สวัสดีสาวชาวซิสที่น่ารักทุกคนค่า บ่อยครั้งที่เรามักมองว่าอนิเมชั่นหรือการดูการ์ตูนก็คงได้แค่ความบันเทิง เพราะเป็นสื่อที่ทำมาให้เด็กๆ ละมั้ง แต่เราเชื่อว่าสำหรับบางคนและสำหรับเราแล้วนั้น การดูการ์ตูนหรืออนิเมชั่นให้อะไรมากกว่าที่คิด งั้นวันนี้มาดู “5 อนิเมชั่นสะท้อนแง่คิด บอกเล่าข้อดีในการเป็นตัวของตัวเอง” บอกเลยว่า เป็นใครก็ไม่ดีเท่าตัวเอง! เราเชื่อว่าเมื่อสาวๆ ดูแต่ละเรื่องแล้ว จะรู้เลยว่า ทุกคนมีความแตกต่าง และการที่เราต่างนี่แหละคือดีที่สุด! อย่ารอช้าไปเริ่มที่เรื่องแรกกันเลยค่า
“5 อนิเมชั่นสะท้อนแง่คิด บอกเล่าข้อดีในการเป็นตัวของตัวเอง”
เรื่องที่ 1: LUCA
คะแนนที่ได้จาก IMDB: 7.5 / 10
อนิเมชั่นสะท้อนแง่คิด เรื่องแรกขอนำเสนอ LUCA เป็นอนิเมชั่นที่สร้างโดย Pixar Animation Studios พูดถึงเรื่องราวของ ลูก้า เงือกหนุ่มใต้ทะเลลึก เขาเป็นลูกชายคนเดียวของบ้าน มีหน้าที่ต้อนฝูงปลา ในทุกๆ วันเขาถูกขีดกรอบในการใช้ชีวิตจากผู้เป็นแม่อยู่บ่อยๆ ว่า โลกบนบกนั้นน่ากลัวและอันตราย ด้วยเหตุนี้ทำให้ลูก้า เกิดคำถามว่า “มันน่ากลัวจริงๆ หรือ?”
และแล้ววันหนึ่งเขาเจอ “อัลเบอร์โต” เงือกหนุ่มอีกตน ที่ทลายความคิดนั้นของเขา ทำให้ลูก้าแอบที่บ้านขึ้นไปเรียนรู้วิถีชีวิตบนบก, เปิดโลกใบเล็กๆ ของเขาอยู่เสมอ พร้อมกับร่วมสร้างความฝันว่าซักวันหนึ่งพวกเขาจะขับเวสป้าท่องเที่ยวไปให้ไกลทั่วโลก
แต่แล้วที่บ้านก็รู้ความลับนี้ ทำให้ที่บ้านฉุนจัดและจะจับลูก้าไปอยู่ใต้ทะเลลึกเพื่อปรับปรุงนิสัย ด้วยเหตุนี้ ลูก้าจึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านขึ้นบกพร้อมอัลเบอร์โต เพื่อไปใช้ชีวิตเป็นมนุษย์ และลงแข่งไตรกีฬาประจำเมือง ปอร์โตรอสโซ เพื่อทำตามความฝันที่ว่า หากเขาชนะการแข่งขันนี้ จะได้นำเงินไปซื้อเวสป้า และท่องเที่ยวไปด้วยกัน
บอกเลยว่าไม่คิดเสียใจเลยที่ตัดสินใจดูเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก LUCA เป็นอนิเมชั่นอีกเรื่องหนึ่ง ที่สำหรับเรานั้นเด็กดูได้แบบเพลินๆ ผู้ใหญ่ดูแล้วได้อะไรไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะหากกระเทาะความบันเทิงภายนอกนั้นออก มันเต็มไปด้วยเสียงที่สะท้อนให้เห็นถึงสังคมของเรามากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นค่านิยมในการใช้ชีวิตและสอนลูกหลาน ภายใต้กรอบความคิดที่เรายัดเยียดให้กับพวกเขา ซึ่งเราไม่รู้หรอกว่า ความรักความห่วงใยเหล่านี้ของเรา คือบ่วงที่คอยฉุดรั้งความคิดและวิสัยทัศน์ของเขาเอาไว้
ไม่เพียงแค่นั้นสิ่งที่เรื่องนี้ชูโรงและเรียกได้ว่ต้องการสื่อสารกับคนดูเลย คงหนีไม่พ้นเรื่อง Coming of Age และการเป็นตัวของตนเอง เรารู้สึกว่าเรื่องนี้ตีความแง่มุมนี้ออกมาได้ดี น่ารัก และเข้าใจได้ไม่ยาก หลายต่อหลายครั้ง ครั้นเมื่อเราเป็นวัยรุ่น เรามักตั้งคำถามเกี่ยวกับการเป็นตัวของตัวเองอยู่บ่อยๆ “ฉันเป็นแบบนี้มันถูกไหม?” “ฉันเป็นแบบนี้เขาจะรังเกียจไหม?”
หรือแม้กระทั่ง การถูกตัดสินว่าแปลกแยก ทั้งๆ ที่เราแค่เป็นตัวของตนเอง แต่สำหรับเรื่องนี้สะท้อนแง่มุมนี้ออกมาได้อย่างน่ารัก เข้าใจง่าย และลึกซึ้งเลยทีเดียว คำพูดหรือประโยคที่ Wrap up เรื่องนี้ได้ดีเลยคงหนีไม่พ้น คำพูดของคุณยายที่บอกพ่อกับแม่ของลูก้าว่า “สุดท้ายแล้วก็จะมีคนบางคนที่ยอมรับ และ คนบางคนก็จะไม่ยอมรับ”
เรื่องที่ 2: Inside Out
คะแนนที่ได้จาก IMDB: 8.1 / 10
เรื่องต่อไปที่เราอยากจะแนะนำอนิเมชั่นสะท้อนแง่คิดเรื่องนี้ให้หลายๆ คนดู เพราะมันไม่ใช่แค่ความสนุกแบบพื้นฐาน แต่หากมองลงไปให้ลึกกว่านั้นได้นำเสนอความรู้ทางจิตวิทยา และ Mind Set ที่ดีอีกต่างหาก ว่าด้วยเรื่องราวของไรลีย์ เด็กสาวย่างเข้าอายุ 11 ปี ผู้ที่ร่าเริงแจ่มใส เป็นคนมองโลกในแง่ดี แถมเป็นนักกีฬาฮอกกี้ฝีมือดี กำลังย้ายบ้านไปตามธุรกิจของคุณพ่อไปต่างเมือง
จากเหตุการณ์นี้ ทำให้เราได้รู้ว่า ในสมองของไรลีย์มีเหล่าอารมณ์ต่าง ๆ คอยควบคุมการทำงานสภาพจิตใจและอารมณ์ ความคิดของเธออยู่ นั่นก็คือ Joy (ความสุข) , Sadness (ความเศร้า) , Anger (ความโกรธ) , Fear (ความกลัว) และ Disgust (ความน่าขยะแขยง) และจากการทำงานที่ผิดพลาดของเหล่าอารมณ์ตัวน้อย จึงส่งผลกระทบต่อไรลีย์ ทำให้เธอเปลี่ยนไปเป็นคนละคน
ในส่วนของอนิเมชั่นสะท้อนแง่คิดเรื่องนี้ ถ้ามองในแง่ความสนุกไม่ได้เจาะลึกก่อน เรารู้สึกว่า เรื่องนี้ให้ความสนุกในแบบพื้นฐานได้ดีเลยทีเดียว แต่หากมองลึกลงมัน มันสะท้อนให้เห็นการยอมรับตัวตนของเราและของคนอื่นด้วย บ่อยครั้งที่เรามักคิดว่า ชีวิตต้องมีแต่ความสุขซิ ความสุขคือสิ่งที่ตอบโจทย์และควรจะต้องมี
แต่! เราลืมไปรึเปล่าว่า หากเราไม่ปล่อยให้ความทุกข์หรือความเศร้าได้ทำหน้าที่ของมันบ้าง เราจะสัมผัสคุณค่าของความสุขนั้นได้อย่างไรกัน นอกจากนั้นในแง่ทางหลักจิตวิทยาแล้วคือ ในตัวเราหนึ่่งคนมีทั้งด้านดี ด้านไม่ดี เรามักคอยพูดและคอยโทษตัวเองอยู่ตลอดว่า ฉันไม่ชอบอารมณ์แบบนี้เลย ฉันไม่ชอบที่ฉันเป็นอย่างนี้
แต่เฮ้ย! มันคือส่วนประกอบหนึ่งของเราไง สิ่งที่ทำคือ ยอมรับมัน เศร้าคือเศร้า กลัวคือกลัว ปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เป็นไป และยินดีกับส่วนหนึ่งของเรา เพื่อให้เวลาได้ทำงานและสิ่งเหล่านั้นมันจะกลับไปอยู่ในจุดเดิม เพื่อให้อีกตัวตนหนึ่งของเราได้ทำหน้าที่อื่นต่อไป
เรื่องที่ 3: Brave
คะแนนที่ได้จาก IMDB: 7.1 / 10
เรื่องต่อมาเป็นอีกหนึ่งเรื่องของอนิเมชั่นสะท้อนแง่คิด ที่เราชอบมากๆ เรื่องหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นเจ้าหญิงดิสนีย์ลำดับที่ 2 ที่เราชอบมาก นั่นก็คือ Brave เรื่องราวของเจ้าหญิงเมริด้าที่ถูกคลุมถุงชนให้แต่งงานกับเจ้าชานต่างเมือง อีกทั้งราชินี แม่ของเธอได้ทำการพร่ำสอนและกวดขันเธอให้รู้จักการวางตัวและเรียนรู้ที่จะเป็นเจ้าหญิงอันสูงศักดิ์
แต่เมริด้าไม่ได้ต้องการแบบนั้น เธอชอบที่จะมีชีวิตเป็นอิสระ เธอรักในศิลปะการต่อสู้และยิงธนู ด้วยเหตุนี้เธอจึงสาปแม่ของเธอให้กลายเป็นหมี โดยไม่ตั้งใจ จากนั้นเธอจึงต้องหาวิธีการแก้คำสาปกับความผิดพลาดของเธอ
บอกได้เลยว่าเราค่อยข้างชอบเนื้อเรื่องของเรื่องนี้พอๆ กับ Inside Out เลย เรามีความรู้สึกว่าหลังจากที่ดูเสร็จ เหมือนการ์ตูนกำลังบอกเราถึงความแตกต่างระหว่างมุมมองของแม่กับลูก บ่อยครั้งที่เราจะเห็นว่าทำไมแม่เราถึงชอบจู้จี้ ขี้บ่น บังคับให้เราทำโน้นนี่บ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่เราไม่อยากทำ และจนสุดท้ายเพราะความห่วยใยที่มากเกินไป กลับนำพาความเสียใจมาให้เราได้หลายครั้ง
เช่นเดียวกันกับ ในบางครั้งผู้ใหญ่หรือพ่อแม่ของเรา มักวางกรอบ ขนบธรรมเนียม ต่างๆ ให้กับเรา เนื่องจากความรักและความห่วงใยที่มีอยู่มอง จนหลงลืมไปว่าตัวเราเป็นเรา คนที่ควรตัดสินใจควรที่จะเป็นเรา สุดท้ายนี้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นกระจกสะท้อนตัวตนของคนเป็นแม่ และ หน้าที่ของลูก สอนเราให้เห็นถึงความกึ่งกลางและประนีประนอมของแม่และลูกได้ดีขึ้น บางครั้งเราต้องมองให้เห็นถึงความหมายเบื้องลึกของจิตใจอีกฝ่ายให้ชัดเจนที่สุดเท่านั้นเอง
เรื่องที่ 4: Frozen 2
คะแนนที่ได้จาก IMDB: 6.8 / 10
เรื่องสุดท้ายที่อยากแนะนำให้ดู และต้องดูเป็นที่สุดคงหนีไม่พ้น อนิเมชั่นสะท้อนแง่คิด “Frozen ll” เรียกได้ว่าเป็นภาคต่อที่ตอนแรกเริ่มสร้างเสียงฮือฮาไม่ต่างกันเลยทีเดียว แถมยังได้ผลตอบรับที่ค่อนข้างดีเลยทีเดียว เรื่องราวพูดถึงช่วงเวลาที่หลังจากเอลซ่าขึ้นครองราชย์เป็น ราชินีแห่งอาเรนเดียล เธอก็ปกครองและใช้ชีวิตกับราษฎรของเธอ รวมถึงอันนา คริสตอฟ สเฟน และโอลาฟ อย่างมีความสุข
แต่ทว่าในคืนวันหนึ่ง เอลซ่ากับได้ยินเสียงร้องที่ดังกึกก้องในหัวของเธอ เป็นระยะๆ ตลอดเวลา ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกันกับการเกิดภัยพิบัติเกิดขึ้นกับอาเรนเดียล ทำให้เอลซ่า อันนา คริสตอฟ สเฟน และโอลาฟ ออกเดินทางไปยังป่าแห่งความลับเพื่อตามหาเสียงร้องที่เธอได้ยิน พร้อมกับค้นหาคำตอบเกี่ยวกับมหันตภัยที่เกิดขึ้น
ส่วนตัวเราได้มีโอกาสไปดูเรื่องนี้ที่โรงภาพยนตร์ ซึ่งบอกเลยว่าคุ้มค่ามากๆ กับการรับชม (แต่ภาค 1 ก็ยังดีกว่าอยู่ ในความคิดเห็นเรา) สิ่งที่เรื่องนี้ต้องการสะท้อนเลยคือ การเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง การทำสิ่งที่ถูกต้อง โดยใช้หลักความกลัวเข้ามาช่วยขยายความในส่วนนี้ บ่อยครั้งที่คนเรามักทำเรื่องไม่ดี ไม่ใช้แค่หลงผิดในอำนาจ หรือความโกรธแค้น ริษยาเพียงอย่างเดียว
แต่ความกลัวก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้เราตัดสินใจอะไรผิดพลาดด้วยเช่นกัน ในเรื่องนี้กำลังจะสอนให้เรารู้จักและโอบกอดความกลัวว่าเป็นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำร้ายทั้งเราและคนรอบข้างโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน ดังนั้นแค่ยอมรับความกลัว และเผชิญหน้ากับมันก็เพียงพอแล้ว
เรื่องที่ 5: Wreck-it Ralph
คะแนนที่ได้จาก IMDB: 7.7 / 10
เป็นเรื่องราวโลกของเกม ราล์ฟ ตัวร้ายจากเกม Fix-It Felix Junior โดยภารกิจของเขาคือการพังตึกไปเรื่อย ๆ โดยมีเฟลิกซ์ช่างซ่อมในตำนาน จะตามซ่อมให้เสร็จและสุดท้ายราล์ฟจะโดนโยนตกลงมาจากตึกทุกครั้ง
ด้วยคาร์แลกเตอร์ที่โดยมอบหมายและหน้าที่ที่ทำ ทำให้เขาโดนเหล่าเพื่อนบ้านในเกมไม่ชอบหน้า
อีกทั้งราล์ฟยังรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจทุกครั้ง ด้วยเหตุนี้เขาจึงข้ามอาเขตเกมเพื่อไปอีกเกมหนึ่งที่เขาสามารถเป็นฮีโร่ได้ แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น
จากที่เราดูเรื่องนี้ทำให้เราได้ย้อนระลึกถึงความหลังต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับเกมที่เล่น ทำให้เรามีความสุขอย่างบอกไม่ถูก แต่ที่ชอบไปกว่าการได้เห็นเกมให้วัยเด็กนั่นก็คือ การเรียนรู้จากการมองหน้าที่ของตนเอง และการยอมรับตัวตนของเรา
ถึงแม้หน้าที่ของเรา ที่แม้จะเลือกไม่ได้นั้นดูไม่น่าสนใจเพียงใด แต่อย่าลืมไปละว่าคนทุกคนล้วนมีบทบาทที่แตกต่างกัน สุดท้ายบทบาทแต่ละบทบาทจะเข้ามาเป็นส่วนเติมเต็มซึ่งกันและกัน เพราะอย่างนี้ละ อย่างน้อยเราควรทำหน้าที่ของเราให้เต็มที่ และจงภูมิใจกับมัน อีกทั้งเรื่องนี้ยังนำเสนอความน่ารักของมิตรภาพต่างวัยให้เห็นพร้อมให้เราได้รับรู้ว่าถึงต่างวัย ยังไงก็ซี้กันได้
Photo Credits:
Stay connected