สวัสดีค่าสาวๆ ชาวซิสที่น่ารักทุกคน นอกจากจะเป็นครึ่งปีที่เหมือนจะผ่านไปแต่ละวันอย่างช้าเหลือเกินแล้ว สิ่งที่ระลึกถึงเดือนนี้อีกจะเป็นอะไรไปไม่นอกจาก เดือนแห่งสายรุ้ง อย่าง Pride Month ซึ่งเป็นเดือนที่ระลึกและนึกถึงความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศที่มีมาอย่างยาวนาน Clubsister ของเราก็ขอร่วมเฉลิมฉลองกับเดือนนี้ด้วยเช่นกันกับ Happy Pride Month! กับ ” 5 หนังและซีรีส์ LGBTQ+ “ หนังน้ำดีที่คุณไม่ควรพลาดเลยจริงๆ จะมีเรื่องอะไรกันบ้างไปดูกันเลย
Happy Pride Month! 5 หนังและซีรีส์ LGBTQ+ ที่คุณไม่ควรพลาด
เรื่องที่ 1: Orange is The New Black (คลิกเพื่อรับชม)
ประเภท: ซีรีส์ (จำนวน 7 ซีซั่น)
หนังและซีรีส์ LQBTQ+ เรื่องแรก เรียกได้ว่าเป็นซีรีส์ที่ทำเอาเราติดอย่างงอมแงม ไม่ได้หลับไม่ได้นอนกันเลยทีเดียว เพราะนอกจากเหนือเรื่องที่จะจิกกัดอย่างถึงพริกถึงขิงแล้ว จะนำเสนอมุมมองความรัก, การเป็นตนเอง และความเท่าเทียมทางเพศ, ชนชั้น, และสิทธิมนุษยชนได้เป็นอย่างดี Orange is The New Black ซีรีส์ที่เสียดสีสังคม จิกกัด และสะท้อนให้เห็นถึงความเลื่อมล้ำบนความแตกต่างในหลายๆ ด้านอย่างเจ็บแสบ และตลกร้ายสุดๆ
ซีรีส์เรื่องนี้ถูกสร้างมาจากเค้าโครงเรื่องจริงของอดีตนักโทษหญิงที่ผันตัวเองมาเป็นนักเขียนชื่อว่า Piper Kerman (ซึ่งเค้าโครงเรื่องจริงของเธอปรากฏอยู่ในแค่ Season 1 เท่านั้น) โดยเรื่องราวมีอยู่ว่า ไพเพอร์ แชปแมน หญิงสาววัย 30 กว่า ที่ชีวิตกำลังรุ่งเรื่อง มีว่าที่สามีที่ดี กลับโดนข้อหาเป็นส่วนหนึ่งของแก๊งค้ายาข้ามชาติ เธอจะต้องจำคุกเป็นเวลา 1 ปีกว่า แต่ที่ซวยซ้ำไปกว่านั้น แชปแมนดันมาเจอกับแฟนเก่าสาวของเธอนามว่าอเล็กซ์ในคุกใต้หลังคาเดียวกัน เรื่องราวความน่าปวดหัวของเธอก็เริ่มต้นขึ้น
Orange is the new black เป็นหนังและซีรีส์ LQBTQ+ ที่น่าดูเรื่องหนึ่ง สะท้อนสังคมเล็กๆ อย่างคนในเรือนจำ ให้เห็นถึงภาพความเลื่อมล้ำในสังคมระดับประเทศ ถึงแม้ ณ ปัจจุบันประเทศที่มีความประชาธิปไตย เสรีนิยมนั้จะบอกว่าความเลื่อมล้ำในชนชั้น ฐานะ เชื้อชาติและที่สำคัญคือเรี่องเพศ จะไม่มีอยู่ แต่ลึกๆ แล้วสิ่งเหล่านี้ไม่เคยหายไป และยังคงมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง
ไม่เพียงแค่นั้นสิ่งที่ทำให้เราชอบเรื่องนี้มากและยกให้เป็นซีรีส์ในดวงใจ อาจจะเป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตประจำวันของนางเอก ผ่านการตัดสลับอดีต Background ของแต่ละตัวละคร ว่าก่อนที่พวกเขาจะก้าวเท้าเข้ามาอยู่ในนี้ เขาเป็นอย่างไรและเจออะไรมาบ้าง เหมือนเป็นการบอกว่า ทุกการกระทำของคนแต่ละคนล้วนมีเหตุผลทั้งสิ้น ซึ่งจุดนี้เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของซีรีส์เรื่องนี้เลยก็ว่าได้
เรื่องที่ 2: Feel Good (คลิกเพื่อรับชม)
ประเภท: ซีรีส์ (จำนวน 2 ซีซั่น)
ต่อมาเป็นหนังและซีรีส์ LQBTQ+ ที่ทำให้เราไม่ได้นอนเมื่อเร็วๆ นี้ (ฮ่าๆ) เป็นอีกหนึ่งซีรีส์ที่คุ้มค่า คุ้มเวลาที่ได้ดู เพราะมันไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความรักที่ไร้เพศ แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงการใช้ชีวิตคู่ที่จำเป็นต้องมีด้วยเช่นกันกับ Feel Good ซีรีส์ Netflix ที่พูดถึง เม หญิงสาวที่อพยพมาจากแคนาดา เธอประกอบอาชีพเป็นเดี่ยวไมโครโฟนอยู่ที่บาร์แห่งหนึ่ง
จนในวันหนึ่งเธอกำลังแสดงอยู่ก็ได้ถูกเสียงหัวเราะเล็กๆ เสียงเดียวจากผู้หญิงที่อยู่ตรงหน้า จอร์จ เธอเป็นผู้ชมเพียงคนเดียวที่หัวเราะให้กับมุกตลกของเธอ จนทำให้ทั้งคู่เจอกันและสานสัมพันธ์ จนเขยิบกลายเป็นแฟน วันเวลาผ่านไป เมได้ย้ายไปอยู่อพาทเม้นต์เดียวกับจอร์จ แต่ทว่ายิ่งเหมือนใกล้กันมากเท่าไร ทั้งคู่ก็ยิ่งไกลกันมากเท่านั้น
สิ่งที่ทำให้เราชอบในตัวหนังและซีรีส์ LQBTQ+ เรื่องนี้คงหนีไม่พ้นตัวละครอย่างเม ทำให้เราได้รู้จักความรักที่ไม่มีคำว่าเพศมาเกี่ยวข้อง เม เป็นตัวละครที่ไม่เคยบอกว่าตนเองชอบผู้หญิง หรือผู้ชาย ถึงแม้ว่าเธอจะเป็นหญิงที่รักหญิง แต่เธอก็ไม่ได้อยากเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นชายหรือดูแมนขนาดนั้น
เธอยังคงมีความรักสวยรักงาม และอยากเป็นตัวของตัวเองอยู่ ที่ทำให้เราประทับใจไปกว่านั้นคือ ซีรีส์เรื่องนี้สะท้อนให้ความเป็นจริงของการอยู่ด้วยกัน และการมีความรักรูปแบบผู้ใหญ่ ที่ไม่ได้มองแค่เรื่องความรักเพียงอย่างเดียว แต่มันต้องมองลึกลงไปกว่านั้นด้วย
เรื่องที่ 3: Love Simon,
ประเภท: ภาพยนตร์
หนังและซีรีส์ LQBTQ+ อย่าง Love Simon, เป็นหนัง Coming of Age อีกเรื่องที่สะท้อนสังคมในเรื่องการยอมรับเพศที่สาม และความกล้าที่จะแสดงออกทางเพศสภาพของตนเองในยุคที่สังคมเปิดรับ และลึกภายในจริงๆ ไม่ได้เป็นอย่างที่เป็นอยู่ โดยหนังเรื่องนี้เรียกได้ว่าเป็นหนังที่ไม่ใช่แค่เด็กวัยรุ่นเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่ดูได้ แต่คนทุกคน และทุกวัยก็สามารถดูหนังเรื่องนี้ได้เช่นกัน
Love Simon, เป็นภาพยนตร์ Coming of Age ที่พูดถึง “ไซมอน” เด็กหนุ่มวัยมัธยมที่รู้ว่าตนเองเป็นเกย์ แต่ทว่าเขาต้องกดความรู้สึกและปิดบังเรื่องนี้เอาไว้จากครอบครัวและคนสนิท แต่มีอยู่สิ่งเดียวที่ทำให้เขารู้สึกว่า เขาไม่ได้อยู่อย่างหลบซ่อนและเดียวดาย นั่นก็คือ บล็อคของบุคคลปริศนาที่ใช้นามปากกาว่า “บลู” ชายหนุ่มที่รู้ว่าตนเองเป็นเกย์ เขาได้บอกเล่าเรื่องราวที่ตนเองอึดอัดนั้นไว้ในบล็อกของเขา เมื่อคนสองคนที่หัวอกเดียวกันมาเจอกัน ก็ก่อเกิดเป็นความปลาบปลื้มและความชอบ
แต่แล้วเรื่องราวที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นไซม่อนดันลืม Log out ของจาก Email ที่กำลังเขียนพูดคุยกับบลู และเพื่อนสนิทตัวดีของเขาก็มาเห็น เลยทำให้ไซมอนถูกแบล็กเมล์จากเรื่องนี้ และถูกบังคับให้ทำเรื่องที่เขาไม่เต็มใจจะทำ และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของความกล้าที่จะยอมรับตนเองและบอกให้คนที่เรารักได้รู้
Love, Simon เป็นหนัง Coming of Age ที่เรียกได้ว่าเป็น หนังและซีรีส์ LGBTQ+ ที่ดูกี่ครั้งก็สัมผัสได้ถึงความอบอุ่นของครอบครัวได้อย่างเอ่อล้น เราบอกเลยว่าถึงแม้หนังเรื่องนี้จะเป็นหนัง Coming of Age ที่เหมือนรักในวัยไฮกูล แต่ความรักในเชิงหนุ่มสาวนั้น ยังมองไม่เห็นเท่าความรักของคนในครอบครัวที่มีให้กัน หนังเรื่องนี้สะท้อนถึงความยากของวัยรุ่นที่จะก้าวข้ามความกลัวของจิตใจและก้าวข้ามความกลัวของการไม่ถูกยอมรับทางสังคมได้ดี เรียกได้ว่าเป็นอีกหนังเองหนึ่งที่เราอยากให้สาวๆ ได้ดูกันค่ะ
เรื่องที่ 4: The Half of It (คลิกเพื่อรับชม)
ประเภท: ภาพยนตร์
The Half of It ไม่ได้เป็นเพียงหนังและซีรีส์ LQBTQ+ แนะนำอย่างเดียว แต่เป็นหนัง Coming of Age และเป็นหนังที่พูดถึงการสื่อสารที่เราอยากจะแนะนำให้ทุกคนได้ดูกัน เพราะเรื่องนี้ไม่ได้พูดถึงเรื่องความรักที่มาจากความเข้าใจในตัวตนของกัน แต่เป็นหนังที่พูดถึงการสื่อสาร ผ่านความรู้สึก และทำให้รู้ว่าภาษาไม่ใช่อุปสรรคของความรักเลยซักนิด
The Half of It หนังและซีรีส์ LQBTQ+ แนะนำ จาก Straming ชื่อดังอย่าง NETFLIX ซึ่งเป็นภาพยนตร์แนวโรแมนติก, คอมเมดี้ แบบ Coming of Age ที่กำลังจะก้าวผ่านความเป็นวัยรุ่น โดยเรื่องราวพูดถึงเอลลี่ ชู สาวน้อยที่สุดเนิร์ดที่ย้ายมาจากจีนอาศัยอยู่กับพ่อของเธอที่ทำงานเป็นผู้ดูแลรถไฟซึ่งรายได้ไม่เพียงพอ
และนั่นทำให้เธอกลายเป็นเสาหลักของบ้าน โดยงานที่เธอรับทำนั้น มีตั้งแต่รับจ้างเขียน Essay (เรียงความ), รับจ้างทำรายงาน, รับจ้างเป็นคนตรวจรถไฟในช่วงเลิกเรียน และด้วยชื่อเสียงของการทำงานได้อย่างรวดเร็วและเป็นที่น่าพึงพอใจของเพื่อนๆ นั้น ทำให้ พอล ชายร่างยักษ์ตัวสำรองของอเมริกันฟุตบอลของทีมโรงเรียนที่แอบหลงรักเอสเตอร์สาวป๊อป ดาวโรงเรียนที่หนุ่มๆ ทั่วโรงเรียนหมายตาอยาก พอลจึงตัดสินใจจ้างเอลลี่ให้เขียนจดหมายจีบเธอทุกวัน และการเป็นแม่สื่อแม่ชักนี้ ทำให้เอลลี่สาวน้อยสุดเนิร์ดที่ไม่ได้รู้จักตนเอง เริ่มรู้สึกว่า เขาและเอสเตอร์มีอะไรคล้ายกัน สนใจเรื่องเดียวกัน และคุยกันอย่างถูกคอ
นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของความรู้สึกดีๆ หนังเรื่องนี้เป็นหนังอบอวลไปด้วยความอบอุ่น ที่ไม่ได้มาจากรูปแบบความรักในวัยหนุ่มสาว แต่เป็นความรักแบบครอบครัวและเพื่อน ที่ตลอดเวลาที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ เราจะสัมผัสถึงความน่ารักที่เหมือนเติมเต็มความรู้สึกเราตลอดทั้งเรื่อง สิ่งที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้เลยคือ เป็นหนังที่พูดถึงการสื่อสารผ่านสื่อกลางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจดหมาย, รูปภาพ, ความคิด หรือแม้กระทั่งแววตาและอวัจนภาษา สิ่งเหล่านี้ทำให้เราได้รู้จักตัวตนที่เรามี อีกทั้งยังทำให้เรามองข้ามอุปสรรคให้เรื่องความหลากหลายของภาษาอีกด้วย
เรื่องที่ 5: The Danish Girl
ประเภท: ภาพยนตร์
และหนังและซีรีส์ LQBTQ+ เรื่องสุดท้ายเรียกได้ว่าเป็นหนังที่สร้างมาจากเรื่องจริง ของหญิงข้ามเพศคนแรกของโลก เป็นหนังที่สะท้อนให้เราเห็นถึงความยากลำบากของการแสดงตัวตนและการเป็นตนเองในเรื่องเพศของคนสมัยก่อนกับ The Danish Girl หนังที่สร้างมาจากเรื่องของ Einar Wegener
โดยเป็นเรื่องราวของ เกอร์ดา จิตรกรสาวผู้มีชื่อเสียงในเรื่องการวาดภาพเหมือน ในวันหนึ่งเธอต้องการจะวาดรูปหญิงสาวสวยซักคน เธอจึงเกิดไอเดียในการจับสามีของเธอ ไอเนอร์ มาแต่งเป็นหญิง และเป็นแบบให้เธอวาดรูป ด้วยความนึกสนุกเธอจึงพาสามีของเธอไปเดินเฉิดฉายด้านนอก จนมันทำให้ตัวไอเนอร์ อินและซึมซับ อารมณ์ที่เต็มไปด้วยความสวยงามของผู้หญิง ด้วยเหตุนี้ทำให้เขา ตัดสินใจบอกกับภรรยาของเขาถึงความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งต้องการจะเดินตามความฝันครั้งใหญ่ของตนที่อยากจะเป็นผู้หญิงและมีความรักในเพศที่เขาเลือก
Photo Credits:
Stay connected