สวัสดีค่าสาวๆ ชาวซิสที่น่ารักทุกคน ช่วงนี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็ดูเหมือนจะมีแต่เรื่องเครียดๆ ชวนให้วิตกกังวลและก่าความหงุดหงิด รำคาญใจให้เรายิ่งขึ้นไปทุกวัน ไม่เพียงแค่นั้นการทำงานอยู่ที่บ้าน หรือ WFH ยังทำให้ Banlance ต่างๆ ในการใช้ชีวิตบางครั้งก็รัวไม่แพ้กัน สิ่งต่างๆ ที่พูดมาล้วนนำพาให้ร่างกายและจิตใจของเราพลอยเครียดตามไปด้วย งั้นวันนี้ Clubsister จะพาไปรู้จักกับ ” ดนตรีบำบัด ” เครียดจนไม่รู้จะทำยังไง! มารู้จักหนทางบรรเทาทุกข์จากดนตรีกัน มาช่วยกันคลายเครียด และบรรเทาทุกข์ในใจไปพร้อมกันกับเสียงดนตรี มาดูกันว่าดนตรีบำบัดมีประโยชน์ต่อระบบประสาทและสมองอย่างไร

 

  ” ดนตรีบำบัด ” เครียดจนไม่รู้จะทำยังไง! มารู้จักหนทางบรรเทาทุกข์จากดนตรีกัน  

 

ความเครียดเกิดจากอะไร?

ดนตรีบำบัด

แน่นอนก่อนที่เราจะไปรู้รายละเอียดของดนตรีบำบัดกันนั้น เราขอให้สาวๆ มาทำความรู้จักกับความเครียดกันก่อน โดยทั่วไปคงสัมผัสและรับรู้ถึงความเครียดกันได้เป็นอย่างดี แต่สาวๆ รู้ไหมคะว่าความเครียดนั้นเกิดจากอะไร ทำไมร่างมนุษย์ถึงเครียดละ หากถามถึงที่มาที่ไปของความเครียดนั้น ความเครียดเกิดได้จาก 2 ปัจจัย ซึ่งมีทั้งปัจจัยภายนอก และ ปัจจัยภายใน เรามาดูที่ความเครียดที่มาจากปัจจัยภายนอกกันก่อน

 

ดนตรีบำบัด

ปัจจัยภายนอก:

ความเครียดที่เกิดจากปัจจัยภายนอกนั้นเกิดขึ้นได้เยอะแยะมากมาย และเราแน่ใจว่าสาวๆ เกือบทุกคนน่าจะพอเดาได้ โดยความเครียดที่เกิดจากปัจจัยภายนอกนั้นมาจากสิ่งเร้าหรือกระตุ้นจากบริบทโดยรอบ

ไม่ว่าจะเป็นเสียงรบกวน, สภาพแวดล้อม, ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ, ปัญหาจากที่ทำงาน, ความเครียดที่เกิดจากการเสพข่าวต่างๆ, การเริ่มงานใหม่, การเริ่มความสัมพันธ์ใหม่ หรือเพิ่งจบความสัมพันธ์ไป รวมถึงการประสบความสูญเสีย แม้กระทั่งเจอเรื่องที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลทั้งสิ้น

ดนตรีบำบัด

ปัจจัยภายใน:

ในส่วนของความเครียดที่เกิดจากปัจจัยภายในนั้น ส่วนใหญ่มักมาจากสารเคมีในสมองหรือแม้กระทั้งการหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติ เช่น เป็นคนที่ขี้นอยด์, คิดมาก, ขี้น้อยใจ ผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือน รวมถึงผู้สูงอายุที่อยู่ในช่วงผันเปลี่ยนฮอร์โมน แม้กระทั่งผู้ที่เกิดภาวะหรือป่วยทางระบบประสาท อย่างเช่น โรคซึมเศร้า, ไบโพลาร์, ภาวะวิตกกังวล หรือโรคนอนไม่หลับ สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากปัจจัยภายในที่เราไม่สามารถควบคุมมันได้ แต่ก็ใช่ว่าจะป้องกันหรือทำให้มันลดลงไม่ได้

 

ต่อมาเรามาลงลึกถึงสารเคมีในสมองบางอย่างที่สามารถส่งผลกระทบต่อความเครียดภายในของเรากัน ซึ่งส่วนนี้แหละที่เจ้ากนตรีบำบัดจะสามารถช่วยทำให้มันทุเลาลงได้ สารเคมีในสมอง หรือ สารสื่อประสาท โดยที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Neurotransmitter เป็นตัวกลางของประสาทที่ส่งต่อเซลล์สมองหนึ่งไปสู่อีกเซลล์หนึ่งได้ โดยในสมองของเรานั้นประกอบด้วยสารเคมีหลักๆ ที่มีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก และจิตใจดังนี้

ดนตรีบำบัด

สารเคมีที่ 1: เอนดอร์ฟิน (Endorphin) สารเคมีหรือสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งที่เรามั่นใจว่าสาวๆ ต้องเคยได้ยินอยู่บ่อยๆ เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์คล้ายสารเสพติด มันจะหลั่งออกมาในขณะที่เรากำลังออกกำลังกาย, ในขณะที่รู้สึกตื่นเต้น หรือแม้กระทั่งช่วงเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งสารตัวนี้จะช่วยให้เราเคลิบเคลิ้ม, สร้างความรู้สึกสนุก และ สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้

สารเคมีที่ 2: แอซิติลโคลีน (Acetylcoline) เป็นสารที่จำเป็นและสำคัญมากๆ สำหรับกล้ามเนื้อสมองและประสาท ซึ่งสารตัวนี้มีผลต่อหน่วยความทรงจำ สมาธิ การเรียนรู้ และ การควบคุมอารมณ์

ดนตรีบำบัด

สารเคมีที่ 3: โดพามีน (Dopamine) เป็นอีกหนึ่งสารเคมีที่เหมือนจะเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในช่วงปลายปีที่แล้วและปีนี้ เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งสารที่ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า หรือ โรคซึมเศร้านั้น ขาดแคลนเป็นที่สุด เป็นสารเคมีแห่งความสุขและปลื้มปิติปรีดา

โดยสารตัวนี้มักจะหลั่งออกมาเมื่อ เราได้ทานอาหารอร่อย เมนูโปรด ได้รับของรางวัล ทำเป้าหมายที่เราตั้งไว้สำเร็จ หรือแม้กระทั่งเวลาออกกำลังเสร็จแล้ว ไม่เพียงแค่นั้นเจ้าสารนี้ยังมีผลช่วยส่งเสริมความจำและเพิ่มสมาธิ ให้กับสิ่งที่เราชื่นชอบกับมันอีกด้วย

สารเคมีที่ 4: ซีโรโทนิน (Serotonin) สารเคมีที่ผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า, วิตกกังวล, ประสบกปัญหาโรคนอนไม่หลับ จะต้องคุ้นหูและเคยได้ยินสารเคมตัวนี้มาบ้าง โดยสารเคมีตัวนี้เป็นสารที่ควบคุมการปรับตัวของอารมรณ์, การนอนหลับ, ความรู้สึกเจ็บปวด, การหายใจ และความหิว

สารเคมีที่ 5: กาบา (GABA) เป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยทำให้เกิดความผ่อนคลายและกระตุ้นให้เกิดความสมดุล

 

หากสารเคมีพวกนี้ไม่สมดุลสูงหรือว่าต่ำเกินไปล่ะจะเกิดอะไร?

ดนตรีบำบัด

แน่นอนสารเคมีแต่ละตัวนั้น จะถูกปล่อยและลำเลียงออกมาให้เกิดความสมดุลเพื่อให้ร่างกายได้รับรู้ความรู้สึก ของตนเอง ณ ขณะนั้นได้ถูก อีกทั้งยังช่วยให้ระงับอารมณ์หรือความรู้สึกบางอย่างด้วยเช่นกัน แต่หากเกิดความผิดพลาดนั่นแหละ จะเป็นปัญหาให้เกิดความเครียดภายในได้

อย่างเช่น โดพามีนหลั่งน้อยเกิดไปทำให้เกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อสมองและร่างกาย เกิดอาการซึมเศร้า หรือหากหลั่งออกมามากเกินไปจะเกิดการวิตกกังวล เครียด ฟุ้งซ่าน และขาดการยับยั้ง หรือ ซีโรโทนินต่ำ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า, วิตกกังวล, ย้ำคิดย้ำทำ และไม่มั่นใจในตนเอง

ดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัด หรือ Music Therapy นั้นเกิดขึ้นและถูกใช้ทางแพทย์มาเป็นระยะเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูเยียวยาจิตใจ ร่างกาย สมอง และอารมณ์ ซึ่งเสียงเพลงและเสียงดนตรี สามารถทำให้อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากความเครียดภายในลดลงได้

โดยส่วนมากดรตรีบำบัดมักถูกใช้เพื่อสร้างความผ่อนคลายและคลายกังวลให้กับผู้ป่วยที่กำลังเข้ารับการรักษาทางกาย อย่างการผ่าตัด เพื่อลดความกังวลก่อนเริ่มรักษา หรือแม้กระทั่งหลังจากผ่าตัดเสร็จเพื่อทะลุความเครียด รวมไปถึงการใช้ดนตรีบำบัดในการปรับคลื่นในสมอง
และกระตุ้นสารเคมีในสมองเพื่อระงับและบรรเทาอาการเครียดได้ด้วยเช่นกัน

 

ดนตรีแบบไหนละที่จะช่วยให้เราบำบัดได้?

ดนตรีบำบัด

ใช่ว่าการฟังดนตรี หรือการใช้ดนตรีบำบัดนั้นจะใช้เพลงอะไรก็ได้บรรเลง (ยกตัวอย่างกำลังเครียดๆ เปิดเพลง Heavy Metal คงได้หนักหน่วงกว่าเดิม) แต่หลักในการใช้ดนตรีบำบัดนั้นมีอยู่ไม่กี่ข้อมีดังต่อไปนี้

1. จังหวะของดนตรี ต้องเบ่นในจังหวะ 70 – 80 ครั้ง / นาที (คล้ายอัตราการเเต้นของหัวใจ) จะทำให้คนฟังเกิดความสบายใจและทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย

2. ความดังของเสียง ต้องไม่ดังหรือเบาจนเกินไป ให้อยู่ในระดับที่ฟังและนุ่มสบายหู ซึ่งความดังระดับนี้ช่วยทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อหรือการหดตัวของกล้ามเนื้อคลายลงได้

3. การประสานเสียง การฟังหรือได้ยินการร้องเพลงประสานเสียง หรือ การร้องเพลงร่วมกัน ทำให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ตอบสนองกับเสียงที่ได้ยินและคล้อยตามกับเสียงที่เกิดขึ้น

4. ทำนองของเพลง ในการใช้ดนตรีบำบัด ทำนองเพลงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ เพราะทำนองเพลง จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสารเคมีในสมอง ช่วยลดความตึงเกร็งของกล้ามเนื้อสมองและร่างกาย ช่วยหลั่งสารเอนดอร์ฟิน หรือ กาบา เพื่อความสงบ และเคลิบเคลิ้มต่อจิตใจมากขึ้น

ดนตรีบำบัด

ทั้งนี้การใช้ดนตรีบำบัดอาจไม่ได้ช่วยให้โรคทางระบบประสาทอย่างโรคนอนไม่หลับ โรคเครียดสะสม โรคซึมเศร้า หรือแพนิค วิตกกังวลหายได้ แต่สามารถช่วยให้ความเครียดและเกิดความสงบจากภายในได้ ไม่เพียงแค่นั้นยังมีผลการวิจัยอีกมากมายที่พิสูจน์ได้ว่า การใช้ดนตรีบำบัด ไม่เพียงแค่คลายความตึงเครียดกับสมองแล้ว ยังสามารถเพิ่มสมาธิและความจำ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานได้ด้วยเช่นกัน อย่างการใช้เสียง White Noice (เสียงธรรมชาติ) หรือเสียงบรรเลงเบาๆ เป็นต้น

 

Sources:

Photo Credits: unsplash

Comments

comments