สวัสดีค่าสาวๆ Clubsister ที่น่ารักทุกคน ช่วงนี้ห่างหายจากการรีวิวหนังและซีรีย์ แต่วันนี้เรากลับมาอีกครั้ง กับการรีวิวซีรีย์ที่กำลังเป็นกระแส และโด่งดังในโลกโซเชี่ยลในมุมต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านพล็อต ด้านการแสดง รวมถึงด้านการสะท้อนสังคมและจิตทยา จะเป็นเรื่องใดไปไม่ได้ นอกจากเรื่อง “It’s okay to not be Okay” ซีรีส์เกาหลีชื่อดัง  ที่ได้ฉายในช่องสตรีมมิ่งระดับโลกอย่าง Netflix นอกจากรีวิวซีรีส์ให้สาว ๆ ได้อ่านกันนั้น เรายังมี วิเคราะห์ตัวละคร It’s okay to not be okay กันอีกด้วย

เพื่อเราจะได้เข้าใจภูมิหลัง ปม และพื้นฐานของตัวละครเอกหลายๆ ตัว จะได้เข้าใจในบทและสิ่งที่ซีรีส์ของเราต้องการจะนำเสนอให้มากยิ่งขึ้น อย่ารอช้าไปเริ่มกันเลย

 

วิเคราะห์ตัวละคร It’s okay to not be okay ซีรีส์มาแรง ที่ตอนนี้ใคร ๆ ก็อิน!

 

คำเตือน! บทความนี้มีสปอยล์เนื้อหาสำคัญบางส่วน

 

วิเคราะห์ตัวละคร It's okay not be okay_00

แต่ก่อนที่เราจะไปเริ่มการวิเคราะห์ตัวละคร It’s okay to not be okay กันนั้นเรามารู้จักเนื้อเรื่องแบบย่อของเรื่องนี้กันก่อน

เนื้อเรื่อง: เป็นเรื่องราวมุนคังแท บุรุษพยาบาลหนุ่มในโรงพยาบาลจิตเวช เขาอาศัยกับพี่ชายที่มีปัญหาทางจิตโดยลำพัง บ่อยครั้งที่พี่ชายมักสร้างความเดือดร้อนและไม่สบายใจให้เขาเสมอ แต่ส่วนมาก มุนคังแท ก็จะทำได้เพียงกดความรู้สึกตัวเองเอาไว้ และยิ้มรับพร้อมปลอบใจและบอกกับพี่ชายว่ามันจะไม่เป็นไร

และในวันหนึ่ง โรงพยาบาลที่มุนคังแททำงานนั้น มีจัดสัมนาการอ่านหนังสือนิทานสำหรับเยาวชนโดยนักเขียนที่มีชื่อเสียง ณ ขณะนั้นอย่าง โกมุนยอง

แต่ทว่าเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น มีผู้ป่วยหลบหนีและลักพาตัวเด็กสาวคนหนึ่งกลางงานสัมนา ทำให้เกิดเรื่องโกลาหล อีกทั้งทำให้เกิดการต่อสู้กันระหว่าง โกมุนยอง และ ผู้ป่วย ด้วยเหตุนี้ทำให้ มุนคังแท บุรุษพยาบาลจึงรีบเข้าไปจัดการ จนทำให้เกิดเรื่องที่ไม่น่าบังเอิญเกิดขึ้นระหว่างเขาและเธอ

 

วิเคราะห์ตัวละคร It’s okay to not be okay ตัวที่ 1 : โก มุนยอง

วิเคราะห์ตัวละคร It's okay not be okay

อย่างที่สาวๆ หรือ แฟนๆ ซีรีส์เรื่องนี้สัมผัสได้ถึงอากับกิริยาของนางเอกหลายต่อหลายครั้งที่ดูเหมือนขัดกับขนมธรรมเนียมที่จะต้องเป็นอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดฉากมีที่ Ep.1 คือ การพูดจากรอกหูเด็กน้อยที่เป็นแฟนคลับ ถึงความชอบในตัวแม่มดที่ชั่วร้ายมากกว่านางฟ้าหรือเจ้าหญิงแสนสวย ซึ่งเธอได้พูดจนเด็กร้องไห้ไปเลย หรือแม้กระทั่งการสูบบุหรี่ ในที่ที่ห้ามสูบบุหรี่ รวมไปถึงการลักเล็กขโมยน้อย ในสิ่งของที่เธอชอบ

วิเคราะห์ตัวละคร It's okay not be okay

วิเคราะห์ตัวละคร It's okay not be okay

และจากการวิเคราะห์ตัวละคร It’s okay to not be okay แล้วนั้นทำให้รู้ได้ทันทีว่านางเอกมีอาการตรงกับผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการ Psychopaths หรือ ไซโคพาธ ที่มีแนวโน้มต่อต้านสังคม หรือที่เรียกกันว่ากลุ่มคนที่มีภาวะ Antisocial Personality Disorder

ซึ่งบุคคลเหล่านี้โดยส่วนมากมีปัญหาของส่วนสมองที่ทำงานเกี่ยวกับทางด้านความรู้สึกและการคำนึงถึงความรู้สึกเสียใจ, รู้สึกผิด, จริยธรรมต่างๆ ทำงานผิดปกติ รวมถึงสมองส่วนที่เรียกว่า Amygdala ซึ่งมีลักษณะคล้าย เมล็ดอัลมอนด์ โดยทำงานให้รู้สึกวิตกกังวลกับสิ่งรอบข้างหรือสิ่งผิดนั้น เล็กกว่าคนปกติ

และนั่นทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหรือกำลังตกอยู่ในภาวะนี้มักจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว, ค่อนข้างมั่นใจในตัวเองสูง, ไม่สนใจความรู้สึกของคนรอบข้าง, เอาตนเองเป็นที่ตั้ง, ทำลายข้าวของ, เมื่อกระทำผิด รู้แต่ไม่รู้สึกผิด, ความรู้สึกด้านชา รวมไปถึงการยับยั้งหรือควบคุมอารมณ์ตนเองต่ำ ซึ่งอาการเหล่านี้เราเห็นได้ชัดเลยในตัวของนางเอกของเราหรือโกมุนยอง

วิเคราะห์ตัวละคร It's okay not be okay

ซึ่งการเป็นโรค Psychopaths หรือผู้ป่วยต่อต้านสังคมนั้น การที่จะเริ่มเป็นโรคนี้ได้นักจิตวิทยาบางคนว่าเกิดจากพันธุกรรมหรือการพัฒนาสมองตั้งแต่เกิด หรือบางครั้งรวมไปถึงการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมของผู้ป่วยในวัยเด็กด้วยเช่นกัน โดยส่วนมากผู้ป่วยมักถูกเลี้ยงดูด้วยการละเลย, ดุด่า, ซึมซับการใช้กำลังและพฤติกรรมก้าวร้าว รวมไปถึงการเลี้ยงดูภายใต้ความเครียดและกดดัน

ซึ่งจากการ วิเคราะห์ตัวละคร It’s okay to not be okay ในส่วนนี้ก็ค่อนข้างตรงกับตัวนางเอกด้วยเช่นกัน เพราะเราเห็นได้จาก Ep. 6 – 7 ที่ก่อนที่นางเอกจะตัดสินใจตัดผมตัวเอง มีฉาก Flash Back ไปให้เห็นว่าแต่ก่อนนางเอกถูกเลี้ยงดูจากแม่ที่ดูเหมือนจะรักลกตัวเองมากจนเกินไป

จนกลายเป็นความกดดันและก่อให้เกิดความเครียดกับโกมุนยองในวัยเด็ก ไม่เพียงแค่นั้น ปมที่ฝังใจนางเอกที่สุดเลยคือ การที่นางเอกถูกพ่อของตนบีบคอเพื่อหวังจะฆ่าให้ตาย นั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เธอโตมากลายเป็นคนที่ไร้สามัญสำนึก และไร้ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่นนั่นเอง

 

วิเคราะห์ตัวละคร It’s okay to not be okay ตัวที่ 2 : มุน คังแท 

วิเคราะห์ตัวละคร It's okay not be okay

เป็นอีกหนึ่งตัวละครที่ค่อนข้างน่าสนใจและมีมิติในเรื่องปมพร้อมความรู้สึกค่อนข้างเยอะพอที่จะนำมาวิเคราะห์ตัวละคร It’s okay to not be okay ซึ่งอารมณ์และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของพระเอกนั้น บ่งชี้ไปที่ภาวะหรือการเป็นโรค Depressive disorder หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “โรคซึมเศร้า” ซึ่งเราเชื่อว่าสาวๆ หลายคนอาจจะรู้จักกับโรคนี้

แต่เราเชื่อว่าคงมีหลายคนที่ไม่รู้จักอาการหรือที่มาที่ไปของโรคนี้ ว่ามันคืออะไรกันแน่ ทำไมความเศร้าถึงเป็นโรค และทำไมเราถึงคิดว่าพระเอกของเราถึงเป็นโรคนี้ละ??

ก่อนที่จะยกเคสพระเอกนั้นเราขอให้สาวๆ ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้า หรือ Depressive disorder กันก่อน คนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือมีอาการเข้าข่ายโรคซึมเศร้านั้น มักมีอาการเก็บกดความรู้สึก, เก็บตัว, ท้อแท้, ไม่ยินดียินได้กับตัวเอง, อารมณ์ขึ้นลง
บางครั้งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อทางกายภาพอย่างเช่น นอนไม่หลับ, เครียดง่าย, ปวดหัว, ปวดท้อง เป็นต้น

ซึ่งโรคนี้เป็นโรคทางจิตที่เกิดได้จากสภาพแวดล้อมและพันธุกรรม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีที่ทำงานในสมองผิดปกติ และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแบบฉับพลัน โดยส่วนมากมักเกิดขึ้นกับเป็นผู้ที่พบเจอความสูญเสียแบบฉับพลัน, คนที่พบเจอความเครียดและการกดดันตลอดเวลา 

วิเคราะห์ตัวละคร It's okay not be okay

หากถามว่าแล้วบทวิเคราะห์ตัวละคร It’s okay to not be okay ทำไมถึงคิดว่าพระเอกของเราถึงเป็นโรคนี้ละ นั่นก็เพราะว่าพระเอกเราเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยโรคนี้มากที่สุด เห็นได้จากพฤติกรรมของพระเอกตั้งแต่ Ep. 1 การกดอารมณ์ตนเองเพื่อไม่ให้พี่รู้ว่าตนเองคิดหรือรู้สึกอะไร ซึ่งเขาทำไปเพราะให้พี่ชายที่เป็นป่วยสบายใจ, การกดอารมณ์ตนเองในการทำงานในโรงพยาบาลจิตเวช

และบ่อยครั้งที่พระเอกร้องไห้จากการอ่านนิทานของโกมุนยอง หรือตอนเหนื่อยและนอน เนื่องจากคิดถึงเรื่องราวในอดีตที่เกี่ยวข้องทางความรู้สึกตนกับแม่

ซึ่งที่เป็นอีกปัจจัยสำคัญเลยอย่างหนึ่ง คือ การดูแลพี่ชายที่ป่วยเป็นออทิสติกตั้งแต่เด็ก เหมือนชีวิตของเขาไม่เคยได้ใช้ชีวิตแบบเด็กวัยรุ่นทั่วไป มุน คังแท ก้าวข้ามความเป็นเด็กสู่วัยผู้ใหญ่เลย โดยการแบกรับหน้าที่คนดูแลและปกป้องพี่ชายตนเองเอาไว้ตลอดเวลา ไม่สามารถแสดงอาการว่าเหนื่อย, เศร้า หรือโมโหกับใครได้ จะบอกพี่ก็ไม่ได้ จะบอกเพื่อน เพื่อนก็ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่เขาเป็นได้มากขนาดนั้น

วิเคราะห์ตัวละคร It's okay not be okay

วิเคราะห์ตัวละคร It's okay not be okay

และที่เราสังเกตเห็นได้ชัดยิ่งไปกว่าเดิมเลยคือ Ep. ที่ 9 ฉากที่พระเอกทะเลาะกับพี่ชาย และพี่ชายได้พูดถึงเรื่องในตอนเด็กที่เขาถูกทิ้งในธารน้ำแข็ง พร้อมตะโกนประกาศให้คนในโรงพยาบาลเข้าใจว่าพระเอกทิ้งเขาไว้ในตอนเด็ก แต่สิ่งที่พระเอกทำได้ ณ ตอนนั้น คือการนั่งลงไปที่พื้น ร้องไห้อย่างไร้สติ พร้อมพูดกับตัวเองด้วยเสียงเบาๆ ว่า “ไม่จริง ไม่ใช่นะ”

ฉากนี้ทำให้เราเข้าใจว่า พระเอกฝังใจกับเรื่องในวัยเด็กที่เขาฉุกคิดเรื่องการช่วยพี่ตอนนั้น ความคิดชั่ววูบในวัยเด็กเป็นเหมือนตราบาปและความรู้สึกผิดที่เขามีในใจตลอดเวลา บวกกับสิ่งที่แม่ได้บอกกับตลอดว่า “ต้องดูแลพี่” ใน Ep. 6 เราจะได้เห็นเรื่องราวที่เป็นเหมือนแผลฝังลึกในใจพระเอก

และเมื่อเหตุการณ์ที่เหมือนแผลถูกขุดขึ้นมาให้รู้สึกอีกครั้ง ทำให้พระเอกไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ และนั่นส่งผลให้พระเอกกลับไปสู่ภาวะเศร้าและสิ้นหวังอีกครั้ง จนทำให้เขาไม่สามารถควบคุมสติตนเองได้อีกต่อไป

วิเคราะห์ตัวละคร It's okay not be okay

จริงๆ แล้วการวิเคราะห์ตัวละคร It’s okay to not be okay ยังไม่จบ เพราะเราจะไม่ได้วิเคราะห์แค่ตัวละครหลักเพียงอย่างเดียว แต่เราจะมาวิเคราะห์สิ่งที่หนังต้องการจะสื่อผ่านตัวละครที่ “ป่วยเหล่านี้” โดย Concept หลักของซีรีส์เรื่องนี้คือการเล่าเรื่องในแต่ละตอน ผ่านชื่อของนิทานในแต่ละเรื่อง

และตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้สื่อถึงแก่นเรื่องได้ดีที่สุดเลยคือ Ep. 4 “Zombie Kid” เป็นเรื่องราวของซอมบี้เด็ก ที่ถูกแม่ของตนขังและเลี้ยงดูไว้ในห้องใต้ดิน เพื่อหลบหนีเพื่อนบ้าน ผู้เป็นแม่ทำได้เพียงหาข้าวมาให้กินเท่านั้น แต่อยู่มาวันหนึ่งเกิดสงคราม อาหารขาดแคลน แม่เลยให้ลูกซอมบี้กินร่างกายของตนไปทีละเล็กละน้อย จนสุดท้ายก่อนสิ้นใจแม่โผกอดลูกน้อย พร้อมได้ยินคำพูดสุดท้ายว่า “แม่ช่างอบอุ่นเหลือเกิน” 

วิเคราะห์ตัวละคร It's okay not be okay

วิเคราะห์ตัวละคร It's okay not be okay

โดยคำพูดเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงตัวละครแต่ละตัวที่ป่วยว่า “สิ่งที่พวกเขาต้องการไม่ใช่แค่อาหารที่อยู่ไปวันๆ แต่เขาแค่ต้องการไออุ่นจากใครสักคน ที่แสดงถึงความรักที่มีให้เขาบ้างเท่านั้น” 

 

สุดท้ายแล้วซีรีส์เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งซีรีส์ที่ต้องการบอกให้คนปกติอย่างเราๆ ได้เข้าใจที่มาที่ไปของผู้ป่วย ที่บางคนดูภายนอกก็รู้ว่าป่วย แต่สำหรับบางคนภายนอกดูไม่รู้ด้วยซ้ำว่าป่วย แต่จริงๆ แล้วที่เขาป่วยคือ “จิตใจ” และวันนี้เราก็ขอจบบทความวิเคราะห์ตัวละคร It’s okay to not be okay กันไว้ก่อน และพอซีรีส์จบมาเจอกันใหม่กับรีวิวแบบจัดเต็มของซีรีส์เรื่องนี้ค่า

 

Source:

Comments

comments