สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ชาว Clubsister ทุกคน ก่อนอื่น ขอถามทุกคนหน่อยว่า มีใครเคยได้ยินคำว่า Self-esteem กันบ้างคะ บางคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง แต่หลาย ๆ คน ก็อาจจะยังไม่เคยรู้ ว่า Self-esteem คืออะไร ในวันนี้ เราจะพาเพื่อน ๆ มารู้จัก และเช็คตัวเองหน่อยว่า ตอนนี้เรามี Self-esteem สูงหรือต่ำ แล้วถ้าต่ำ เราจะเพิ่มมันยังไงดี

 

” Self-esteem คืออะไร ” เราเห็นคุณค่าตัวเองมากแค่ไหน มาเช็คตัวเองกัน!

 

Self-esteem คืออะไร

Self- esteem แปลเป็นภาษาไทยว่า การเห็นคุณค่าในตนเอง หรือก็คือ การที่เรา มองตัวเอง และ ประเมินว่า ตัวเรานั้นมี คุณค่า ความสามารถ ความสำคัญ และได้รับความยอมรับจากคนรอบข้างเป็นอย่างดี ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราเป็นคนที่ มองว่าตัวเองไม่ดี ไม่เก่ง เราก็คือคนที่มี Self- esteem ต่ำนั่นเอง

Self-esteem คืออะไร

แล้วมันสำคัญยังไง ?

การที่คนเรา มองเห็นคุณค่าภายในตัวเอง จะทำให้คน ๆ นั้น มีความกระตือรือร้น ที่จะประสบความสำเร็จ เพราะรู้ว่าตัวเองมีความสามารถ ก็จะยิ่งพยายามพัฒนาตัวเอง กล้าเผชิญหน้า กับปัญหา หากล้มเหว ก็กล้าจะยอมรับความจริง และ แก้ไขข้อบกพร่องนั้น นอกจากนี้ ยังมีผล กับเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่นด้วยนะ ถ้าเรารู้ว่าตัวเองดี มีคุณค่าอยู่แล้ว เราจะไม่ต้องการความยอมรับจากผู้อื่นมากจนเกินไป ไม่พยายามเอาชนะคนอื่น ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิต

 

Self-esteem คืออะไร

คนที่ เห็นคุณค่าในตนเอง เขามีลักษณะ แบบไหนกันนะ

ทุกคนคิดว่าตัวเอง เห็นคุณค่าในตนเอง หรือ มี Self- esteem ที่สูงหรือเปล่า ลองมาดูลักษณะ ของคนที่เห็นคุณค่าในตัวเอง กันเถอะ

Coopersmith นักจิตวิทยา ผู้เขียนหนังสือ Antecedents of Self Esteem กล่าวว่า คนที่มี Self- esteem สูง จะเป็นคนที่ มีความกระตือรือร้น เชื่อมั่นในตัวเอง พอใจในตัวเอง รักตัวเอง ไม่รู้สึกด้อยค่า เคารพตนเอง มองโลกในแง่ดีคิดในด้านบวก 

และจะตระหนักถึงความรับผิดชอบ ทั้งต่อตัวเอง และ ต่อคนอื่น พวกเขาจะมีความสามารถในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น กล้าคิดกล้าทำ กล้าเผชิญปัญหา และ มองปัญหาที่เจอว่า เป็นเรื่องที่ท้าทาย คนที่เห็นคุณค่าในตัวเอง จะไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มีความสุข และ ใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ

 

Self-esteem คืออะไร

 

เป็นยังไงบ้างคะ พอจะไปได้กับลักษณะ ที่บ่งบอกถึงความมี Self- esteem สูง รึเปล่า ปต่ถ้ารู้สึกว่า ยังไม่ใช่ เราต้องเป็นคนที่มองเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำแน่ ๆ เลย แบบนี้  เราลองมาดู วิธีพัฒนา การมองเห็นคุณค่าในตัวเอง กันดีไหมคะ

แต่ก่อนจะไปถึงวิธี พัฒนา Self -esteem เรามาทำความเข้าใจ กับหลักการคร่าว ๆ กันก่อนนะคะ ผ่านทฤษฎี ที่ชื่อว่า ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ของนักจิตวิทยา ชื่อ Bandura

 

ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self- Efficacy Theory)

Self-esteem คืออะไรBandura อธิบายว่า ถ้าเรารับรู้ หรือ คาดหวังว่า ตัวเราเองมีความสามารถเพียงพอ ที่จะทำสิ่งต่าง ๆ เราก็จะมีความพยายาม กระตือรือร้น ที่จะทำ ในขณะที่ ถ้าเราคิดว่าเราไม่เก่ง ก็จะเกิดความกลัว และหลีกเลี่ยงที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ดังนั้น การรับรู้ในความสามรถของตัวเอง จึงเป็นเหมือนเข็มทิศ กำหนดทิศทางการแสดงออกของเรา ว่าเราจะพยายามมากแค่ไหน ยังไง

และถ้าเรา ลงมือทำอะไรซักอย่างไปแล้ว ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ ซึ่งถ้าผลที่เกิดขึ้น มันตรงกับความคาดหวังของเรา มันก็จะส่งเสริมให้เรา มองตัวเองดีขึ้น เห็นว่าตัวเองมีความสามรถ การรับรู้ความสามารถของตัวเอง ก็จะดีขึ้น

 

  • การรับรู้ / ความคาดหวังในความสามารถของตัวเอง : การที่เราตัดสินความสามารถของเรา ว่าเราทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดีแค่ไหน 
  • ความคาดหวังต่อผลที่จะเกิดขึ้น : เมื่อเราลงมือ ทำอะไรบางอย่างไปแล้ว เราก็จะมีความคาดหวัง ต่อผลลัพธ์ของมัน ยังไง

 

ตอนนี้ เราน่าจะพอเข้าใจ Concept คร่าว ๆ ของ ทฤษฎี การรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self- Efficacy Theory) กันแล้วนะคะ ต่อไป เรามาดู

วิธีการพัฒนา การเห็นคุณค่าในตนเอง

ตามแนวทาง ทฤษฎี ของ Bandura กันเลย!

Self-esteem คืออะไร

1. เพิ่มประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ : พอผลลัพธ์จากความพยายามของเรา มันตรงกับความคาดหวัง ในแบบที่เราอยากให้มันเป็น มันก็จะทำให้เรา มองตัวเองดีขึ้น รับรู้ความสามารถของตัวเองมากขึ้น

(ความคิดเห็น จากผู้เขียน) เราลองมองหาอะไร ที่ทำแล้วสำเร็จได้ง่าย ๆ ก่อน เพื่อเรียกความมั่นใจของตัวเอง กลับคืนมาก่อน แล้วค่อย ๆ ขยับเลเวลขึ้นก็ดีนะ

 

Self-esteem คืออะไร

2. สังเกตตัวแบบ : เขาบอกว่า การที่เราได้สังเกต คนที่พยายามทำอะไรบางอย่างที่ซับซ้อน แล้วได้ผลออกมาน่าพึงพอใจ จะทำให้เรารู้สึกว่า เราเองก็ทำได้เหมือนกัน ถ้าเราพยายาม และ ไม่ย่อท้อ!! ยิ่งถ้าตัวแบบมีความคล้ายกับตัวเอง ความกลัวต่าง ๆ ก็จะลดลง

(ความคิดเห็น จากผู้เขียน) ลองหาใครซักคนเป็น ไอดอล โดยที่คน ๆ นั้น เป็นคนที่มีอะไรบางอย่าง คล้ายกับเราดูสิ แล้วเอาเขามาเป็นแรงบันดาลใจดู!

จริง ๆ แล้วมีอีก 2 วิธี ตามทฤษฎีของ Bandura แต่เราคิดว่า 2 อย่างแรก เป็นวิธีที่พอจะเอามาปรับใช้ ได้ด้วยตัวเองมากสุด ใครสนใจอยากอ่านเพิ่มเติม ลองเสิร์ชหาตามที่เราอ้างอิงไว้ด้านล่างได้เลยนะ! วันนี้ขอตัวก่อน ของให้ทุกคนมีวันที่ดี และ รักตัวเองมาก ๆ นะคะ จุ๊บ!

 

 

อ้างอิง : แนวทางการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่น ตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตน โดย ดวงกมล ทองอยู่

cr. freepik

Comments

comments