ช่วงนี้จะว่าไปฝนก็ตกแทบทุกวัน เพราะตอนเราช่วงนี้เป็นหน้าฝนยังไงล่ะ แล้วช่วงหน้าฝนแบบนี้ก็เกิดโรคมากมายที่มากับหน้าฝน ซึ่งบางทีอาจจะทำให้เราป่วยด้วย ถ้าเราไม่รู้ วิธีรับมือโรคหน้าฝน และวิธีป้องกัน วันนี้เราจึงได้รวมโรคที่มากับหน้าฝน และวิธีป้องกันมาให้เพื่อน ได้มีสุขภาพดี ในหน้าฝนนี้กัน พร้อมแล้ว เราไปดูกันเลย !

 

มาบอก 5 วิธีรับมือโรคหน้าฝน โรคยอดฮิตที่มากับฝน รู้ไว้ก่อนดีกว่าแก้ทีหลัง

1. โรคไข้หวัดใหญ่

 

วิธีรับมือโรคหน้าฝน

 

หนึ่งโรคที่เจอบ่อยในหน้าฝน “ไข้หวัดใหญ่” เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) โดยปกติแล้ว ถ้าเป็นโรคไข้หวัดตาลฤดูกาล สามารถทำให้คนที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไป กลับมาป่วยอีกได้ แต่อาการมักจะไม่รุนแรง เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้าง แต่ถ้าเราป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (H1N1) ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ นั่นก็มีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ทั่วไป

อาจทำให้เราเสียชีวิตได้ ซึ่งอาการของไข้หวัดใหญ่จะมีไข้สูงถึง 39-40 องศาเซลเซียส และมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย เป็นเวลาติดต่อกันหลายวัน และในเด็กโตกับผู้ใหญ่อาจพบปวดเมื่อยทั่วร่างกาย และเบื่ออาหาร

โรคนี้มักพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ กับคนที่มีความเสี่ยง อย่าง เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว  ใครที่ต้องดูแลเด็ก และผู้สูงแนะนำให้สังเกตดูแลอย่างไกล้ชิด และเมื่อมีอาการตัวร้อนให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ทานยาลดไข้พาราเซตามอล และต้องนอนพักผ่อนให้มาก ๆ ถ้าไม่ดีขึ้นต้องรีบพบแพทย์

วิธีป้องกัน

  • ล้างมือบ่อย ๆ
  • งดใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงติดต่อสัมพันธ์กับผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัด และเมื่อเป็นไข้หวัดให้ใส่หน้ากากอนามัยเพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายสู่คนอื่น
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด และอากาศถ่ายเทไม่ดี
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

2. อาหารเป็นพิษ

 

วิธีรับมือโรคหน้าฝน

 

เป็นโรคที่ไม่ใช่หน้าร้อนก็เป็นได้ แต่ในหน้าฝนเรามักจะพบมากกว่า เพราะความชื้นจากหน้าฝนยิ่งทำให้อาหารเน่าเสียง่ายกว่าเดิม โรคนี้มีสาเหตุมาจากการทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อโรค แบคทีเรีย หรือไวรัส เช่น อาหารที่ค้างคืน เน่าเสีย หรืออาหารที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุก แล้วเราจะพบอาการคลื่นไส้อาเจียนรุนแรง ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องร่วง ไม่มีแรง ทำให้ร่างกายขาดน้ำ และรุนแรงอาจถึงขั้นช็อก หรือเสียชีวิตได้

ผู้ที่ป่วยอาหารเป็นพิษจริง ๆ เราสามารถหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยให้รักษาตามอาการคือ รับประทานเกลือแร่ทดแทน และยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน  นอกจากนี้ ควรงดรับประทานอาหารประเภทนม ผลไม้ อาหารรสจัด อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารหมักดอง และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้รีบพบแพทย์

วิธีการป้องกัน

  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ
  • ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่

3. ไข้เลือดออก

 

วิธีรับมือโรคหน้าฝน

 

ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ ยุงมักเยอะ เพราะมีแหล่งน้ำขังจำนวนมาก เลยอยากให้เพื่อน ๆ ระวัง “โรคไข้เลือดออก”  โรคที่เกิดจากยุงลายตัวเมียเป็นพาหะแพร่เชื้อ  โรคไข้เลือดออกสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย มักพบในหมู่เด็กทารก และผู้สูงวัย แม้ว่าโรคไข้เลือดออกจะมีอาการไม่รุนแรง และสามารถรักษาให้หายเองได้ แต่สิ่งที่อันตรายคืออาการแทรกซ้อนที่ตามมา ซึ่งอาจส่งผลถึงชีวิตได้

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจะมีอาการไข้สูง 39 – 40 องศา เกิน 2 วัน คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีอุจจาระสีดำ และมีจุดแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามตัว บางครั้งโรคไข้เลือดออกอาจมีอาการปวดท้อง และมีเลือดออกตามไรฟันร่วมด้วย และในตอนนี้ยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสไข้เลือดออกโดยตรง แต่เราก็ไม่ควรหาซื้อยา เพื่อรับประทานเองเด็ดขาด แต่แนะนำให้เราระวังอย่าให้ยุงกัด และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ที่บริเวณน้ำขังเท่านั้น ใครที่เป็น ไข้เลือดออก แนะนำให้พบแพทย์

วิธีการป้องกัน

  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายที่เป็นพาหะ ด้วยการทำลายแหล่งน้ำขัง อย่าให้มีน้ำขังภายในบ้าน เช่น ตามแก้วน้ำ แจกัน รางน้ำ โอ่งใส่น้ำ เป็นต้น

4. โรคฉี่หนู

 

วิธีรับมือโรคหน้าฝน

 

โรคฉี่หนู หรือเรียกอีกชื่อว่า Leptospirosis เกิดจากแบคทีเรียที่อยู่ในปัสสาวะของหนู โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไว้ที่ไต ดังนั้นเมื่อฉี่ออกมาจะมีเชื้อนี้  และนอกจากนี้ยังพบใน โค สุกร สุนัข มักพบบ่อยในช่วงหน้าฝนเนื่องจากฝนตกหนักน้ำจะท่วมขัง ซึ่งน้ำขังเหล่านี้จะปนเปื้อนไปด้วยปัสสาวะของหนูที่อยู่ในท่อ ถ้ามีแผลที่เท้า สัมพัสกับสัตว์ที่มีเชื้อ และการกินอาหารที่มีเชื้อ  จะทำให้เชื้ออาจจะเข้าร่างกาย โดยเฉลี่ยประมาณ 10 วันหรืออยู่ระหว่าง 4-19 วัน ระยะติดต่อ แต่เป็นโรคที่มีการติดต่อจากคนสู่คนได้น้อยมาก ไม่ต้องกลัว

สำหรับอาการผู้ป่วย จะมีอาการดังนี้ ปวดหัว เป็นไข้ เมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน พอผ่านไปสักพักจะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง คอแข็ง ความดันโลหิตต่ำ บางครั้งมีผื่นแดง และอาจป่วยยาวได้ถึง 30 วันเลยทีเดียว โรคฉี่เราไม่สามารถรักษาเองได้ ตามอาการ แต่เราควรไปพบแพทย์ เพราะโรคนี้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีการป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงเดินทางไปยังบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง
  • หากมีแผลตามตัว ให้งดกิจกรรมว่ายน้ำ
  • ระวังเรื่องสุขอนามัยรอบบ้านไม่ให้หนูเข้ามาทำรัง

5. โรคมือ เท้า ปาก

 

วิธีรับมือโรคหน้าฝน

 

“โรคมือเท้าปาก” เป็นโรคที่พบบ่อยในช่วงหน้าฝน และมักกับเด็กวัยอนุบาล ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Enterovirus เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากอาการไข้  และจะมีแผลในปาก มีผื่นที่มือที่เท้า ส่วนใหญ่แผลในปากเราพบได้หลายตำแหน่ง ตั้งแต่บริเวณของเพดานแข็งเพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น โรคนี้สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส และทางอากาศ ซึ่งเราสามารถหายได้เองภายใน 5-7 วัน แต่ขณะเดียวกันถ้าเป็น ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง อย่าง “ก้านสมองอักเสบ” ซึ่งเป็นโรคที่พบได้ยาก แต่ถ้าเด็ก ๆ มีอาการซึมลง หายใจหอบ หายใจเร็ว มีอาการชัก เกร็ง หมดสติ หรือมือสั่น ขาสั่น เดินเซ ต้องรีบพาลูก ๆ พบแพทย์โดยด่วน

วิธีการป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการให้เด็กคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • รักษาอนามัย โดยเฉพาะผู้เลี้ยงดูเด็กเล็ก ควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน และรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปรุงใหม่ ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และดื่มน้ำที่สะอาด
  • ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วน้ำ ขวดนม
  • เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็ก ต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว
  • ผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระต้องรีบซักให้สะอาดโดยเร็ว และทิ้งน้ำลงในโถส้วม ห้ามทิ้งลงท่อระบายน้ำ

 

 

จบไปแล้ว กับ วิธีรับมือหน้าฝน โรคยอดฮิตที่มักพบบ่อย ๆ  แนะนำให้เพื่อน ๆ เข้ามาอ่านกันนะ การป้องกันไว้ มักดีกว่าตามรักษาทีหลัง 

วันนี้เราขอตัวลาเพื่อน ๆ ไปก่อน บ๊ายบายค่ะ

 

 

Photo Credit:

naturebiotec

synphaet

sanook

kapook

 

Source Credit:

bolttech

chula

Comments

comments