สวัสดีค่ะสาวๆ ชาวซิสที่น่ารักทุกคน หากพูดถึงหนังแล้ว นอกจากความสนุก, เนื้อเรื่อง, นักแสดง และเพลงประกอบแล้วนั้น สิ่งที่ทำให้คนดูอย่างเราๆ ละสายตาไปไม่ได้เลย คงหนีไม่พ้น Mood and Tone และ Color Tone หรือที่เรียกกันโทนสีและอารมณ์ของภาพ เพราะเหตุนี้ทำให้ Clubsister ของเราขอเอาใจสายอาร์ทกันซักหน่อย กับ “5 หนังดี โทนสีภาพยนตร์สวยๆ ที่เหล่าคนเสพงานศิลปะไม่ควรพลาด!” บอกเลยว่าแต่ละเรื่องทีคัดมาให้นั้น หลากหลายโทนสีและสะท้อนถึงความแตกต่างของอารมณ์ในเรื่องเป็นที่สุด อย่ารอช้าไปเริ่มที่เรื่องแรกกันเลย 

 

“5 หนังดี โทนสีภาพยนตร์สวยๆ ที่เหล่าคนเสพงานศิลปะไม่ควรพลาด!”

 

เรื่องที่ 1: In the mood for love (2000)
ประเภทของหนัง: Romantic, Drama
คะแนนที่ได้รับจาก IMDb: 8.1 / 10

โทนสีภาพยนตร์สวยๆ

In the mood for Love เป็นที่สร้างจากนิยายที่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Intersection เป็นเหมือนเส้นตรงสองเส้นที่ตัดผ่านซึ่งกันและกัน แค่ชื่อเรื่องก็เป็น Symbolic แล้ว ไม่เพียงแค่นั้นเรื่องนี้ยังมีโทนสีภาพยนตร์สวยๆ ที่มาจากผู้กำกับที่ขึ้นชื่อเรื่องโทนสีภาพอย่างหว่อง กา ไวอีกด้วย เรื่องนี้นำเสนอเรื่องราวของสองสามีภรรยาสองคู่ในฮ่องกงยุค 1962 ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงที่ฮ่องกงเต็มไปด้วยประชากรหนาแน่น จึงทำให้ประชากรอาศัยกันในแฟลตหรืออพาทเมนต์เล็ก ๆ
ซึ่งทั้งสองครอบครัวต่างอาศัยอยู่ในห้องแฟลตเดียวกันโดยมีแค่ผนังบาง ๆ กั้นแยกระหว่างห้องเอาไว้เท่านั้น

นั้นก็คือคุณนายเฉิน และ คุณโจวเหวิน ในส่วนของครอบครัวคุณนายเฉิน สามีของเธอทำงานทางด้านธุรกิจส่งออกจึงต้องเดินทางไปญี่ปุ่นอยู่บ่อยครั้ง และส่วนของภรรยาคุณโจวเหวิน เธอทำงานเป็นพนักงานต้อนรับกะดึก ต่างฝ่ายต่างไม่มีเวลาให้คนรักของตน และนั่นเป็นเหตุที่ทำให้คุณนายเฉินและคุณโจวเหวินเกิดความสงสัยในพฤติกรรมของคู่ครองตนเองว่านอกใจหรือเปล่า
แต่ในทางกลับกันทั้งคู่ต่างโหยหาความรักและความใส่ใจที่ขาดหายไป เรื่องราวทั้งหมดจึงเกิดเป็นความเสน่หาของทั้งคู่ขึ้น

 

เรื่องที่ 2: Blue is the warmest color (2013)

ประเภทของหนัง: Romantic, Drama, LGBTQ
คะแนนที่ได้รับจาก IMDb: 7.7 / 10

โทนสีภาพยนตร์สวยๆ

Blue Is the Warmest Color มีโทนสีภาพยนตร์สวยๆ ที่ไม่ใช่แค่ภาพสวยอย่างเดียวแต่ชื่อยังสื่อไปถึงโทนสีของภาพได้อีกด้วย Blue Is the Warmest Color เป็นภาพยนตร์แนว LGBTQ สัญชาติฝรั่งเศสที่นำเสนอเรื่องราวความรักที่ไม่มีขอบเขต หากเราเลือกที่จะรักหรือรู้สึกดีต่อใครสักคน บางครั้งมันอาจจะสับสนว่า เฮ้ย สรุปเราชอบผู้หญิงด้วยกันจริง ๆ หรอ ? หรือเราแค่หวั่นไหวไปก็เท่านั้น หากเป็นความรักเราว่ามันไม่มีขอบเขตหรอก เพราะสุดท้ายแล้วจะเป็นอย่างไร ความรักมักสวยงาม และเป็นไปตามรูปแบบของมันเอง

‘อเดล’ เด็กสาวชั้น ม.6 ที่หน้าตาธรรมดาทั่วไป แต่แฝงด้วยเสน่ห์ที่น่าดึงดูด ดันมีผู้ชายคนหนึ่งในโรงเรียนมาจีบและมีอะไรกัน แต่ในขณะเดียวกันเธอดันมีความรู้สึกหวั่นไหวกับเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน เพราะความสับสนนี้ เธอจึงไปปลดปล่อยอารมณ์ที่บาร์ แต่ดันเป็นบาร์เกย์ แต่ข้าง ๆ ก็กลับเป็นบาร์เลส เธอจึงเลือกที่จะเข้าไป อเดลได้เจอกับ ‘เอ็มม่า’ นักศึกษาคณะจิตรกรรมปี 4 ที่มีผมสีน้ำเงิน หน้าตาดี บุคลิกดูเท่ห์น่าค้นหา อเดลสนใจในตัวเอ็มม่าทันที ทั้งคู่ต่างสนใจในตัวของกันและกัน แล้วก่อเกิดเป็นความรักเมื่อเวลาผ่านไปความรักที่เหมือนจะดีกลับไม่เป็นอย่างฝัน สุดท้ายแล้วสีน้ำเงินก็คงเป็นเพียงสีที่มองแล้วสวย สบายตา แต่คงให้ความอบอุ่นเพียงชาวคราวเท่านั้น

 

เรื่องที่ 3: HER (2013)

ประเภทของหนัง: Romantic, Drama
คะแนนที่ได้รับ IMDb: 8.0 / 10

โทนสีภาพยนตร์สวยๆ

HER มาจากหนังดราม่าสุดคลาสสิกชื่อดังมีโทนสีภาพยนตร์สวยๆ ที่เรียกได้ว่าเป็นหนังของคนเหงาเลยก็ว่าได้นั่นก็คือ “Her” หรือ ที่รู้จักในชื่อไทยที่ว่า “รักดังฟังชัด” เป็นเรื่องราวของชาวหนุ่มคนนึงที่กำลังอยู่ในช่วงที่แยกกันอยู่กับแฟนมา 1 ปี และกำลังจะหย่ากัน เขาเริ่มอยากจะลองใช้ชีวิตใหม่โดยการหาใครซักคน จนวันหนึ่งเขาได้มาเจอกับระบบปฏิบัติการที่มีชื่อว่า OS เป็นระบบ AI ที่สามารถตอบสนองการรับรู้ของเราได้ผ่านเสียง, VDO และ ภาพจากโทรศัพท์มือถือ โดยความฉลาดของ OS นี้เป็นระบบปฏิบัติการอิสระที่มีความคิดและการตอบโต้ประหนึ่งคนจริง นั่นทำให้ชายหนุ่มคนนี้ตกหลุมรักระบบ AI ของตนเองเข้าเต็มเปา

 

เรื่องที่ 4: Lalaland (2016)

ประเภทของหนัง: Comedy, Drama, Music
คะแนนที่ได้รับจาก IMDb: 8.0 / 10

โทนสีภาพยนตร์สวยๆ

“La La Land” หรือในชื่อไทยคือเรื่อง “นครดารา” ผลงานจากผู้กำกับหนุ่มที่มีฝีมือการกำกับหนังที่มีความเอ็นเอกลักษณ์อย่าง “Whiplash” มาก่อน ซึ่งในครั้งนี้ La La Land ขนเอานักแสดง Romantic, Drama จากหนังรักเรื่องดัง Crazy, Stupid, Love อย่าง Emma Stone และ Ryan Gosling โดยโทนสีภาพยนตร์สวยๆ ที่เป็นเรื่องราวของ “มีอา” สาวเสิร์ฟผู้มีความใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักแสดงมืออาชีพ

ในวันหนึ่งเธอไปเที่ยวบาร์กับเพื่อนสาวของเธอจนได้พบกับชายหนุ่มที่มาพร้อมกับเสียเปียโนที่ไพเราะจนเธอต้องหยุดหันมามองอย่าง “เซบ” นักเปียโนในบาร์แจ๊สผู้มีความฝันอยากจะเปิดร้านแจ๊ส พร้อมกับเล่นดนตรีที่เขารักในร้านของตนเอง ทั้งคู่ตกหลุมรักซึ่งกันและกันในเวลาที่รวดเร็ว แต่ทว่าในเมื่อความฝันกับความรักมันไม่ได้ไปด้วยกัน ทั้งคู่จึงต้องหาทางออกกับคำถามเหล่านี้

 

เรื่องที่ 5: Joker (2019)

ประเภทของหนัง: Crime, Drama, Thriller
คะแนนที่ได้รับจาก IMDb: 8.4 / 10

โทนสีภาพยนตร์สวยๆ

เราเชื่อได้ว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก Joker ตัวร้ายคู่ปรับคู่กัดตลอดกาลของแบทแมนจากหนังซุปเปอร์ฮีโร่ค่าย DC. หลายคนที่รู้จักแต่ไม่ได้ติดตาม Comic นั้น อาจสงสัยว่าทำไมตัวละครตัวนี้ถึงไม่ได้ดูชั่วร้ายแบบที่เราพบเห็นกัน ไม่ได้มีร่างกายที่บึกบึน ไม่ได้ดูมาดขรึมหรือน่าเกรงขาม แต่ดูเป็นเหมือนคนบ้าไร้สติคนหนึ่งที่เฝ้าคอยแต่จะก่อการร้ายไปวัน ๆ และหนังเรื่องนี้แหละ จะมาตอบข้อสงสัย พร้อมทำให้เราเข้าใจว่า เพราะอะไร ทำไมคนแบบ Joker ถึงกลายเป็นตัวร้ายที่ร้ายสุดๆ ซึ่งสำหรับเราแล้วคำว่า “เพราะโลกสั่งให้ฉันต้องร้าย” คงนิยามความหมายแบบย่อสำหรับเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน

Joker เป็นหนังที่สะท้อนสังคมไม่ใช่แค่ยุคสมัยเศรษฐกิจตกต่ำ (แถมมีโทนสีภาพยนตร์สวยๆ) แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงปัจจุบัน ยุคที่เทคโนโลยีล้ำสมัยแต่จิตใจคนกลับต่ำเตี้ยยิ่งกว่าอะไร Joker หรือในชื่อก่อนเข้าวงการตัวร้ายนั้นคือ อาเธอร์ เฟล็ค ตัวตลก ผู้มีความฝันอยากเป็นนักพูดเดี่ยวไมโครโฟนผู้สร้างเสียงหัวเราะและรอยยิ้มให้กับผู้คน แต่ในทางกลับกันเขากลับเป็นผู้ป่วยทางจิตในสภาวะ Emotional incontinence*ที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ รวมถึงในสภาพแวดล้อมและสังคมที่เขาเจอ กลับทำให้ตัวตลกและคนสร้างเสียงหัวเราะอย่างเขากลายเป็นเศษฝุ่นที่ไม่มีใครต้องการ

ด้วยเหตุนี้ความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของอาเธอร์คงหนีไม่พ้นการนั่งฟังรายการที่ตนเองชอบ พร้อมจินตนาการ ไปกับเสียงหัวเราะปลอมๆ กับภาพในหัวของตนเอง และท้ายที่สุดแล้วเมื่อโลกมันโหดร้ายเกินไปที่คนตัวเล็กจิตใจบอบบางจะอยู่ได้ เพราะเหตุนี้เขาจึงต้องร้ายกับโลกที่เจอบ้าง

 

Photo Credit:

Comments

comments