เราคงชินกับภาพจำที่ว่า ติ่ง ตามศิลปินคนโปรดตามงานอีเวนต์หรือคอนเสิร์ต แต่นอกจากการตามกรี๊ดศิลปินที่เราชอบในทุกที่ที่ศิลปินออกงาน บางคนสะสมผลงานของ ‘เมน’ (ศิลปินที่ชอบที่สุดในวงนั้น ๆ) โดยซื้อครบทุกเวอร์ชัน ทั้ง ๆ ที่อาจจะต่างกันแค่หน้าปกเท่านั้น หรือเดินทางไปต่างประเทศ ซื้อของมูลค่าหลายหลักให้กับศิลปิน จนบางที่อาจส่งผลกระทบต่อตัวติ่งเอง เรามาเช็คกันค่ะ ว่า เราอยู่ในติ่งระดับไหน เราติ่งมากเกินไปรึเปล่า แบบนี้เช้าค่ายต้องรักษารึเปล่า

ติ่ง คืออะไร ??

คำว่า “ติ่ง” เคยเป็นคำเรียกกลุ่มแฟนคลับที่มีพฤติกรรมไม่ดีหรือไม่ถูกใจใครหลาย ๆ คน แต่คำนี้ใช้กัน จนกลายเป็นคำทั่ว ๆ ไปที่ใช้เรียก เรียกกลุ่มคนที่ชื่นชอบศิลปิน ไอดอล นักร้อง นักแสดง ในกลุ่มติ่งจะมีการรวมเป็น แฟนด้อม คือกลุ่มแฟนคลับของศิลปินนั้น ๆ คล้ายอาณาจักร ซึ่งแต่ละวงมีชื่อด้อมที่แตกต่างกันไป อย่าง EXO-L กลุ่มแฟนคลับ EXO, Blink กลุ่มแฟนคลับ Blackpink

Bloggang.com : สมาชิกหมายเลข 1220072 - 5 พฤติกรรมของติ่งเกาหลี ที่ถูกวิจารณ์ว่าเกินไปไหม !

 

เราอยู่ในติ่งระดับไหน !? ติ่ง ขนาดนี้เกินไปมั้ย เป็นติ่งแบบไหนถึงโอเค

 

ทำไมถึง ” ติ่ง “

  • ความชอบ

ชอบในผลงาน สไตล์เพลง การแสดง ต่าง ๆ ของศิลปินนั้น ๆ เพราะผลงานเพลงหรือการแสดงต่าง ๆ มักจะมีสไตล์ที่แตกต่างออกไป และมีแนวทางที่เฉพาะเจาะจง รวมไปถึงรูปร่างหน้าตา และภาพลักษณ์ด้วย ซึ่งตีตลาดผู้ที่ชื่นชอบในสไตล์นั้นๆ ได้ดี

  • ตามเทรนด์ใหม่ๆ เสมอ

ด้วยอุตสาหกรรมบันเทิงของต่างประเทศ อย่าง เกาหลี ญี่ปุ่น หรือแม้แต่อเมริกา มักจะมีเทรนด์แฟชั่น และงานศิลป์แนวใหม่ ๆ มาให้เราเสพอยู่เสมอ บางคนก็ติดตามผลงานใหม่ๆ เหล่านี้ เพราะอยากอัพเดตเทรนด์ใหม่ๆ อยู่เสมอ

  • อิทธิพลจากเพื่อน

ติ่งบางคนก็ไม่ได้เกิดมาติ่งตั้งแต่แรก แต่ได้รับอิทธิพลมาจากเพื่อนหรือคนรอบข้าง เมื่อเพื่อนชอบอะไรก็มักจะมาเผยแพร่ให้เราด้วย หรืออย่างน้อยๆ เพลงบางเพลงก็คุ้นหูเพราะเพื่อนเปิดฟังอยู่บ่อย ๆ บางทีก็รู้สึกว่าเพราะดีนะ รู้ตัวอีกทีก็ตามฟังเพลง นั่งดูศิลปินขึ้นเวทีแล้ว

ทำไมถึง ติ่ง? จากมุมจิตวิทยา

ในทางจิตวิทยา เราสามารถอธิบายองค์ประกอบของความรักของคู่รักทั่ว ๆ ไปได้ด้วยทฤษฎี “สามเหลี่ยมความรัก (Triangular Theory of Love)” ของนักจิตวิทยาชื่อดัง Robert Sternberg โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลักๆ ซึ่งเราก็สามารถนำทฤษฎีนี้มาเปรียบเทียบความรักระหว่างติ่งและศิลปินได้เช่นกัน แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่าง ติ่ง และ ศิลปิน จะเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่ดูจะจับต้องไม่ได้ แต่ในปัจจุบันเราสามารถใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยลดช่องว่าง ทำให้รูปแบบความรักนี้ดูไม่ต่างจากความรักของคู่รักทั่ว ๆ ไปเลย ซึ่งองค์ประกอบความรักของทฤษฎีที่ว่าก็สามารถอธิบายได้ ดังนี้

  1. ความหลงใหล (Passion) คือ การหลงใหลไปในทางชู้สาว หลงใหลรูปลักษณ์ภายนอก ซึ่งในมุมของติ่งหรือแฟนคลับก็คือการ ชื่นชอบในรูปร่างหน้าตาที่น่าดึงดูด ชื่อเสียง ความสามารถที่น่าสนใจ
  2. ความใกล้ชิด (Intimacy) คือ ความใกล้ชิด ผูกพันธ์ ในมุมของติ่งก็คือ การติดตามข่าวสารต่างๆ ดูไลฟ์การแสดง หรือรายการต่างๆ ที่ ศิลปิน เข้าร่วม รวมไปถึงการตั้งชื่อกลุ่มแฟนคลับให้คล้องกับชื่อศิลปินด้วย
  3. การผูกมัด (Commitment) คือ การวางแผนทำอะไรร่วมกันทัง้ในระยะสั้นและระยะยาว ในด้านการติ่งก็คือ การมีจุดหมายเดียวกันที่จะสนับสนุนให้ศิลปินได้รับรางวัลต่างๆ หรือประสบความเร็จ มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักมากขึ้น นั่นเอง

นอกจากทฤษที่กล่าวไปแล้ว   การชื่นชอบใครสักคนเป็นเรื่องธรรมชาติมากของมนุษย์ทุกคน แต่การพยายามบวกหรือผูกตัวเองไปเป็นส่วนหนึ่งของศิลปินคนนั้นจะทำให้เพิ่ม self esteem หรือเพิ่มความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า กับความสำเร็จ และชื่อเสียงของศิลปินที่เราสนับสนุน และส่งผลทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้นด้วย

 

ติ่งแค่ไหนคือเกินพอดีหรือเปล่า !?

ลองเช็คจากอาการ Celebrity worship syndrome” ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่

  1.  ระดับบันเทิง คือ เป็นการดูสื่อหรือสิ่งที่ชอบเพื่อความบันเทิง ชื่นชอบในรูปแบบให้ความเพลิดเพลิน เพื่อความจรรโลงใจ นอกจากนี้ยังมีการนำสิ่งที่เราชื่นชอบไปเป็นคนต้นแบบหรือเรียกว่าเป็น Idol ของคน ๆ นั้นได้ เช่นในเรื่องของความพยายาม หรือการตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งในระดับนี้ก็อาจจะมีสังคมที่ชื่นชอบสิ่ง ๆ นั้นไปด้วยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
  2. ระดับหมกมุ่น คือ ระดับที่นำสิ่งที่ชื่นชอบหรือศิลปินมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะต้องมีสิ่งที่ชอบหรือศิลปินนั้นเข้ามาเกี่ยวโยงด้วยทุกครั้ง สะสมหรือใช้ของตามศิลปิน เก็บทุกสิ่งทุกอย่างที่ศิลปินมีหรือใช้ตาม บางคนถึงขั้นศัลยกรรมให้หน้าตาเหมือนศิลปินเลยทีเดียว
  3.  ระดับรุนแรง คือ เหล่าแฟนคลับที่ชื่นชอบในตัวศิลปินมาก ๆ ถึงขนาดอยากเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งหรืออยากใช้ชีวิตกับศิลปิน คอยติดตามขั้นรุนแรง อย่างที่ประเทศเกาหลีจะเรียกกลุ่มแฟนคลับเหล่านี้ว่า “ซาแซง” ซึ่งจะคอยตามศิลปินไปทุกที่ รู้ลึกถึงขนาดรู้เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ของตัวศิลปิน และอาจมีขั้นร้ายแรงที่สุดคือทำร้ายตัวศิลปิน ไม่ให้ศิลปินไปรักใครได้อีก ซึ่งระดับนี้ควรได้รับการรักษาโดยจิตแพทย์

 

ถ้าเราอยู่ในระดับหมกหมุ่น ถึงระดับรุนแรงจำเป็นต้องเข้าการบำบัด แต่ถึงเราไม่เข้าข่าย เราจำเป็นต้องระวัง และดูแลตัวเองอยู่เสมอ

  1. ดูแลสุขภาพให้ดี ดูแลผิวพรรณ ความสะอาดของร่างกาย ไม่อดอาหาร หรืออดนอน จนทำให้ตัวเองโทรม หรือป่วยไข้
  2. ให้ความสำคัญกับสังคมและคนรอบข้างบ้าง ออกไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ พูดคุยกับคนในครอบครัวหรือคนรอบข้าง เอาใจใส่กันเสมอ เพื่อให้ทุกฝ่ายสบายใจ เราต้องหาตรงกลางให้เจอ ไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง
  3. ไม่เปย์จนตัวเองเดือดร้อน เรื่องการเปย์คงห้ามไม่ได้ แต่ต้องตระหนักอยู่เสมอว่าต้องไม่มากเกินจนทำให้ตัวเองเดือดร้อน หรือถึงขั้นที่ต้องรบกวนพ่อแม่ หรือคนรอบข้าง 

 

ทุกคนมีต่างก็มีความชอบที่แตกต่างกัน เราควรควรยอมรับในข้อแตกต่างชองแต่ละคน การเป็นติ่งชื่นชอบศิลปินที่เรารัก เป็นเรื่องปกติ แค่อยู่ในความพอดี ไม่เดือดร้อนตัวเราหรือคนอื่น ๆ แค่นี้ก็แฮปปี้แล้วค่ะ

 

 

 

Photo Credit:

p1

Source Credit:

thewmtd

thestatestimes

Comments

comments