สวัสดีค่าสาวๆ ชาวซิสที่น่ารักทุกคน เนื่องจากช่วงสถานการณ์โรคระบาดอย่างโควิดที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นปีนั้น ทำให้การสัญจรหรือการเดินทางไปไหนมาไหน ใช้ชีวิตร่วมกันของมนุษย์เราลดน้อยลง กลายเป็นว่าเราจะต้องอยู่ในพื้นที่ส่วนตัวหรืออยู่คนเดียวมากขึ้น ซึ่งตรงส่วนนี้ทำให้ใครหลายคนอยู่ในภาวะที่ไม่ค่อยโอเคเสียเท่าไร วันนี้ Clubsister มีทริคมาแนะนำกับ มาลองเรียนรู้ “ศิลปะของการอยู่คนเดียว” กันเถอะ บอกเลยว่าการอยู่คนเดียวไม่ใช่เรื่องยาก!
อยู่คนเดียวไม่ใช่เรื่องยาก! มาลองเรียนรู้ “ศิลปะของการอยู่คนเดียว” กันเถอะ
โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์ขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์สังคมแต่ไหนแต่เรา นับย้อนไปตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษเรา ส่วนมากมนุษยืมักอยู่กับมากกว่า 2 คนขึ้นไป มักทำอะไรเป็นกลุ่มเป็นก้อน มีการแลกเปลี่ยนกันทางด้านความคิด คำพูด และใช้วิธีสื่อสารเป็นหลัก
ด้วยเหตุนี้ทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกปลูกฝังรากลึก ประหนึ่งถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมของมนุษย์ อาจด้วยเหตุนี้ทำให้มนุษย์เรากลัวการอยู่คนเดียว อาจจะไม่ใช่แค่เรื่องความเคยชิน แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราไม่กล้าใช้ชีวิตคนเดียวเพราะ “เรากลัวความเหงา” เอาละค่ะก่อนที่เราจะไปเรียนรู้ “การอยู่คนเดียว” เราขออธิบายความเหงาให้รู้จักกันเสียซักหน่อย
ตามหลักจิตวิทยาแล้วความเหงา หรือ Loneliness เป็นความรู้สึกทางด้านอารมณ์อย่างหนึ่งซึ่งโดยปกติมนุษย์ทั่วไปมักพบเจอความรู้สึกนี้ด้วยกันทั้งนั้น โดยร้อยละ 80 ของคนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี และร้อยละ 40 ของคนที่เป็นผู้ใหญ่ไปจนถึงอายุ 65 ปี เคยมีความรู้สึกเหงา
โดยอารมณ์ความรู้สึกเหงานั้น เกิดจากความรู้สึกที่แปลกแยกจากสังคม หรือความต้องการทางสังคมไม่ได้รับการตอบสนอง เช่น เรารู้สึกไม่เป็นหนึ่งเดียวกับคนในกลุ่ม การที่เราไม่ได้รับคำติชมจากคนรอบข้าง เป็นต้น เพราะแบบนี้มนุษย์เราถึงกลัวความเหงา ว่าง่ายๆ เรากลัวไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมนั่นเอง เพราะแบบนี้แหละ “ศิลปะของการอยู่คนเดียว” จึงสำคัญ
ต่อมาเรามาดูและเรียนรู้ “การอยู่คนเดียว” กันว่าทำไมในยุคนนี้ การอยู่คนเดียวให้เป็นจึงสำคัญ ด้วยสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วย Social Media ต่างๆ การกระทำอะไรแทบจะทุกอย่างเป็นการ Public และดูจะสาธารณะไปเสียหมด ความเป็นส่วนตัวเหลือน้อยลงทุกที
ด้วยเหตุนี้ทำให้มนุษย์เรายิ่งตามหาการยอมรับจากสิ่งเหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการลงรูปเพื่อดูยอด Like รอให้คนมาชม หรือใดๆ ก็ตาม พอไม่เป็นไปตามที่คิด ก็ผิดหวังและเกิดเป็นความเครียด ความนอยด์สะสม แบบนี้แหละ “การอยู่คนเดียวให้เป็นจึงสำคัญ”
มาดูกันว่าข้อดี “ศิลปะของการอยู่คนเดียว” มีอะไรบ้าง
1. อยู่คนเดียวไม่จำเป็นต้องมีกฏ
และข้อดีของ “การอยู่คนเดียว” ในข้อแรกคือการไม่จำเป็นต้องมีกฏระเบียบหรือข้อบังคับทางสังคมเข้ามาพัวพัน อย่างที่เรารู้ๆ กันพอเราอยู่ในสังคมหมู่มาก จะมีกฏ มีระเบียบแบบแผนต่างๆ มากมายให้ดำเนินตาม ยิ่งคนเยอะ กฏต่างๆ ก็จะยิ่งเยอะไปด้วย ทำให้เราต้องแบกรับข้อจำกัด ที่ในบางครั้งเราก็ไม่ได้เห็นด้วยเสียเท่าไร
แต่หากเราอยู่คนเดียว อยู่ในพื้นที่ของเรา เราจะเป็นตัวเองอย่างไรก็ได้ แต่ตัวเราเป็นเจ้าของกฏของตนเอง อยากจะตื่นกี่โมง, จะถอดเสื้อผ้าเดินไปมา หรือแม้กระทั่งจะนอนอืดไม่ทำอะไรก็ย่อมได้
2. สวรรค์บนดินของมนุษย์ Introvert
3. ได้ตกผลึกและใช้ความคิดกับตนเอง
ข้อดีของการอยู่คนเดียวในข้อนี้ เป็นข้อที่เราชอบมากที่สุด เพราะเมื่อเราได้ใช้ชีวิตอยู่คนเดียว เราจะได้ยินเสียงตัวเองมากที่สุด อยากให้สาวๆ ลอง ใช้เวลา 10 – 15 นาทีต่อวันก่อนนอน ลองนั่งคิดถึงสิ่งที่เราทำแล้วดีใจมีความสุขต่อใจ List และบอกกับตัวเอง หรือแม้กระทั่งนั่ง List สิ่งที่เราทำผิดพลาดไป สิ่งเหล่านี้จะเป็นตะกอนตกผลึกเล็กๆ ให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น
4. ลดความเครียดและความขัดแย้ง
-ข้อดีอยู่คนเดียวในข้อนี้ เราคิดว่ามีประโยชน์ต่อสังคมที่เต็มไปด้วยการตัดสิน มากจริงๆ ในเมื่อเราเรียนรู้ที่จะอยู่คนเดียวให้เป็น ช่วงเวลาที่เราอยู่คนเดียวนี่แหละ คือช่วงที่เราสามารถหาความสุขได้อย่างเต็มที่ เพราะเราไม่ต้องแบกรับหรือเผชิญหน้ากับความคิดของผู้อื่น ไม่เพียงแค่นั้น
เรายังไม่ต้องรับแรงกดดันจากสภาวะแวดล้อมรอบข้างอีกด้วย มีแค่ตัวเองเท่านั้น เมื่อไม่ต้องเจอใคร ก็ไม่เครียดและลดความขัดแย้งทางด้านความคิดเห็นได้เช่นกัน
5. เพิ่มช่องว่างและกระชับความสัมพันธ์
ศิลปะของการอยู่คนเดียว ไม่ได้เหมาะแค่เฉพาะกับคนโสดเท่านั้น แต่ยังเหมาะกับคนที่มีคู่รัก หรือ ครอบครัวด้วยเช่นกัน เพราะการเรียนรู้ที่จะอยู่คนเดียวใช้ได้นั้น เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มช่องว่างของคำว่าคิดให้ได้เข้ามาทำงานบ้าง
ลองสังเกตคู่รักไหนก็แล้วแต่ที่ตัวติดกันเป็น ปาท่องโก๋ ส่วนมากมักจะชินกับการอยู่ร่วมกัน จนบางครั้งขาดการดูแลเอาใจใส่ แต่พอแยกกันอยู่คนเดียวบ้าง จะมีช่องว่าให้ความคิดถึงและความห่วงใยได้ทำงาน เรียกได้ว่าเป็นการกระชับความสัมพันธ์ไปในตัวเลยทีเดียว
Sources:
Photo Credits: unsplash
Stay connected