สวัสดีค่ะสาวๆ ชาว Clubsister ที่น่ารักทุกคน หากพูดถึงสถานการณ์ในช่วงนี้ หลายๆ คนคงจะนึกถึงอะไรไปไม่ได้เลย นอกจากเรื่องเจ้าไวรัสจอมวายร้าย ที่ลอบทำร้ายเราอย่างๆ เงียบๆ อย่างเจ้า COVID-19 หลายคนอาจจะวิตกกังวลและตื่นตระหนกกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หลายคนอาจกำลังเฝ้าระวังและเตรียมตัวรับมือ ภาวะฉุกเฉิน COVID-19 กันอยู่

ภาวะฉุกเฉิน COVID-19
และเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาทางการของประเทศไทยได้ทำการขอความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนต่างๆ ให้มีการปิดแหล่งที่ผู้คนสามารถรวมตัวและชุมชนกันได้ อย่างห้างสรรพสินค้า Community Mall ต่างๆ (แต่เปิดในโซนที่เป็นอาหารการกินและการดำรงชีพอยู่ได้) เพื่อลดการแพร่กระจายความเสี่ยงของโรค ดังนั้นวันนี้ทาง Clubsister
มี

“5 วิธีการรับมือภาวะฉุกเฉิน COVID-19” 

ในกรณีนี้เราควรเตรียมตัวอะไรอย่างไรบ้างไปดูกันเลยค่า 

 

การรับมือข้อที่ 1: เช็คและคำนวณอาหารและของใช้อุปโภคภายในบ้าน

ภาวะฉุกเฉิน COVID-19

ด้วยสถานการณ์ที่คับขันแบบนี้ อาหารและสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของเรานั้น
เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และด้วยสถานการณ์ที่ค่อนข้างหน้าเป็นห่วง

ดังนั้นเราควรเช็คและคำนวณอาหารต่างๆ ภายในบ้านของเราว่ามีเพียงพอ
ต่อคนในบ้านหรือไม่ เช่นเช็คอาหารแห้งที่เหลือภายในบ้านว่าวันหมดอายุคือวันอะไร

จำนวนผู้อาศัยภายในบ้านตอนนี้มีกี่คน วัตุดิบที่จำเป็นนั้นขาดเหลืออะไรบ้าง
เมื่อเราคำนวณและรีเช็คอย่างละเอียดแล้วต่อไปก็เริ่มหาวัตุดิบได้ 

อย่างเช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, ปลากระป๋อง, ผักกระป๋อง, ข้าวสาร, ไข่ไก่,
อาหารแปรรูปบางชนิด และสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยและขาดไม่ได้ใน ภาวะฉุกเฉิน COVID-19 นี้คือ น้ำดื่มค่ะ เพราะน้ำเป็นเครื่องดำรงชีพที่สำคัญต่อร่างกายมากที่สุดกว่าอาหารเสียอีก และอย่าลืมนะคะ หากบ้านไหนที่อยากนำอาหารสดไปปรุงอาหาร ก็ให้ดูวัตถุดิบ
ที่สามารถเก็บไว้ได้ในระยะหนึ่งแบบสามารถเก็บในช่องแช่แข็งได้ 1 สัปดาห์

และนอกจากอาหารแล้ว เครื่องอุปโภคต่างๆ เช่นผงซักฟอก, น้ำยาล้างจาน, สบู่, ยาสีฟัน ฯลฯ ของจำพวกนี้ก็จำเป็นเช่นกัน แต่! อย่ากักตุนจนเกินความพอดีนะคะ
เพราะเผื่อให้คนข้างหลังเราได้ซื้อได้หยิบจับกันด้วยน้า

 

การรับมือข้อที่ 2: ยาสามัญประจำบ้านและยารักษาโรคประจำตัว

ภาวะฉุกเฉิน COVID-19

ใน ภาวะฉุกเฉิน COVID-19 นี้สิ่งที่จำเป็นพอๆ กับอาหารนั้นก็คือ ยาสามัญประจำบ้าน
และยารักษาหรือป้องกันโรคประจำตัว เพราะในสถานการณ์แบบนี้ การออกไปด้านนอก

หรือออกไปโรงพยาบาลซึ่งเป็นแหล่งที่เสี่ยงต่อการพบปะผู้คนจำนวนมากด้วยนั้น
ยิ่งทำให้เราเสี่ยงต่อการติดเชื้อเข้าไปอีก การจะป้องกันตนเองขั้นพื้นฐานได้
นั่นก็คือ การมียาสามัญประจำบ้านติดเอาไว้
เช่นยาลดไข้ หรือ พาราเซตามอล,
ยาบรรเทาอาหารปวดต่างๆ เช่นปวดท้องต่างๆ, ยาบรรเทาอาการท้องเสีย,
ยาฆ่าเชื้อภายนอก ในกรณีที่เป็นแผลภายนอก, น้ำเกลือล้างแผล, สำลี ผ้ากลอส

หรือ แม้กระทั่งยารักษาโรคประจำตัวต่างๆ ควรหาซื้อและมีติดบ้านเอาไว้เป็นดีที่สุด
และนอกเหนือไปจากนี้ ควรศึกษาการใช้ยาอย่างถูกวิธี ผลข้างเคียง เอาไว้ด้วยนะคะ

 

การรับมือข้อที่ 3: อุปกรณ์ป้องกันตัวจากเชื้อโรค

ภาวะฉุกเฉิน COVID-19

พอเราตระหนักถึงสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมที่จะดูแลตัวเองแบบปัจเจกบุคคลกันบ้าง อย่างอุปกรณ์การป้องกันตัวเองจากเชื้อโรคในภาวะฉุกเฉิน COVID-19 นี้ สิ่งสำคัญเลยยังคงเป็น หน้ากากอนามัย, แอลกอฮอล์หรือเจลล้างมือ, สบู่ล้างมือ, กระดาษทิชชู่ หรือทิชชู่เปียก และนอกเหนือไปจากการมีอุปกรณ์ที่จำเป็นแล้วนั้น 
การล้างมือบ่อยๆ ก็ช่วยเราป้องกันเจ้าเชื้อโรคร้ายตัวนี้ได้ด้วยเช่นกัน

ภาวะฉุกเฉิน COVID-19
เพราะถึงอย่างไรในภาวะฉุกเฉิน COVID-19 แบบนี้ แต่เราก็ยังต้องออกไปข้างนอกอยู่บ้าง
เพราะบางคนก็ยังมีกิจธุระที่จำเป็นต้องทำอยู่ แต่ถึงยังไงเราก็ยังต้องป้องกันตัวเองอยู่ดี ไม่ใช่แค่เพียงป้องกันตนเองเท่านั้น แต่เราต้องป้องกันเราจากคนอื่นด้วยเช่นกัน
เพราะฉะนั้นอย่าลืมนะคะ!! มีสิ่งเหล่านี้พกติดตัวไปด้วยทุกที และอย่าลืมล้างบ่อยๆ เป็นดีที่สุด

การรับมือข้อที่ 4: เตรียมความพร้อมในส่วนของช่องทางการติดต่อกรณีฉุกเฉิน

ภาวะฉุกเฉิน COVID-19

การรับมือ ภาวะฉุกเฉิน COVID-19 ข้อที่ 4 นี้ คือการเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน
ซึ่งใน ณ ที่นี้คือ ในกรณีที่คนในบ้านหรือเราเกิดอุบัติเหตุ เกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด
เกิดขึ้น สิ่งที่เราจำเป็นจะต้องเตรียมรับมือ คือ ช่องทางการติดต่อหน่วยงานนั้นๆ
ที่รับผิดชอบ
เช่น เบอร์โทรติดต่อโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ๆ เบอร์โทรศัพท์หน่วยราชการ
ที่รับผิดชอบในส่วนนั้นๆ หรือ เครื่องมือ หรือ Tools ต่างๆ อย่างแอพพลิเคชั่นที่สามารถช่วยให้คำแนะนำเราจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้

ภาวะฉุกเฉิน COVID-19

 

อย่างเช่น แอพฯ Ruksa เป็นแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพทางร่างกาย และครอบคลุมไปถึงปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของเราด้วย โดยแอพนี้จะช่วยให้
เราไม่ต้องเสียเวลาออกไปข้างนอก รอรถติด หรือ เสี่ยงในการเข้าพื้นที่ที่มีผู้คน
โดยแอพฯ Ruksa นี้ มีคุณหมอที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี คอยให้คำปรึกษา
และบริการเราอยู่ตลอด ตั้งแต่ 17.00 – 23.00 เลยทีเดียว
 

ภาวะฉุกเฉิน COVID-19

 

และอีกแอพฯ นึงที่เราอยากแนะนำ นั่นก็คือแอพฯ Chiiwii แอพฯ ปรึกษาคุณหมอออนไลน์ ซึ่งแอพฯ นี้ลูกเล่นคล้ายๆ กับแอพ Ruksa เลย และสามารถวิดีโอคอลปรึกาษาคุณหมอแบบ one on one ได้อีกด้วย

 

ปูลู เรามีเบอร์สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 หรือ 02-5903000 สามารถติดต่อประสานงานเพื่อเฝ้าระวังบุคคลที่มีความเสี่ยงว่าจะติดหรือเป็น COVID-19 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงค่า

 

การรับมือข้อที่ 5: เช็คข้อมูลข่าวสารทุกวัน

ภาวะฉุกเฉิน COVID-19

 

และใน ภาวะฉุกเฉิน COVID-19 นี้สิ่งที่สำคัญข้อสุดท้ายเลยคือ การติดตามข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข่าวที่หน้าเชื่อถือ เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และเตรียมความพร้อมได้ทันท่วงที
เพราะการติดตามข่าวสารจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือได้นั้น เป็นการเสริมเกราะป้องกัน
อีกทางหนึ่งเพื่อให้เราได้เตรียมความพร้อม และ ตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ทั่วโลก
และในประเทศเพื่อรับมือในขั้นตอนต่อไปได้อย่างถูกต้อง

ภาวะฉุกเฉิน COVID-19

แต่ทั้งนี้การเสพข่าวสารต่างๆ มากไป โดยเฉพาะในช่องทางออนไลน์
นั้นต้องระวังเป็นที่สุด เพราะถึงแม้ว่าการรับข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์นั้น
จะรวดเร็วและสะดวกก็จริง
แต่ก็ไม่สามารถไว้ใจได้ 100 เปอร์เซ็นต์
ว่าจะผ่านการคัดกรองข้อมูล และ น่าเชื่อถือได้เท่าไร ดังนั้นหากต้องการรับข่าวสารต่างๆ ผ่านทางช่องทางออนไลน์ ควรดูและรีเช็คแหล่งที่มาของข่าวที่น่าเชื่อถือได้

อีกทั้งที่สำคัญ หากรับข่าวสารอะไรใดๆ มาก็แล้วแต่ อย่าตื่นตระหนก !! ใจเย็นและมีสติ
สิ่งที่เราควรทำเป็นอย่างยิ่งเลยคือป้องกันตัวเราเองและคนรอบข้างให้ดีที่สุด เท่านั้นพอ

ภาวะฉุกเฉิน COVID-19

 

หากสาวๆ เตรียมความพร้อมภาวะฉุกเฉิน COVID-19 ที่เราแนะนำกับสาวๆ ไปนี้แล้ว
บอกเลยว่า สาวๆ ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป
เพราะหากเราเตรียมตัว
เตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี เพียงเท่านี้ เราก็สามารถรับมือได้อย่างทันท่วงทีแล้วละค่ะ

 

รูปภาพเพิ่มเติม: Apple Store 

Comments

comments