สวัสดีค่ะสาวๆ ชาวซิสที่น่ารักทุกคน ช่วงนี้เริ่ม WFH และดูเหมือนอะไรก็เริ่มจะเปลี่ยนไปทีละเล็กน้อยๆ ทำให้ตัวเราเองและคนรอบข้างต้องปรับตัวกันอีกครั้ง เมื่อเป็นแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะมีความเครียดและคิดวิตกกังวลบ้าง แต่อย่างว่าใครๆ ก็ว่าเมื่อเครียดหรือเผชิญหน้ากับปัญหาปุ๊บก็ให้ Be Positive เข้าไว้ แต่รู้ไหมว่า “คิดบวกใช่ว่าดีเสมอไป! Toxic Positivity คือ ?? ภาวะคิดบวกเป็นพิษ บวกมากเกินก็ทำร้ายตัวเองได้” วันนี้ Clubsister เลยอยากชวนให้มาทำความรู้จักกับ Toxic Positivity กันค่ะ 

 

“คิดบวกใช่ว่าดีเสมอไป! Toxic Positivity คือ ?? ภาวะคิดบวกเป็นพิษ”

 

ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจ Toxic Positivity ทำไม 2 คำที่ดูเหมือนจะแตกต่างกันอย่างสุดขั้วถึงมาอยู่ด้วยกันได้ เรามาทำความรู้จักคำแรกกันก่อน กับคำว่า Positive หรือ Positivity อย่างที่เรารู้กันนั้น เมื่อเวลาเราเครียด เผชิญหน้ากับปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ ก็ตาม เพื่อป้องกันการเครียดหรือส่งผลต่อจิตใจ

หลายต่อหลายคนให้เราใช้คำว่า Be Positive หรือ ให้คิดในแง่ดีของมันซิ จริงๆ แล้วการคิดในแง่ดี หรือ Be Positive นั้นมันมีข้อดีมากมายเลยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกัน การเกิดความเครียดต่อจิตใจ, การรู้จักวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า, การเสริมคุณภาพและประสบการณต่างๆ ในชีวิต, การสร้างแรงขับเคลื่อนเพื่อเผชิญต่ออุปสรรค

Toxic Positivity คือ

เราขออนุญาตยกตัวอย่างง่ายๆ ที่ไม่ว่าใครๆ ก็จะต้องเจอกับคำพูดเหล่านี้ในชีวิตแน่นอน สมมติเราไปบ่นกับเพื่อนร่วมงานของเราว่า ช่วงนี้เราเครียดมากเลย เหมือนทำงานไม่ทัน งานที่ทำก็ทำออกมาไม่เป็นไปตามใจเลย รู้สึกเหนื่อยจัง แน่นอนจะมีคนที่รับฟังอย่างเดียว กับเพื่อนบางประเภท ที่เราเข้าใจว่าเขาคงอยากให้เรารู้สึกดีขึ้น และหายเหนื่อยจากสิ่งที่ทำ ก็มักจะพูดว่า “น่า..เดี๋ยวมันจะผ่านไป คิดซะว่าเป็นการฝึกจัดการกับปัญหา” หรือ เฮ้ยแกไม่เป็นไรหรอก คิดดูซิสถานการณ์แบบนี้ เรามีงานทำดีแค่ไหนแล้ว ลองดูคนอื่นๆ ซิ” นี่แหละคำพูดที่จะทำให้เราผ่านอุปสรรคและความเหนื่อยล้าในจิตใจไปได้บ้าง!

Toxic Positivity คือ

แต่มันจะเป็นยังไงกันนะ หากเราปัดตกและเพิกเผยกับความเหนื่อยล้า ความเจ็บปวด หรือแม้กระทั่งมองว่าความเศร้าและความ Negative ด้านลบเหล่านี้ของเรามันไม่น่ารัก เราอยากให้สาวๆ ลองจินตนาการถึงรอยร้าวของบ้านหรือผนัง ที่มันเกิดรอยร้าวเล็กๆ นิดๆ หน่อย เราอาจจะมองข้ามมันและก็คิดว่าไม่เป็นไรหรอก แค่นิดเดียวเองเป็นเรื่องปกติ พอเริ่มร้าวมากหน่อยก็แค่เอาซีเมนต์หรือเอาอะไรมาปิดบดบังมัน จนในที่สุดวันเวลาผ่านไป รอยร้าวนั้นเป็นต้นเหตุให้ผนังหรือโครงสร้างทั้งหมดล้มตัวลง โครงสร้างเหล่านั้น คงไม่ต่างอะไรกับจิตใจและความความรู้สึกของเรานั่นเองค่า

 

 

Toxic Positivity:

Toxic Positivity คือ
 
คราวนี้เรามาทำความรู้จักคำสองคำที่เหมือนต่างกันสุดขั้วที่มาอยู่ด้วยกันดีกว่า Toxic Positivity นั้นคือ ภาวะการคิดบวกเป็นพิษ แน่นอนในโลกใบนี้การคิดอะไร Positive เป็นเรื่องที่ดี แต่อะไรที่มากจนเกินไปก็ไม่ดี และส่งผลเสียทั้งนั้น ความ Positive ก็ด้วยเช่นกัน ซึ่งบ่อยครั้งที่เราเสียใจ, โกรธ, ไม่พอใจ, เศร้า แม้กระทั่งเหนื่อยล้า หรือ มีอารมณ์ความรู้สึกทางด้าน Negative ในใจ แต่ทว่าเรารู้แหละว่าสิ่งเหล่านี้คือสิ่งไม่ดี เลยเลือกที่จะ “ฝืน” ทำให้เหมือนว่าทุกอย่างจะดีขึ้น ทุกอย่างจะผ่านไป ก็แค่เรื่องเล็กน้อยใดๆ และเพิกเผยต่อความรู้สึก Negative นั้นๆ จน! มันเป็นเกิดเรื่องทับถมทางด้านจิตใจและความรู้สึก ซึ่งมันเกิดผลเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมกับเรา
 
ไม่ว่าจะเป็นผลเสียที่จะทำให้เราหลงลืมและละเลยสิ่งที่มีค่าในจิตใจ หรือสิ่งที่มีค่าที่ช่วยเยียวยาเราต่อหน้า, มันทำให้เรามองโลกที่ไม่ใช่ตามความเป็นจริง, เกิดการต่อต้านความจริงที่เป็นอยู่, ทำให้เรามองไม่เห็นปัญหาที่มีตรงหน้าที่แท้จริง และที่แย่มากที่สุดคือ เสี่ยงต่อการเป็นภาวะเครียดเรื้อรัง, โรคนอนไม่หลับ และอาจจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าโดยที่ไม่รู้ตัวอีกด้วย
 
Toxic Positivity คือ
 
สาเหตุเหล่านี้เกิดจากการที่เรากำลังหลอกสมองและความรู้สึกให้มันออกมาดีตามที่เราคิด แต่ทว่า! เราลืมไปหรือเปล่าว่า ความรู้สึกเหล่านี้มันมีประโยชน์ของมัน ไม่ว่าจะเป็นความกลัว ที่ช่วยให้เราได้มีชีวิตที่อยู่กับพื้นที่ที่ปลอดภัย, ความเศร้าที่ทำให้เราได้ระบายเรื่องที่ย่ำแแย่ในจิตใจ เพื่อเมื่อเวลาเรามองเห็นหนทางหรือความสุข เราจะต้อนรับความสุขที่มากกว่าเดิม หรือแม้กระทั่งความเหนื่อยล้าต่างๆ ที่เป็นเหมือนสัญญาณบอกว่า ร่างกายและจิตใจของเราทำงานหนักเกินไปแล้วนะ พักผ่อนไหมละ ความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ในแบบของมัน
 
Toxic Positivity คือ
 
เราขอยกตัวอย่างให้สาวๆ เห็นภาพมากขึ้น หากใครที่เคยดูภาพยนตร์อนิเมชั่นชื่อดังที่เรียกได้ว่าเด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี จากค่าย PIXAR อย่าง Inside Out เรื่องนี้นี่แหละที่สอนให้เรารู้จักความรู้สึกเชิง Negative ว่ามันมีความดีและประโยชน์ของมัน อย่างคำพูดที่ Sadness พูดกับ Joyful ว่า “Crying helps me slow down and obsess over the weight of life’s problems.” แปลได้ว่า “การร้องไห้ช่วยให้ฉันใจเย็นลง และ มันทำให้ฉันก้าวข้ามปัญหาชีวิตไปได้”
หากมองในแง่การ์ตูนหรือผิวเผิน เราก็อาจจะคิดว่าเป็นคำพูดหนึ่งที่เพื่อเสริมบทให้ Sadness แต่ทว่า! ตามหลักจิตวิทยา การร้องไห้ไม่ได้แสดงถึงความอ่อนแอในใจ แต่เป็นการระบายความรู้สึก ณ ขณะนั้น เพื่อให้จิตใจเราได้เกิดการเยียวยา และใจเย็นลงได้จริงๆ
 
Toxic Positivity คือ
 
และเมื่อเราไม่อยากเกิดภาวะ Toxic Positivity ละเราควรทำอย่างไร เมื่อสาวๆ ได้รู้แล้วว่า Toxic Positivity คืออะไร และก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายและจิตใจเราอย่างไร เรามีวิธีทางแก้และปรับความคิดเล็กๆ น้อยๆ ให้สาวๆ กันค่ะ โดยวิธีทางแก้นั้นมี 2 ทาง ทางแรกคือการขอความช่วยเหลือโดยพึ่งพาบุคคลรอบข้าง
 
แน่นอนนั่นก็คือ การระบายหรือพูดบอกความรู้สึกของตนเองให้กับคนข้างกาย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนสนิท, เพื่อนร่วมงาน, หัวหน้างาน, ครอบครัว หรือแม้กระทั่งคนรัก เราสามารถพูดและระบายเรื่องเหล่านี้ให้เขาได้เลย หรือหากใครไม่สบายใจหรือเป็นเรื่องที่ค่อนข้าง Sensitive มากๆ เราอาจจะลองโทรไปที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 เพื่อระบายเรื่องราวในใจก็ได้ หรืออีกวิธีนึงที่ตัวเราเองทำบ่อยๆ คือ การสร้าง Account Twitter หลุมขึ้นมา 1 อัน และพ่นบวกระบายสิ่งที่มีในใจออกไป (แต่ล็อค Account นะ) คล้ายๆ การจดไดอารี่ออนไลน์ เพื่อให้เราได้เอาสิ่งที่รบกวนจิตใจเราอกไป
 
ส่วนอีกวิธีทีนึงคือ โอบกอดและน้อมรับด้าน Negative เหล่านี้ ว่ามันคือส่วนหนึ่งของตัวตนเรา มันคืออีกด้านหนึ่งเรา เมื่อถึงเวลาที่จะอ่อนแอ อ่อนแอได้ไม่ผิด เราเป็นคนมีจิตใจและความรู้สึกเช่นเดียวกับคนอื่น ลองมี Self Compassion ให้กับตนเองบ้าง อย่างเฆี่ยนตี ฝืนตัวเองจนเกินไป ในวันที่จะ Positive ก็ทำได้ แต่ในวันที่ไม่ไหวให้อารมณ์ด้านลบของเรา ช่วยจัดการปัญหาบ้างก็ไม่แปลกอะไร
 
Photo Credits: 

Sources:

 

Comments

comments