สวัสดีค่ะ ชาว Clubsister ทุกคน ในวันนี้ เรามีเรื่องราวเกี่ยวกับ ตำนานมัมมี่ และ ชีวิตหลังความตาย ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ มาเล่าให้ฟังกันค่ะ

เนื่องจากวันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมา มีงานพิธีของประเทศอียิปต์ ที่จัดขบวนแห่ ย้ายมัมมี่ ของฟาโรห์ และ ราชินี ทั้งหมดจำนวน 22 ร่าง ไปยังพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ ซึ่งหลาย ๆ คนได้แสดงความคิดเห็น ชื่นชมการจัดงานครั้งนี้ เนื่องจากความ ยิ่งใหญ่ อลังการ ของงาน

ตำนานมัมมี่

ตำนานมัมมี่

ตำนานมัมมี่

 

และหลังจากที่ได้ดูด้วยตัวเอง ก็รู้สึกอินค่ะ! รู้สึกว่า ความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย และ ตำนานมัมมี่ ของอียิปต์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ มันทั้ง มีเสน่ห์ ลึบลับ และน่าพิศวงสุด ๆ  และก็คิดว่า หลาย ๆ คนที่ได้ดูงานนี้ก็คงจะรู้สึกเหมือนกัน จึงอยากค้นหาเรื่องราวเหล่านี้ และมาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันค่ะ

 

ตำนานมัมมี่

 

เมื่อย้อนกลับไปนับพันปีก่อนคริสตศักราช ยังเป็นเวลาที่อารยธรรมอียิปต์โบราณ ยังรุ่งเรืองอยู่ พวกเขาเป็นนักสร้างสรรค์อารยธรรม ทั้งสร้างสิ่งก่อสร้าง ทำระบบชลประทาน ทำการเกษตร เป็นนักคิด นักปรัชญา และได้ทิ้งมรดกอันยิ่งใหญ่  อันน่าทึ่งให้แก่โลกของเรา แต่นอกเหนือจากนั้นแล้ว พวกเขายังมีความเชื่อ เกี่ยวกับชีวิตหลังความตายอีกด้วย!

พวกเขามีแนวคิด ที่เกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย ทั้งหมด 3 ข้อหลัก ๆ คือ

ยมโลก , การมีชีวิตนิรันดร์ และ การกลับมาเกิดใหม่ของดวงวิญญาณ

 

  ตำนานมัมมี่ ของชาวอียิปต์โบราณ ชีวิตหลังความตายเป็นยังไง!  

ตำนานมัมมี่

 

  • ชีวิตนิรันดร์ ชาวอียิปต์โบราณทั่วไปหวังว่า จะได้ใช้ชีวิตที่เป็นนิรันดร์ในทุ่งต้นกก ซึ่งก็มีลักษณะคล้ายกับโลกที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ เพียงแต่ว่าดีกว่า แต่ก่อนจะมาใช้ชีวิตที่นี่ได้ จะต้องผ่าน บททดสอบ ณ ยมโลกก่อน

 

  • ยมโลก หรือที่เรียกเป็นภาษาอียิปต์ว่า “ดูอัต” (Duat) ซึ่งจะสามารถเข้าผ่านทางสุสานฝังศพเท่านั้น เมื่อเข้ามาที่ดินแดนแห่งนี้ จะต้องยืนต่อหน้าคณะตุลาการ 42 องค์ และสาบานว่าไม่เคยทำบาปใด ๆ  เมื่อสาบานเรียบร้อยแล้ว จะมีการชั่งน้ำหนักหัวใจโดยเทียบน้ำหนักกับขนนกแห่งความจริง ถ้าหัวใจหนักกว่าขนนก จะถูกปีศาจที่มีหัวเป็นจระเข้กินและหายไปตลอดกาล แต่ถ้าน้ำหนักเท่ากัน จะพบกับเทพเจ้าที่ชื่อว่า โอซิริส (Osiris) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความตาย และการฟื้นคืนชีพ และได้เดินทางไปดินแดนต้นกก

 

  • การกลับมาเกิดใหม่ เนื่องจากแนวคิดเรื่อง ‘ชีวิตนิรันดร์’ ของชาวอียิปต์ มักมาในรูปแบบของการเกิดใหม่ไปเรื่อย ๆ ดังนั้น ดวงวิญญาณของผู้ที่ ได้ใช้ชีวิตอย่างดี จะถูกนำไปหาเทพ โอซิริส เพื่อเกิดใหม่อีกครั้ง

 

ตำนานมัมมี่

 

และเพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตหลังจากที่ตายที่ดินแดนต้นกกแล้ว ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ จะต้องทำความดี ตามค่านิยมของอียิปต์โบราณ และต้องผ่านการทำพิธี ตามประเพณีต่าง ๆ ของอียิปต์ ซึ่งส่วนนี้ จะเป็นหน้าที่ของคนเป็น หรือคนที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง และทั้งหมดนี้ ก็เพื่อการเดินทางไปสู่โลกหลังความตายได้อย่างราบลื่น

ซึ่งการทำพิธีงานทำงานศพนั้น มีส่วนประกอบมากมาย และหนึ่งในนั้นก็คือ การทำมัมมี่ นั่นเอง!

 

1,461 Egyptian Mummy Illustrations & Clip Art - iStock

 

เพราะการทำมัมมี่ เป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อ เรื่องการมีชีวิตหลังความตาย ชาวอียิปต์โบราณ เชื่อว่าจำเป็นต้องเก็บรักษาร่างกายของผู้ที่ตายแล้วเอาไว้ เพื่อการกลับมาเกิดใหม่อีกครั้ง ในชีวิตหลังความตาย

เริ่มแรก ชาวอียิปต์เชื่อว่า ร่างกายของพวกเขาจะตื่นขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากกทารท่องโลกหลังความตาย (ดินแดนต้นกก) เสร็จสิ้นแล้วเรียบร้อย และเมื่อชาวอียิปต์ตระหนักว่าร่างกายของคนตายจะสลายไป พวกเขาจึงหาวิธีป้องกันร่างกายไม่ให้เสื่อมสลาย เพื่อรอวันที่ดวงวิญญาณจะกลับมา

วิธีการทำมัมมี่ ได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องเล่า เกี่ยวกับเทพเจ้าในอียิปต์ ซึ่งนี่ก็คือ ตำนานมัมมี่ ที่เรากำลังจะพูดถึงกัน เป็นเรื่องของเทพเจ้าองค์เดิม ที่เราเคยพูดถึงไปแล้วก่อนหน้านี้ นั่นก็คือ ‘โอซิริส’

 

Congregative Reform | Superpower Wiki | Fandom
เทพเจ้าโอซิริส
Pin on Fantasy, Fairytales, Myth, and Magic
เทพเจ้าไอซิส

 

โอซิริส มีน้องสาว ชื่อ ‘ไอซิส’ และน้องชายชื่อ ‘เซท’ โดยที่โอซิริส ทำหน้าที่ปกครองโลก จนกระทั้ง ‘เซท’ ได้ฆ่าเขา จากนั้นจึงตัดชิ้นส่วนของโอซิริสออกเป็นส่วน ๆ กระจายทั่วอียิปต์ โชคดีที่ไอซิส มีเวทมนตร์ จึงตามหาชิ้นส่วนทั้งหมดของโอซิริส และนำมาเชื่อมต่อกันโดยใช้ ผ้าลินิน ทำให้โอซิริส กลับมามีชีวิต และมีลูกชายด้วยกันชื่อ ฮอรัส เมื่อฮอรัสเติบโต จึงแก้แค้นที่พ่อของตัวเองถูกฆ่า และขึ้นปกครองโลก ในขณะที่โอซิริสกลายเป็นเจ้าแห่งความตายและการฟื้นคืนชีพ

 

จะเห็นว่า วิธีที่ไอซิส ชุบชีวิตให้โอซิริสด้วยผ้าลินินนั้น เป็นวิธีเดียวกันกับการทำมัมมี่ นั่นเอง

 

แล้วนอกจากการทำมัมมี่แล้ว ส่วนประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญ ในพีธีศพของของอียิปต์โบราณ มีอะไรอีกบ้าง เรามาดูกันดีกว่า

 

Mummification Process in Ancient Egypt: Preparing for the Journey

 

  1. สุสาน
    แม้จะมีดีไซน์ที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย และตามฐานะของเจ้าของ แต่หน้าที่ที่เหมือนกันก็คือเป็นที่อยู่ของมัมมี่ และเป็นทางผ่านไปยังโลกใต้ภิภพ หรือก็คือยมโลก

    Inspection of King Tut's Tomb Reveals Hints of Hidden Chambers

  2. Afterlife text
    ชาวอียิปต์จะตกแต่งสุสาน และโลงด้วยตัวอักษรที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เพื่อช่วยเหลือคนที่ตายไปแล้วในชีวิตหลังความตาย

  3. Pyramid text
    การเขียนตัวหนังสือที่ผนังถ้ำนั้น จะทำขึ้นเฉพาะกับฟาโรห์เท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็มีการทำให้ราชินี และเหล่าคนชั้นสูงทั้งหลายเช่นกัน

  4. Coffin text
    การจารึกตัวอักษรที่โลง มีไว้เพื่อปกป้อง และเป็นคู่มือ ให้กับผู้ที่เสียชีวิตแล้ว  นอกจากนี้เป็นการให้เวทมนตร์ที่จำเป็น ในการท่องโลกหลังความตาย (ดินแดนต้นกก) อีกด้วย
    โดยตัวอักษรชนิดนี้ จะพบได้ทั่วไปมากกว่า เนื่องจากเป็นการให้ทุกคน ได้มีโอกาส ใช้ชิวิตหลังความตายอย่างเหมาะสม
    Amazon.com: Egyptian Papyrus Blank Paper Set of 10 Sheets for Art Projects  Scrapbooking Album Refill Scrolls and Teaching Ancient Hieroglyphic History  8x12in (20x30cm)
  5. หนังสือแห่งความตาย (Book of dead)
    มักจะถูกเขียนบน กระดาษ Papyrus ซึ่งเป็นการดาษโบราณ ที่มีลักษณะหนา แต่ก็พบว่าถูกเขียนบนผนังหรือโลกเช่นกัน มีหน้าที่คล้ายกับ Coffin text คือช่วยปกป้อง แนะนำ และให้ความรู้แก่คนตาย ในการเดินทางไปยมโลก

  6. หนังสือแห่งโลกใต้ภิภพ (Book of Netherworld)
    มีเพื่อแนะนำผู้ตาย ให้เห็นภาพของการเดินทางในชีวิตหลังความตายมากขึ้น โดยเป็นการเล่าเรื่อง ของเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ที่เคยเดินทางในชีวิตหลังความตายเช่นกัน 

  7. หนังสือแห่งท้องฟ้า (Book of sky)
    เป็นตัวหนังสือ ที่สลักอยู่ตรงเพดานของสุสาน ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้า ที่ชื่อว่า Nut ซึ่งเธอมีหน้าที่ในการปกป้องดวงวิญญาณ ในการเข้าสู่ชีวิตหลังความตาย

    HugeDomains.com | Egyptian mummies, Ancient egypt mummies, Egypt mummy

  8. โลง
    สำหรับบรรจุร่างผู้เสียชีวิต และมีรูปร่างภายนอกที่สะท้อนตัวตัวของบุคคลที่อยู่ด้านใน

  9. ของเซ่นไหว้
    เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอาหาร โดยจะวางไว้ไม่ไกลจากร่างมัมมี่

 

Credits : Wikipedia, Gulfnews, Businessinsider, Pinterest, Fandom.com, Istock, Amazon , National Geographic, secrets of the Saqqara tomb on Netflix

 

 

Comments

comments