอน
  • เปลี่ยนน้อยครั้งกว่าแบบแผ่น (นิดนึง) เพราะแบบสอดะซึมซับได้มากกว่า โดยควรเปลี่ยนทุก 4-6 ชั่วโมง

 

ข้อเสีย

  • ย่อยสลายยาก ผ้าอนามัยแบบสอด ใช้เวลา 500-1,000 ปีในการย่อยสลาย
  • ใส่ไปเรื่อย ๆ ก็ยังคงไม่สบายตัว เนื่องด้วย เมื่อมันซึบซีบประจำเดือนเยอะ ๆ มันก็จะพองออก และหลาย ๆ ครั้ง มันจะเคลื่อนตัวออกมาใกล้ปากช่องคลอด ทำให้รู้สึกอึดอัดได้เหมือนกัน
  • เสี่ยงต่อ Toxic Shock Syndrome (TSS)  ภาวะนี้ แม้โอกาสเกิดขึ้นมีน้อย แต่ถ้าเกิด ก็เสียชีวิตได้ 
  • แพงกว่า ทั้งใน ระยะสั้น เพราะมันแพงกว่า ผ้าอนามัยแบบแผ่นเกือบ 2 เท่าตัว ส่วนระยะยาวยิ่งแล้วใหญ่ แพงกว่าถ้วยอนามัยแน่นอนจ้า

 

สรุป เหมาะกับคนที่รู้สึกโอเค ในการสอดผ้าอนามัยเข้าไปในช่องคลอด ไม่ชอบความอับชื้น และกลิ่น จากการใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่น แต่ยังไม่อยากใช้ถ้วยอนามัย

 

ถ้วยอนามัย (menstrual cup)

ผ้าอนามัยแบบไหนเหมาะกับเรา

 

หลาย ๆ คนอาจจะรู้จักเจ้าถ้วยนี้กันอยู่แล้ว เพราะว่า เจ้าถ้วยอนามัยนี้ เป็นที่นิยมมากขึ้นเป็นอย่างมาก จากที่แทบไม่มีใครพูดถึงเลย (ปาดน้ำตา) ด้วยกระแสรักษ์โลก ที่ถ้วยอนามัยตอบโจทย์สุด ๆ เพราะใช้ซ้ำได้ถึง 10 ปี และ จากความสะดวกสบายในการใช้ของมัน หลาย ๆ คน จึงติดใจสุด ๆ

 

วิธีใช้ ต้มถ้วยในน้ำเดือด 3-5 นาที ล้างมือให้สะอาด ตั้งท่าให้สบาย พับถ่วยให้เล็ก และสอดเข้าช่องคลอด เวลาถอดก็แค่ออกแรงเบ่ง และดึงถ้วยออกมา

 

ข้อดี

  • ใช้ซ้ำได้ ถึง 10 ปี ลดขยะมาก ๆ ใครอยากช่วยโลก เจ้าตัวนี้คือทางเลือกที่ดีเลย
  • เช็คสุขภาพของได้ง่าย เพราะ เห็นสีประจำเดือนชัดเจน
  • แทบไม่ต้องเปลี่ยนเลย เพราะสามารถใส่ยาวนานได้ถึง 12 ชั่วโมง เรียกได้ว่าใส่ที่บ้าน และกลับมาเปลี่ยนที่บ้านเลยทีเดียว
  • สบายตัวเหมือนไม่ได้ใส่ หมดปัญหา ผ้าอนามัยส่งกลิ่น อึดอัด อับชื้น คันมิจิ แผ่นกาวบาดขาหนีบ ขยับตัวไม่เต็มที่ รำคาญผ้าอนมัยม้วนตัว หรือพองตัว จบจริงจ้ะ คอนเฟิร์ม

 

ข้อกำจัด

ในวันมามาก ถ้าใช้ถ้วยเล็กอาจต้องเปลี่ยนระหว่างวัน แนะนำให้ใช้ไซส์ใหญ่หน่อยจะดีกว่า

 

ข้อเสีย 

  • ต้องเห็นประจำเดือนของตัวเอง และ อาจเลอะมือระหว่างเปลี่ยน(ในช่วงที่ยังไม่โปร) ถึงแม้ว่ามันจะหน้าตาเหมือนเลือดปกติ ไม่แย่เท่าตอนที่อยู่บนผ้าอนามัย แต่สำหรับบางคนอาจะเป็นเรื่องที่ยังรู้สึกรับไม่ได้ หรือขยะแขยงอยู่
  • ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้สรีระของตัวเอง วันแรก ๆ อาจทุลักทุเลในการใส่เสียหน่อย เพราะเรายังไม่รู้มุมนั่นเอง

 

สรุป เหมาะกับคนที่รู้สึกสะดวกใจ จะสอดถ้วยอนามัยเข้าช่องคลอด และ และไม่ชอบความไม่สบายตัวต่าง ๆ แบบตอนใช้ผ้าอนามัย ทั้งแบบแผ่นและแบบสอด อยากลดการสร้างขยะ และโอเค ที่จะเก็บเงินประมาณพันนิด ๆ เพื่อซื้อมัน

 

 

cr. istockphoto  , goodhousekeeping , healthline 

Comments

comments